วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พิธี "จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก" จังหวัดพิษณุโลก ปี พ.ศ.๒๕๑๕

          วันที่ ๑๙-๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ พุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลกได้ประกอบพิธี "จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก" นับเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่และจัดพิธีถูกต้องตามโบราณกาล(รายละเอียดในพิธีจะขอกล่าวในตอนท้ายของบทความ) ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกโดยสร้างพระบูชาและพระเครื่องต่างๆเข้าพิธีอย่างมากมาย แต่บทความนี้จะขอกล่าวถึงพระเครื่องที่น่าสนใจและให้บูชาในขณะนั้น( ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๔ ) มีดังต่อไปนี้ คือ
          ๑.พระกริ่ง "นเรศวรวังจันทน์" เนื้อนวโลหะ (สูตรของอดีตสมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทวมหาเถระ) สร้างโดยช่างสวน จามรมาน ธนบุรี






                     ราคาจอง  ๓๙๐.-บาท          หลังจอง  ๔๒๐-บาท
          ๒.พระชุด "พระพุทธชินราชน้อยไตรภาคี" ของดีเมืองพิษณุโลก เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเศวรวังจันทน์ หนึ่งชุดมี ๓ องค์ คือ











                      พระพุทธชินราช (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก)ราคาปัจจุบัน 3-5 พันบาท
                      พระพุทธชินสีห์  (วัดบวรนิเวศวิหาร พระนครฯ)ราคาปัจจุบัน 3-5 พันบาท
                      พระศรีศาสดา    (วัดบวรนิเวศวิหาร พระนครฯ)ราคาปัจจุบัน 3-5 พันบาท
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบองค์จริง
                                          ราคาชุดละ  ๗๕.-บาท
          ๓.พระชุด "ยอดขุนพลเมืองพิษณุโลก" เนื้อนวโลหะขนวนพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์หนึ่งชุดมี ๓ องค์คือ






                      พระพิมพ์ท่ามะปราง ราคาปัจจุบัน 3-5 พันบาท
                      พระพิมพ์นางพญา ราคาปัจจุบัน 3-5พันบาท
                      พระพิมพ์วัดใหญ่ ราคาปัจจุบัน 3-5 พันบาท
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบพระเก่า
                                         ราคาชุดละ  ๗๕.-บาท
         ๔."พระพุทธชินราชใบเสมา" เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบพระเก่า
            นับเป็นเหรียญที่สร้างได้ถูกต้องตามโบราณกาล จึงไม่ต้องสงสัยว่าด้านพุทธคุณย่อมเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร ดังนั้นท่านที่มีกำลังทรัพย์ไม่มากจะบูชาพระพุทธชินราชใบเสมาพิธีจักรพรรดิ์ ปี 2515นี้แทนพระชินราชใบเสมาชินเงิน กรุวัดใหญ่พฺิษณุโลกก็ได้ครับ รับรองพุทธคุณไม่แพ้กัน







                                         ราคาองค์ละ  ๗๕.-บาท (ราคาปัจจุบัน 3-5หมื่นบาท)
         ๕."พระพุทธชินราชยอดอัฐารส" เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเศวรวังจันทน์
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบพระเก่า
             นับเป็นเหรียญที่สร้างได้ถูกต้องตามโบราณกาลอีกเหรียญหนึ่ง จึงไม่ต้องสงสัยว่า
ด้านพุทธคุณย่อมเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร ดงนั้นท่านที่มีกำลังทรัพย์น้อย จะบูชาพระพุทธชินราชยอดอัฐารสพิธีจักรพรรดิ์ ปี 2515 แทนพระพุทธชินราชยอดอัฐารสกรุพิษณุโลกก็ได้ครับ รับรองพุทธคุณไม่แพ้กัน





                                         ราคาองค์ละ  ๗๕.-บาท
         ๖.เหรียญ "มหาจักรพรรดิ์" เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเศวรวังจันทน์
             นายละเมียน อัมพวะสิริ ผู้ออกแบบ






                                         ราคาองค์ละ  ๗๕.-บาทราคาปัจจุบัน 3-7 หมื่นบาท
         ๗.เหรียญ "พุทธชินราชมหาราชา" สร้างโดยกองกระษาปณ์ กรมธนารักษ์



โลหะพิเศษ ชุบกะไหล่ทอง



โลหะพิเศษ


                  ๗.๑ทองคำใหญ๋              ราคาเหรียญละ ๑,๐๐๐.-บาท
                  ๗.๒ ทองคำเล็ก              ราคาเหรียญละ     ๕๐๐.-บาท
                  ๗.๓ เหรียญเงิน               ราคาเหรียญละ ๙๙.-บาทหลังจอง ๑๐๐.-บาท
                  ๗.๔ โลหะพิเศษ              ราคาเหรียญละ ๑๐.-บาทราคาปัจจบัน 1,500 บาท






พระราชวังจันทน์



กำแพงล้อมพระราชวังจันทน์




          พระราชวังจันทน์ตั้งอยู่ในกำแพงเมืองพิษณุโลกบนฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นพระราชวังเมืองพิษณุโลกที่เคยเป็นที่พระราชสมภพและที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีหน้าที่ต่อต้านกองทัพข้าศึก(พม่า) ที่ยกทัพมาทางเหนือเพื่อจะเข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยาราชธานี
          นอกจากนี้พระราชวังจันทน์ยังเป็นที่ตั้งของศาลสมเด็จพระนเศวรมหาราช



ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช





          พ.ศ.๒๔๗๔ กระทรวงศึกษาธิการได้ย้ายโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมจากฝั่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มาตั้งในบริเวณพระราชวังจันทน์ กระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๗๙ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานพระราชวังจันทน์ และในปี พ.ศ.๒๕๓๗ประกาศขอบเขตที่ดินโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาจำนวนพื้นที่ ๑๒๘ ไร่ ๒ งาน ๕๐ ตารางวา
          ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ การบูรณะพระราชวังจันทน์ และย้ายโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๔๕ และต่อมาโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมทั้งหมดได้ย้ายออกจากพระราชวังจันทน์ไปตั้งอยู่บริเวณบึงแก่งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘
           โลหะที่นำมาผสมเทหล่อพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ คือ
             ๑.นวโลหะเก้าอย่างคือ ทองคำ เงิน ทองแดง ชิน เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัว ตะกั่วน้ำนม ปรอท สังกะสี ซึ่งได้คำนวณน้ำหนักให้เป็นเนื้อนวโลหะ
             ๒.แผ่นเงิน แผ่นทองที่พระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศราว ๑๐๙ ท่าน ลงอักขระ คาถายันต์และอธิฐานจิตปลุกเสกจนครบ ๗ เสาร์ ๗ อังคาร เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๔
             ๓.แผ่นทองที่อาจารย์เทพ สาริกบุตร ลงอักขระ พระยันต์ ๑๐๘ และนะปถมัง ๑๔ นะ ตามสูตรสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทวมหาเถระ)
            วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๔ พุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ได้จัดพิธีเทหล่อพระกริ่งวังจันทน์ ณ พระราชวังจันทน์จังหวัดพิษณุโลก โดยมีอาจารย์เทพ สาริกบุตรเป็นเจ้าพิธี และในเช้าวันนั้น
             เวลา ๘.๑๙ น. ได้ประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นายกพุทธสมาคมเป็นประธาน นายโปฏก โหรหลวงกล่าวบวงสรวง
             เวลา ๑๐.๑๙ น. นายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลกจุดเทียนบูชาครู โดยอาจารย์เทพ สาริกบุตรเป็นเจ้าพิธี
             เวลา ๑๒.๐๐ น.เจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตู จุดเทียนชัย พระอาจารย์ ๙ รูป นั่งบริกรรมปลุกเสก แผ่นทองคำ แผ่นเงิน แผ่นทองแดง ซึ่งลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ พร้อมทั้งนวโลหะธาตุ ๙ อย่าง ซึ่งบรรจุอยู่ในเบ้าหลอมเพื่อเทหล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์
             พระคณาจารย์ ๙ รูปที่นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก คือ
                     ๑.พระเทพโสภณ(นิยม) วัดชนะสงคราม
                     ๒.หลวงพ่อกรับ              วัดโกรกกราก
                     ๓.หลวงพ่อละมูล           วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี
                     ๔.หลวงพ่อชื่น                วัดตำหนักเหนือ จังหวัดนนทบุรี
                     ๕.หลวงพ่อลำยอง          วัดสุนทรประดิษฐ์ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
                     ๖.หลวงพ่อม้วน               วัดตลาดชุม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
                     ๗.หลวงพ่อกี๋                   วัดหูช้าง  จังหวัดนนทบุรี
                     ๘. หลวงพ่อธงชัย           วัดพุทธมงคลนิมิต  จังหวัดนครสวรรค์
                     ๙. หลวงพ่อเกตุ              วัดศรีเมือง    จังหวัดสุโขทัย
           เวลา ๑๘.๓๒ น. ฤกษ์พิธีเททองพระกริ่งพระชัยวัฒน์"นเรศวรวังจันทน์"
           ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ ช่างสวน จามรมาน ได้ตบแต่งพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์อยู่ในโรงงานภายในบ้านพักของนายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก เพื่อควบคุมมิให้ช่างมีโอกาสสร้างพระเสริมนอกพิธี หรือกระทำการอื่นๆอันเป็นการไม่สมควร เมื่อพระกริ่งตบแต่งครบตามจำนวนแล้ว  ก้านชนวนพระกริ่งตลอดจนทองชนวนที่เหลือจากการเทหล่อพระกริ่งนเศวรวังจันทน์ ได้นำไปรีดเป็นแผ่นเพื่อปั้มเป็นเหรียญพระพุทธชินราชใบเสมา  เหรียญพระพุทธชินราชยอดอัฐารส  เหรียญจักรพรรดิ์  พระชุดชินราชน้อยไตรภาคี และพระชุดยอดขุนพลเมืองพิษณุโลก แต่เนื่องจากทองชนวนพระกริ่งเนื้อแข็งมาก เมื่อปั้มออกมาเหรียญจะแตกชำรุด จึงเอาเหรียญบาทเงินรัชกาลที่ ๕ หล่อหลอมผสมทองชนวนพระกริ่งเพื่อให้เนื้อทองชนวนพระกริ่งนิ่มอ่อนลงเพื่อสะดวกต่อการปั้มเหรียญ
            เมื่อพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ตบแต่งครบหมดแล้วรวมทั้งพระบูชา เหรียญคุณพระและวัตถุมงคลสร้างเสร็จเรียบร้อย คณะกรรมการจึงนำวัตถุมงคลทั้งหมดมาประกอบพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ ๑๙-๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ โดยมีพระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ์ และอาจารย์เทพ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธี
            ในพิธีนี้ได้อาราธนาพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศรวม ๑๐๙ รูปอาทิเช่น หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงบุรี หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแดง วัดเขาบรรไดอิฐ หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จังหวัดระยอง หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี หลวงพ่ออุตตม วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์ หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม ชัยนาท หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา ธนบุรี หลวงพ่อมิ่ง วัดกก ธนบุรี หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา พัทลุง หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พัทลุง หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย สุโขทัย หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง บุรีรัมย์ หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม.....ฯลฯ
            พิธี"จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก"เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ ยากแก่การดำเนินการ ตลอดจนการหาเจ้าพิธี ตำรับพระคาถา และพระภิกษุเจริญพระคาถาได้ดังได้กล่าวมาแล้ว ตามประวัติในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พิธี"จักรพรรดิ์"ได้ประกอบพิธีครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๑ และพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษกครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองในรัชกาลที่ ๙ จึงเชื่อถือได้ว่าวัตถุมงคลที่ปลุกเสกในพิธีนี้จะเปี่ยมด้วยพุทธาคุณ มีคุณวิเศษทางด้านคงกระพันชาตรี มหาอุด แคล้วคลาด เมตตามหานิยม และโชคลาภ นอกจากนี้ยังดีกันคุณไสยและฑูตผีปีศาจและอมนุษย์อีกด้วย ดีครอบจักรวาลครับ
            บทความนี้ถ้าจะก่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ก็ขอมอบความดีนี้แด่คุณละเมียน  อัมพวะสิริ







สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114


พระกริ่งนเรศวรเผด็จศึก ปี พ.ศ. 2507





                  
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง



พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ปี 2556
ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด


          สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น 
สัมฤทธิคุณ รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
          ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
          ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้ไม่แน่ใจยังเหลือหรือไม่

          พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
          สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) 
          โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142






พระโพธิสัตว์กวนอิม มูลนิธิร่วมมิตรสุโขทัย (โรงเจ)
เนื้อทองคำ 99% หนักประมาณ 1 บาท



วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หลวงพ่อธรรมภาณโกศล(เอม) วัดคลองโปร่ง เทพเจ้าของชาวศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย


ที่ระลึกในงานบริจาคทรัพย์ช่วยการก่อสร้างกุฎิวัดโพธิ์
อำเภอคลองตาล  จังหวัดสวรรคโลก
พระครูธรรมภาณโกศลฯ
เจ้าคณะจังหวัดกิตติมศักดิ์
๒๓ ตุลาคม ๒๔๗๙



           พระครูธรรมภาณโกศลหรือที่ชาวศรีสำโรงรู้จักรในหลวงพ่อเอม วัดคลองโปร่ง "เทพเจ้าของชาวศรีสำโรง ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของจังหวัดสุโขทัยในยุคสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะพระเครื่องที่เป็นเหรียญปั้มรูปเหมือนใบเสมารุ่นแรกของท่าน มีค่านิยมสูงสุดของจังหวัดสุโขทัย(หลายแสนบาท) นอกจากท่านจะเป็นพระที่เชี่ยวชาญในวิชาอาคมขลังแล้ว ท่านยังเป็นพระนักพัฒนา นักเทศน์ และหมอผู้วิเศษอีกด้วย สร้างความเจริญในท้องถิ่น พัฒนาบูรณวัดต่างๆที่อยู่ในเขตความปกครองของท่าน
           หลวงพ่อเอม ท่านเป็นชาวศรีสำโรงโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๕ ในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ฯ เป็นบุตรคนสุดท้องของโยมบิดาชื่อ สน โยมมารดาชื่อ ทิม ต่อมาใช้นามสกุล"สนทิม" มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เรียงลำดับดังนี้
             ๑.นายปลื้ม       สนทิม
             ๒.นางคำ          สนทิม
             ๓.นายเดช        สนทิม
             ๔.นางจันทร์     สนทิม
             ๕.หลวงพ่อเอม
           หลวงพ่อเอมมรณภาพ ปลายปี พ.ศ.๒๔๘๔ อายุได้ ๖๙ ปีอายุของหลวงพ่อเอมไม่ยืนเช่นเดียวพี่น้องของท่าน ยกเว้นยายจันทร์ที่มีอายุยืนที่สุด (๘๐กว่าปี) ชีวิตในวัยเด็กของหลวงพ่อเล่ากันว่าท่านแก่นพอตัวทีเดียว เช่นเดียวกับเด็กลูกคนสุดท้องของพ่อแม่โดยทั่วไป สมัยที่หลวงพ่อเอมอยู่ในวัยคะนองอายุราว ๑๔-๑๕ ปี เล่ากันว่าพอตกเย็นหลวงพ่อหรือนายเอม ชอบชุกซนปีนป่ายขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ ริมแม่น้ำยมสายเก่าทางฝั่งตะวันออก คอยแอบดูพวกผู้หญิงสาวชาวไร่ที่ไปทำไร่กลับบ้านตอนเย็น พวกสาวๆเหล่านั้นจะพากันเดินลุยแม่น้ำข้ามฟากกลับไปยังฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยของคนในสมัยนั้น
           แต่นายเอมมีเวลาเจ้าชู้อยู่ได้ไม่นานเท่าใด ก็ต้องบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดคลองโปร่งเมื่ออายุ ๑๖-๑๗ ปี หลังจากบวชเณรแล้วก็ลงมาเรียนหนังสือ(บาลี)ในกรุงเทพฯ เรียนอยู่ได้ ๔-๕ ปี สามเณรเอมก็เดินทางกลับไปอยู่ที่วัดคลองโป่ง ตอนนี้อายุของสามเณรเอมครบบวชพอดี ได้อุปสมบทที่วัดคลองโป่ง โดยมีหลวงพ่อพุก วัดหนองโว้ง อำเภอสวรรคโลกเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้จำพรรษาที่วัดคลองโปร่ง เมื่อหลวงพ่อเอมเอมบวชได้สิบกว่าพรรษา พระอุปัชฌาย์นวมซึ่งพรรษาแก่กว่าท่านเล็กน้อยและเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองโป่งต่อจากหลวงปู่เหล็กได้มรณภาพลง คณะสงฆ์และชาวบ้านก็พร้อมใจกันยกหลวงพ่อเอมขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองโป่ง พร้อมๆกันนั้นก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวง(เจ้าคณะอำเภอ)ที่พระครูธรรมภารโกศล ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๕๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแต่งตั้งให้หลวงพ่อเอมเป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นหลวงพ่อเอมอายุได้ ๔๒ ปี(พ.ศ.๒๔๕๗) และต่อท่านอายุได็ ๕๐ ปี(พ.ศ.๒๔๖๕) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะเมืองสุโขทัย(ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย)
            เมื่อหลวงพ่อเอมได้ัรับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดครองโป่งและเจ้าคณะจังหวัด ท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดคลองโป่ง และวัดวาอารามต่างๆที่อยู่เขตความปกครองของท่าน การสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มเติมของวัดโพธิ์ด้วยการออกวัตถุมงคลออกจำหน่าย เนื่องจากท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดสุโขทัย ดังนั้นวัตถุมงคลของท่านจึงจำหน่ายหมดในเวลาไม่นานเพราะเป็นที่ต้องการของชาวศรีสำโรง
            นอกจากนี้ การปฏิบัติหน้าที่ทางสงฆ์ หลวงพ่อเอมท่านก็ได้ปฏิบัตฺหน้าที่ได้อย่างเคร่งครัดเป็นไปตามระเบียบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสงฆ์ ไม่บกพร่องในหน้าที่อุปัชฌาย์ แม้การเดินทางไปอุปสมบทในที่ทางไกลด้วยความยากลำบาก ท่านก็ไม่เคยบ่นหรือย่อถอยเลย เช่นการไปทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ในเขตอำเภอกงไกรลาศซึ่งมีระยะทางห่างจากวัดคลองโป่งเกือบสี่สิบกิโลเมตร ซึ่งการเดินทางบกในสมัยนั้นลำบากมาก(ถนนไม่สะดวกเหมือนปัจจุบันนี้)
          ด้วยคุณงามความดีของหลวงพ่อเอม ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยดังได้กล่าวมาแล้ว แต่แล้วก็เกิดอุบัติเหตุเศรษฐกิจทางการเงินของประเทศ กล่าวคือเศรษฐกิจของประเทศเกิดตกต่ำลง เงินในพระคลังเหลือน้อยมากไม่พอใช้จ่าย(เงินเดือนข้าราชการ)  ได้มีการยุบเลิกส่วนราชการบางหน่วย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูิมิภาค รวมทั้งได้มียุยจังหวัดต่างๆไป ๙ จังหวัดในปีนั้น จังหวัดสุโขทัยถูกยุบไปรวมกับจังหวัดสวรรคโลก ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ด้วยเหตุนี้ตำแหน่งทางคณะสงฆ์"เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย" ซึ่งพระครูธรรมภาณโกศล(เอม)ครองอยู่นั้น จึงถูกยุบไปด้วย การหลุดจากตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยของหลวงพ่อเอมในครั้งนี้ มิใช่เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องแต่ประการใดของหลวงพ่อ ตรงกันข้ามหลวงพ่อมีแต่ความดีความชอบ และประกอบกรณียกิจเป็นคุณประโยชน์ต่อพระศาสนาและบ้านเมืองเป็นอย่างมาก เป็นที่เคารพในหมู่มหาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส คณะสงฆ์จึงเห็นสมควรแต่งตั้งท่านให้ดำรงตำแหน่ง"เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยกิตติมศักดิ์" สืบต่อมาจนกระทั่งหลวงพ่อเอมได้มรณภาพลงในปลายปี พ.ศ.๒๔๘๔
            บทความนี้จะกล่าวถึงวัตถุมงคลที่สร้างในสมัยที่หลวงพ่อเอมมีชีวิตอยู่เท่านั้น ในชีวิตของท่าน ท่านได้สร้างวัตถุมงคลเพียง ๒ ครั้งคือ






เหรียญใบเสมาหรือเหรียญแจกแม่ครัวรุ่นแรก หลวงปู่เอม วัดคลองโปร่ง  
สร้่างเพื่อสมนาคุณผู้บริจาคทรัพย์สร้างกุฏิวัดโพธิ์ พ.ศ.2479 เหรียญรุ่นนี้ลักษณะจมูกของหลวงพ่อจะแบนทุกเหรียญและริมผิวปากล่างจะแบนอันเนื่องมาจากแม่พิมพ์ ถ้าเหรียญใดจมูกโด่งและริมผิวปากล่างไม่แบนจึงเป็นเหรียญเก๋หรือเหรียญปลอม 



              ครั้งแรก ท่านได้สร้างเหรียญรูปเหมือนใบเสมาหรือที่ชาวศรีสำโรงเรียกว่าเหรียญแจกแม่ครัว เหรียญใบเสมาเป็นเหรียญที่สร้างครั้งแรกในชีวิตของหลวงพ่อเอม จึงนับเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน สร้างในปี พ.ศ.๒๔๗๙ เพื่อเป็นที่ระลึกในการร่วมบริจาคทรัพย์สร้างกุฏิสงฆ์วัดโพธิ์ บูชาเหรียญละ ๕ บาท เหรียญใบเสมาเป็นรูปหลวงพ่อเอมครึ่งองค์ เหนือศรีษะหลวงพ่อมีข้อความว่า"หลวงพ่อธรรมภาณโกศล" และใต้เหรียญมีคำว่า"เอม"ลักษณะจมูกของหลวงพ่อจะแบนมากและริมผิวปากล่างจะแบนจนบางท่านเข้าใจผิดว่าเหรียญนี้ผ่านการใช้สัมผัสมากหรีอไม่ก็เหรียญถูกทับ แต่ความจริงแล้วจมูกแบนและริมผิวปากล่างแบน เป็นเพราะแม่พิมพ์ ดังนั้น ถ้าเหรียญใดจมูกโด่งและริมผิวปากล่างไม่แบน จึงเป็นเหรียญเก๋(เหรียญปลอม)  เนื้อทองแดง จำนวนเหรียญประมาณไม่เกิน ๓๐๐-๔๐๐ เหรียญ เป็นเหรียญที่หายากที่สุดและมีประสบการณ์มากที่สุดมากกว่าเหรียญหางแมงปล่อง จึงมีค่านิยมสูงสุดสูงกว่าเหรียญหางแมงป่องหนึ่งเท่า ราคาล่าสุดจำหน่ายที่ราคาไม่ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มาก



เหรียญชัยสิทธิ์หรือเหรียญหางแมงป่อง หลวงปู่เอม วัดคลองโปร่ง
สร้างประมาณปี พ.ศ.2482



             ครั้งที่สอง เป็นเหรียญรูปเหมือนรูปไข่ที่ชาวศรีสำโรงเรียกว่าเหรียญชัยสิทธิ์หรือเหรียญหางแมงป่อง เป็นเหรียญที่สร้างประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๒ บูชาเหรียญละหนึ่งบาท เป็นรูปหลวงพ่อเต็มองค์ประทับนั่งอยู่บนธรรมมาส เหนือศรีษะหลวงพ่อมีข้อความว่า"หลวงพ่อธรรมภาณโกศล" มี ๒ เนื้อคือ เนื้อทองแดงและเนื้ออปาก้า จำนวนการสร้างมากกว่าเหรียญรุ่นแรกใบเสมาหรือแจกแม่ครัว จำนวนการสร้างประมาณ ๒,๐๐๐ เหรียญ ราคาค่านิยมรองจากเหรียญรุ่นแรกใบเสมา ส่วนรูปหล่อรุ่นแรก ปากหวอปีพ.ศ.๒๔๘๗และรูปหล่อรุ่นสอง ตอกโค๊ตปีพ.ศ.๒๕๐๓ เป็นรูปหล่อที่สร้างหลังที่หลวงปุ่เอม มรณภาพแล้ว


             เหรียญทั้งสองรุ่นนี้มีประสบการณ์ทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดและเมตตามหานิยม โดยเฉพาะแคล้วคลาดเป็นที่ประจักษุ์แก่ชาวศรีสำโรง จนชาวศรีสำโรงพูดเป็นเสียงเดียวว่า"บูชาเหรียญหลวงปู่เอมติดตัวไม่ต้องกลัวตายโหง"



พระรูปเหมือนหลวงพ่อเอม รุ่นก้นตอกตรา

            พระผงกระดูกรูปเหมือนหลวงพ่อเอมและพระประจำวันต่างๆ สร้างจากอัฐิอังคารเถ้าถ่านของหลวงพ่อเอม สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๗ โดยหลวงตาด้วง พระสำคัญรูปหนึ่งในวัดคลองโป่ง



สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114


               ท่านผู้อ่านได้ส่งรูปเหรียญหลวงปู่เอม วัดคลองโปร่งมาให้ดู ผู้เขียนถือโอกาสลงรูปให้ท่านผู้อ่านดูเป็นทัศนศึกษา ส่วนผู้เขียนไม่ทราบว่า 3 เหรียญนี้เป็นพระเก๊หรือแท้ ก็ขอให้ผู้เป็นเจ้าของมือแรกโปรดออกมาแสดงความรับผิดชอบ 




ถ้า 3 เหรียญนี้แท้ ก็แท้หมด ถ้าเก๊ก็เก๊หมด เพราะเป็นช่างฝีมือคนเดียวกัน แต่ดูแล้วน่าจะเก้ทั้งสามเหรียญ







รูปที่ ๑



รูปที่ ๒




รูปที่ ๓


รูปที่ ๔




รูปที่ ๕



รูปที่ ๖



รูปที่ ๗



รูปที่ ๘



รูปที่ ๙



รูปที่ ๑๐
พระผงกระดูกรูปเหมือนหลวงพ่อเอม


รูปที่ ๑๑



รูปที่ ๑๒



รูปที่ ๑๓



รูปที่ ๑๔



รูปที่ ๑๕



รูปที่ ๑๖


เหรียญเนื้อเงิน บล๊อคทองคำนิยม 



เหรียญเนื้อเงิน บล๊อคธรรมดา



เหรียญหลวงพ่อเอม เนื้อเงิน ปี พ.ศ.๒๕๓๗ ณษ๕ษ๑๕,๐๐๐ บาท
เป็นเหรียญที่มากด้วยศิลปะและพิธีใหญ่(น่าสะสม)  






                                                           

                    

เหรียญหลวงพ่อฤทธิ์-หลวงพ่อห้อม รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๑๙ ราคา ๒,๕๐๐ บาท

          เหรียญหลวงพ่อฤทธิ์-หลวงพ่อห้อม รุ่นแรกนี้ ออกที่วัดฤทธิ์ เป็นเหรียญดีเหรียญหนึ่งที่น่าสะสม เพราะพิธีพุทธาภิเษกที่ใหญ่เกจิอาจารย์ที่ร่มวปลูกเสก อาทิ หลวงพ่อห้อม วัดคูหาสวรรค์ หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง หลวงพ่อโถม วัดธรรมปัญญาราม หลวงพ่อจันทร์ วัดปากข่อย จำนวนการสร้างประมาณ ๕,๐๐๐ เหรียญ และเหรียญรุ่นนี้ไม่มีการสร้างเสริมเหมือนรุ่นอื่นๆ ของหลวงพ่อห้อม
                       




พระชุดหลวงปู่บุญมี วัดเกาะ



รูปหล่อหลวงปู่บุญมี พิมพ์จอบเล็ก มีประสบการณ์มาก




รูปหล่อปั๊มเนื้อฝาบาตร(สร้างเขื่อน) หลวงปู่บุญมี จำนวนสร้างประมาณ ๑๐๐ กว่า องค์ (น้อยที่สุด)ราคา ๑๐,๐๐๐ บาท

เหรียญพระพุทธชินราชมีห่วง เนื้อนวโลหะ จำนวนสร้างหลักร้อยองค์ราคา ๑๐,๐๐๐ บาท


เหรียญพระพุทธชินราช เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวนน้อย(ประมาณ ๔๐๐ เหรียญ) มีประสบการณ์มากราคา ๓,๕๐๐ 


เหรียญทองแดงหลวงปู่บุญมี
สร้างจำนวน ๕๐๐ เหรียญ ราคา๓,๕๐๐ บาท



พระผงพุทโธ จำนวนสร้างหลักร้อย




พระสมเด็จ หลวงพ่อบุญมี จำนวนสร้างหลักร้อย






พระบูชาวัดโพธาราม จ.สุโขทัย พ.ศ.๒๕๑๘


ปางลีลา สูง ๒๐ นิ้ว


ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๒ นิ้ว





เหรียญพระแม่ย่า จ.สุโขทัย รุ่นแรก พ.ศ.2505
เกจิอาจารย์สำคัญที่ร่วมปลุกเสก หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย 
ปั้ง พะเนียงแตก 081-04344114



เหรียญพระแม่ย่า จ.สุโขทัย รุ่นแรก พ.ศ.2505
เกจิอาจารย์สำคัญที่ร่วมปลุกเสก หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย 
ปั้ง พะเนียงแตก 081-04344114
                       



พระปางช่อนหาพิมพ์ใหญ่(พิมพ์นิยม)
พระปางซ่อนหา เนื้อเมฆสิทธิ์ หลวงปู่ทับ วัดอนงค์ฯ พิมพ์นี้ในอดีตเมื่อ๓๐กว่าปีก่อนนักสะสมพระเครื่องมองว่าเป็นพิมพ์นิยมที่มีมูลค่าสูงสุดกว่าพิมอื่น โดยมองว่าพระพิมพ์ปางช่อนหาพิมพ์อื่นไม่ทันหลวงปู่ทับ(เป็นพระเก๋)ท่านเกิดปี พ.ศ.2374มรณภาพปีพ.ศ.2465 เหตุที่ท่านป่วยชราภาพมากจึงไม่ได้มาร่วมปลุกเสกพระชัยหม่อมมิตรปี 2460ที่วัดอนงค์ฯ
ปั้ง พะเนียงแตก 081-04344114


เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อประเสริฐ วัดหนองตาโชติ 
          นับว่าเป็นเหรียญดีเหรียญหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย เป็นเหรียญที่มากด้วยประสบการณ์โดยเฉพาะด้านคงกะพันชาตรี แคล้วคลาด และ มหาอุด เป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร เรียกได้ว่าไม่แพ้เหรียญหลวงปู่เอม วัดคลองโปร่ง 


เหรียญปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อขำ ลานกระบือ


                       
นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร

                       
          ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช,)เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘          
                                                   
                                                  ประวัติพระเครื่องเมีองนครปฐม



                              พระปิดตาหลวงตาพร้อม วัดพระงาม แม่พิมพ์พระถอดมาจากพระปิดตา 

                 หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จึงเป็นเหตุให้เข้าใจผิดว่าท่านเป็นศิษย์หลวงปู่นาค

                 วัดห้วยจระเข้ หลวงตาพร้อม ท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุ โดยการเสกแร่ทองแดง
                 หรือทองเหลืองให้เป็นแร่ทองคำ แต่ทำไม่สำเร็จ ท่านนำโลหะที่เล่นแร่แปรธาตุ
                 มาเทหล่อเป็นพระปิดตา






พระปิดตาหลวงตาพร้อม วัดพระงาม (พร้อมกระเช้า)
ราคา 35,000 บาท
ปั๊ง นครปฐม 081-0434114



พระโพธิสัตว์กวนอิม มูลนิธิร่วมมิตรสุโขทัย (โรงเจ)
เนื้อทองคำ 99% หนักประมาณ 1 บาท






หลวงปู่สุข มะขามเฒ่า