วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วัดห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม

          วัดห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม


           พระครูปัจฉิมทิศบริหาร(หลวงปู่นาค) ปรมาจารย์ผู้สร้าง พระปิดตาเนื้อเมฆพัตร์ บรรพบุรุษของท่านเป็นชาวนครชัยศรี ต่อมาญาติพี่น้องท่านได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่นครปฐม ท่านเป็นพระครูฐานาในพระปฐมเจติยานุรักษ์(กล่ำ)และยังเป็นพระอุปัชฌาย์ท่าน พระปฐมเจติยานุรักษ์ท่านเป็นอตีดเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์(ครองวัดปี พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๔๗) หลวงปู่นาคท่านเป็นผู้สร้างวัดห้วยจระเข้ เมื่อปี พ.ศ.2441  เดิมวัดชื่อ "วัดนาคโชติการาม" ต่อมาปีพ.ศ. 2443 ได้เปลี่ยนเป็นชื่อ วัดใหม่ห้วยจระเข้ และวัดห้วยจระเข้ตามลำดับ  และท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก หลวงปู่นาคท่านเป็นพระรูปร่างเล็ก บอบบาง ผอมเกร็งแต่แข็งแรง มีจิตใจเด็ดเดี่ยวนักเลงไม่กลัวใคร ท่านมักจะมีเรื่องกับนักเลงต่างถิ่นเสมอ 
           มีนักเขียนบางท่านเข้าใจผิดว่าท่านเกิดประมาณปี 2350กว่า แต่ความจริงแล้วท่านมีอายุใกล้เคียงกับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วโดยมีอายุแก่อ่อนกันไม่เกิน 3 ปี ท่านจึงมีความสนิทสนมกับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ท่านเกิดประมาณ ปีพ.ศ. 2390กว่า มรณภาพปี พ.ศ. 2452อายุประมาณ 60 ปีกว่า(เด็กกว่าหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกประมาณ 30 ปี) ท่านอุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ แล้วออกเดินธุดงค์ไปเพื่อปฏิบัติธรรมแล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดพระปฐมเจดีย์ที่เดิม ต่อมาได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งพระครูปัจฉิมทิศบริหาร หนึ่งในพระครูผู้พิทักษ์รักษาสี่ทิศขององศ์พระปฐมเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.2432 นับได้ว่าท่านเป็นพระครูหนึ่งในผู้พิทักษ์รักษาองค์พระปฐมเจดีย์ที่อายุน้อยที่สุดในขณะนั้น เหตุที่ท่านมรณภาพขณะอายุยังไม่มากแค่ 60 กว่าปี มิเช่นนั้นตำแหน่งเจ้าคณะเมืองนครชัยศรี(เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม)ตกแก่ท่านแน่นอน แทนที่จะตกแก่หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว



พระครูอุตตรการบดี(สุข  ปทุมสฺสวณฺโณ)
ถ่ายปี พ.ศ.2474

           เมื่อหลวงพ่อสุข ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 2  ของวัดห้วยจระเข้ต่อจากหลวงปู่นาค  หลวงพ่อสุขถือกำเนิดที่ตำบลบางแขม อ.เมือง จ.นครปฐม เมื่อวันศุกร์ เดือน 9 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่  25 สิงหาคม 2425 เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวน 7 คน ของ นายเทศ และนางทิพย์ มาเทศ  เมื่ออายุ 11 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร อยู่ ณ วัดบางแขม อ.เมือง จ. นครปฐม จนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดบางแขม โดยมีหลวงพ่อคำ วัดหนองเสือ อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมถกิตติคุณ(หลวงพ่อหลั่น) วัดพระประโทนเจดีย์ และหลวงพ่อแก้ว วัดบางแขมเป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้ย้ายมาศึกษาอักขรสมัย  และพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระตลอดจนวิทยาคมต่างๆ กับหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้จนมีความชำนาญไม่แพ้หลวงปู่นาคชึ่งเป็นอาจารย์ เรียกได้ว่าพระเครื่องของหลวงปู่สุขขลังไม่แพ้พระปิดตาหลวงปู่นาคก็ว่าได้ นอกจากนี้ ท่านยังได้ไปศึกษาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อคำ วัดหนองเสือ หลวงพ่อคำ ผู้นี้ เป็นญาติผู้น้องของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงพ่อคำท่านมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ จนสามารถยิงกระสุนคดได้   ระหว่างที่หลวงปู่คำมีชีวิตอยู่ หลวงปู่คำท่านได้แจกเหรียญหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกรุ่น 2 ให้กับศิษย์ของท่าน หลวงปู่คำวัดหนองเสือ มรณภาพประมาณ พ.ศ.  2450 กว่า  อายุประมาณ 80กว่าร่วม90 ปี ระหว่างงานพิธีศพ หลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตก ได้มาเดินนำศพหลวงปู่คำ วัดหนองเสือ หลวงพ่อสุขท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494


            หลวงพ่อสุข เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแล้ว ท่านได้บริหารปกครองและพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น ตามลำดับ ทั้งในด้านการศึกษา การเผยแพร่พระพุทธศาสนา และการบูรณะปฏิสังขรวัด และขยายเนื้อที่วัดให้มากขึ้นโดยการซื้อที่ดินเข้าวัดอย่างมากมาย
            
            หลวงพ่อสุขท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีวิทยาคมแก่กล้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหลวงปู่นาค และหลวงพ่อคำซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน สมัยที่ท่านมีชีวิตท่านมีชื่อเสียงโด่งดังในเขตอำเภอเมืองนครปฐม(หลังจากท่านมรณภาพหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมก็ขึ้นมามีชื่อเสืยงแทนท่าน) ส่วนหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทองก็มื่อเสียงในเขตอำเภอนครชัยศรี ส่วนหลวงพ่อวงษ์ วัดท่้งผักกูดก็มีชื่อเสียงในเขตอำเภอกำแพงแสน(ในขณะนั้นอำเภอดอนตูมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอกำแพงแสน) ดังนั้น ในพิธีพุทธาภิเษก หลวงพ่อสุขมักจะได้รับการนิมนต์เสมอๆ เช่น พิธีพุทธาภิเษกพระคันธาราช วัดพระปฐมเจดีย์ พ.ศ.2476 และพิธีพุทธาภิเษก   พระร่วงใบมะยม ของวัดพระปฐมเจดีย์ พ.ศ.2484,พ.ศ. 2485 และพ.ศ.2487 ตามลำดับ


             หลวงพ่อสุข ท่านเป็นพระที่แก่กล้าในวิทยาคมดังได้กล่าวมาแล้ว แม้แต่หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้องก็ยอมรับในความแก่กล้าในวิทยาคมของท่าน มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อแช่มวัดตาก้องกับหลวงพ่อสุข ได้ทดสอบวิชาย่นระยะทางว่าใครจะถึงพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระปฐมเจดีย์ก่อนกัน ปรากฏว่าหลวงพ่อสุขถึงวัดพระปฐมเจดีย์ก่อน (โปรดใช้พิจารณาในการอ่าน)     


            ด้วยกิตติศัพท์ความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ และความรอบรู้ในด้านวิทยาคมต่างๆ จึงมีผู้มาขอฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาวิทยาคมที่เด่นๆ ได้แก่ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อยิ้ว วัดบางแขมต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ประจำทิศองค์พระปฐมเจดีย์ ที่พระครูอุตตรการบดี(ยิ้ว) หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทย หลวงพ่อพูน วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อเล็ก วัดหนองสีดาและหลวงพ่อม้วน วัดไทร  โดยเฉพาะหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ได้มาขอเรียน นะทรหดหรือนะคงกะพัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2480 และเป็นพระฐานานุกรมที่ท่านแต่งตั้ง


             หลวงพ่อสุข ท่านได้สร้างวัตถุมงคลจำนวนน้อยมาก วัตถุมงคลที่เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป คือ เหรียญปั้มรูปเหมือนรุ่นแรก และเป็นเหรียญรุ่นเดียวที่สร้างในขณะที่หลวงพ่อสุขยังมีชีวิตอยู่  เป็นเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อสุขครึ่งองค์ มีอักษรรอบเหรียญว่า "พระครูอุตตรการบดี สุก ปทุมสฺสวณฺโณ"  ด้านหลังเขียนว่า วัดห้วยจรเข้ ด้านหลังของเหรียญมีอยู่สองพิมพ์ คือ พิมพ์อุหางสั้น และอุหางยาวเหรียญรุ่นแรกนี้ นักสะสมพระทั่วไปเรียกว่า เหรียญคอสั้น เหรียญคอสั้นนี้ในอดีตชาวนครปฐมเชื่อว่าเหนียวกว่าเหรียญหลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม เหรียญหน้าเสือหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา  เหรียญคอสันรุ่นแรกเข้าใจว่าหลวงพ่อสุขสร้างหลังจากได้รับสมณศักดิ์เป็น  พระครูสัญญาบัตรประจำทิศองค์พระปฐมเจดีย์ ที่พระครูอุตตรการบดี เมื่อประมาณ พ.ศ. 2469 ต่อจากหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เหรียญรุ่นแรกนี้จะเรียกว่าเหรียญรุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ก็ได้ มีหลายเนื้อ 






เหรียญรุ่นแรก เนื้อเงิน คอสั้นพิมพ์อุหางยาว





                            
เหรียญรุ่นแรกเนื้อทองแดงคอสั้น พิมพ์อุหางยาว      



             
                    เหรียญรุ่นแรกเนื้อทองแดงคอสั้น พิมพ์อุหางสั้น


             เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อสุข มีความโดดเด่น ในด้าน
คงกะพันชาตรีและมหาอุด เพียบพร้อมไปด้วยเมตตามหานิยมและเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มากที่สุดในบรรดาพระเครื่องของวัดห้วยจระเข้(มีประสบการณ์มากกว่าพระปิดตาหลวงปู่นาค) ค่านิยมเหรียญทองแดงรุ่นแรกองค์ผิวไฟแดงๆราคาล่าสุดจำหน่าย ๑๕.๐๐๐บาท ส่วนเนื้อเงินเล่นหากันอยู่ที่ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ถึง ๖๐,๐๐๐ บาท อนาคตมีสิทธิ์เล่นหาถึงหลักแสน








เหรียญรุ่นสองเนื้อทองแดงคอยาว




             เหรียญรุ่นสอง ของหลวงพ่อสุข วัดห้วยจระเข้ มีลักษณะคล้ายเหรียญรุ่นแรก รูปหลวงพ่อจะผอม และคอยาวมากกว่าเหรียญรุ่นแรก คนทั่วไปเรียกว่าเหรียญคอยาว สร้างแจกในงานฌาปนกิจศพหลวงพ่อสุข เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๔๙๕ เหรียญรุ่นสองนี้ปลุกเสกโดยคณาจารย์หลายท่าน เช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อยิ้ว วัดบางแขม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่ามและท่านอื่น ๆ เป็นผู้ร่วมกันปลุกเสก จำนวนสร้างไม่เกินหนึ่งพันเหรียญ ด้านพุทธคุณไม่เป็นรองเหรียญรุ่นแรกเพราะมีประสบการณ์เหมือนกัน ค่านิยมอยู่ที่หลักร้อยองค์สวยๆอยู่ที่ประมาณ ๑,๐๐๐บาท นับเป็นเหรียญเก่าเหรียญดีราคาถูกที่น่าสะสม ถ้าท่านผู้อ่านหาเหรียญรุ่นแรกไม่ได้จะใช้เหรียญรุ่นสองแทนก็ได้ รับรองพุทธคุณเหมือนกัน
       ลำดับเจ้าอาวาส วัดห้วยจระเข้


  1. พระครูปัจฉิมทิศบริหาร(นาค)
  2. พระครูอุตตรการบดี(สุข  ปทุมสฺสวณฺโณ)
  3. พระครูอุตตรการบดี(ล้ง)
  4. พระครูทักษิณานุกิจ(เสงี่ยม)


            หนังสือประวัติโดยสังเขปของพระครูอุตตรการบดีที่แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ๔ มีนาคม ๒๔๙๕  ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านหรือเป็นหลักฐานในการค้นคว้าหาความจริงต่อไป


















สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114
                                                                                    
                       
                     
                                                 

นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร


                 ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘



                                                                                     ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม



                          พระปิดตาหลวงตาพร้อม วัดพระงาม แม่พิมพ์พระถอดมาจากพระปิดตา
               หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จึงเป็นเหตุให้เข้าใจผิดว่าท่านเป็นศิษย์หลวงปู่นาค
               วัดห้วยจระเข้ หลวงตาพร้อม ท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุ โดยการเสกแร่ทองแดง

               หรือทองเหลืองให้เป็นแร่ทองคำ แต่ทำไม่สำเร็จ ท่านนำโลหะที่เล่นแร่แปรธาตุ


               มาเทหล่อเป็นพระปิดตา


พระปิดตาหลวงตาพร้อม วัดพระงาม