คนนครปฐมโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย มีความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเครื่อง ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566

หลวงพ่ออุย วัดบ้านกร่าง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย



รูปหล่อโบราณหลวงพ่ออุย 

พระอมตเถราจารย์ผู้เรืองอาคม

วัดบ้านกร่าง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย

( รูปหล่อเก่า มีอายุในการสร้างกว่า 96 ปี )


    สันนิษฐานว่ารูปหล่อหลวงพ่ออุย สวณุสร องค์นี้ หล่อขึ้นพร้อมพระพุทธชินราชจำลอง หน้าตัก 80 นิ้ว พระพุทธปฏิมากรประธาน อุโบสถวัดบ้านกร่าง เมื่อวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก ปี พ.ศ. 2463 ( เพราะฝีมือในการปั้นลานที่ฐานรูปหล่อ ซึ่งมีลักษณะเป็นอาสนะหมอนรองนั่งที่มีลวดลายฝีมือเดียวกับลวดลายที่เครื่องทรงอาฬวกยักษ์ และ ท้าวเวสสุวัณโณ และ ฐารชุกชีพระพุทธชินราชจำลอง ที่หลวงพ่ออุยหล่อขึ้นในปี พ.ศ. 2463 ) และสร้างเหรียญหล่อโบราณพระชินราชหูปลิงหลังเรียบขึ้นในวาระเดียวกัน มีพุทธคุณดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ทางอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดดีนักแล นอกจากนี้ยังโดดเด่นในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ

    หลวงพ่ออุย วัดบ้านกร่าง ได้ชื่อว่าเป็นลูกศิษย์อาวุโสในหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน อ.บางคลาน ( เดิมตั้งอยู่ที่บ้านบางคลาน ภายหลังย้ายมาตั้งที่ว่าการใหม่ที่บ้านโพทะเล และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออำเภอให้สอดคล้องกับที่ตั้งตามนโยบายของมหาดไทย เป็น อ.โพทะเล สือต่อมาจนปัจจุบัน ) จ.พิจิตร รูปหนึ่ง

    วัดบ้านกร่างตั้งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำยม ซึ่งแต่เดิมไหลไปบรรจบกับแม่น้ำน่านตรงใต้วัดบางคลานไปเล็กน้อย ( หน้าบ้านอดีตกำนันซัง ) ภายหลังแม่น้ำน่านได้เปลี่ยนทางที่วังกะดี่ทอง ไผ่ขวาง ไหลไปทางคลองเรียง ท่าฬอ ( แม่น้ำเข็กหรือแม่น้ำวังทองไหลมาบรรจบที่นี่ ) จนกลายเป็นแม่น้ำน่านสายปัจจุบันไหลผ่านพิจิตรเมืองใหม่ ไปบรรจบกับแม่น้ำยมที่หน้าวัดเกยไชยเหนือบรมธาตุ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ( ไอ้ด่างเกยชัย จระเข้ยักษ์ )

    ส่วนแม่น้ำน่านสายเก่า ( ไหลผ่านเมืองเก่า วัดโพธิประทับช้างถิ่นประสูติพระพุทธเจ้าเสือ ) ได้ตื่นขึ้นกลายเป็นแม่น้ำพิจิตรหรือแควกลางในปัจจุบัน

    คนรุ่นเก่า อ.กงไกรลาศ ยังเล่าขานว่าหลวงพ่อเงิน บางคลาน เคยนั่งเรือมาเยี่ยมหลวงพ่ออุย ผู้เป็นลูกศิษย์และมาแวะเยี่ยมโยม เถ้าแก่โรงสีกงไกรลาศที่ใกล้ๆ วัดบ้านกร่าง ที่นับถือคุ้นเคยกันหลายพ่อเงินมาก

    เหรียญหล่อโบราณชินราชหลวงพ่ออุย รุ่นแรก วัดบ้านกร่าง อ. กงไกรลาศ จ. สุโขทัย 

        - สร้างไม่เกิน 500 เหรียญ

        - พิมพ์พระพุทธชินราชมี ๒ พิมพ์(ค่านิยม เอาสวยเป็นหลัก)

        - ศิลปะสวยมีเอกลักษณ์

        - ช่างหล่อศิลปะ แบบเดียวกับเหรียญจอบหลวงพ่อเงิน บางคลาน และเหรียญหล่อโบราณหลวงพ่อเพรช วัดท่าหลวง จอบหลวงพ่อขํา วัดโพธิ์เตี้ย 

        - ในการปลุกเสก แน่นอน มีหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า  หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา  และยังมีเกจิอีกมากมายที่มาปลุกเสก ในสมัยก่อนการปลุกเสก วัตถุมงคล เค้าเอาเเรงกัน เวลาจะไปปลุกเสกแต่ละที ต้องมารวมกันแล้วไปด้วยกัน ไครอยู่ไกล้กันก็ไปด้วยกัน ดังนั้นเซียนพระรุ่นเก่าจึงพอใจที่จะบูชาเหรียญหล่อชินราชหลวงพ่ออุยติดตัวมากกว่าเหรียญหล่อชินราชอินโดจีน 

        - เป็นเหรียญเกจิที่เก่าที่สุดในสุโขทัยครับ

        - อายุการสร้าง ปี2463 ประจุบัน อายุมากกว่าร้อยปี

        - ในสมัยก่อนนักสะสมพระเครื่องเมืองไทย เปรียบเทียบ จอบหลวงพ่อเงิน บางคลานหลายเหรียญ เท่ากับ จอบชินราชหลวงพ่ออุย 1องค์เพราะคนสมัยก่อนทราบดีว่าเหรียญจอบหลวงพ่อเงินไม่ทันหลวงพ่อเงินปลุกเสก(หลวงพ่อเงิน บางคลานเกิดประมาณปี 2344 มรณภาพประมาณปี 2456 เหรียญจอบเล็ก จอบใหญ่่รูปหล่อพิมพ์นิยม ขี้ตาและรูปหล่อเท่าองค์จริงสร้างประมาณปี 2461โดยอาจารย์แจ๊ะเจ้าอาวาสองค์ต่อมา)  และในสมัยก่อนเซียนรุ่น เก่าๆ จะรู้ดีครับ ว่าหายาก สร้างน้อน มีประสบการณ์สูงมาก

    รายนามพระอริยะเถระบูรพคณาจารย์ ( บางส่วน ) ที่ได้นิมนต์มาร่วมพิธีพุทธาภิเศกวัตถุมงคลในครั้งนี้

        1. สมเด็จพุฒาจารย์ ( นวม ) วัดอนงคาราม จ.กรุงเทพฯ

        2. หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี

        3. หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์ ธนบุรี

        4. อาจารย์เปิง วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี

        5. หลวงปู่เผือก วัดทองนพคุณ ธนบุรี

        6. หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี จ.อุทัยธานี

        7. หลวงปู่รอด วัดสามไถ จ.อยุธยา

        8. หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จ.อยุธยา

        9. หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

        10. หลวงปู่เป้า วัดใหม่สุประดิษฐาราม จ.นครปฐม

        11. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม

        12.หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว จ.สุพรรณบุรี

        13. เจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา จ.กรุงเทพฯ

        14. หลวงพ่อคร้าม วัดบางระกำ จ.นครปฐม

        15. หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก จ.สมุทรสงคราม

        16. อุปัชฌาย์กรัก วัดอัมพวัน จ.ลพบุรี

        17. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ) วัดระฆังโฆษิตาราม จ.กรุงเทพฯ

        18. หลวงพ่อกาพย์ วัดจรรย์ จ.สุพรรณบุรี

        19. หลวงพ่ออุย วัดบ้านกร่าง จ.สุโขทัย

        20. หลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว จ.สมุทรสาคร

        21. หลวงพ่อผัน วัดกรับพวง จ.พิษณุโลก

        22. อาจารย์พา วัดระฆังโฆษิตาราม จ.กรุงเทพฯ

        23. หลวงพ่อชุ่ม วัดบางนาใน จ.กรุงเทพฯ

        24. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี

        25. หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย ( ปลักไม้ดำ ) จ.กำแพงเพชร

        26. หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี

        27. หลวงพ่อปั้น วัดหาดทนง จ.อุทัยธานี

        28. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก จ.กรุงเทพฯ

        29. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ง จ.สมุทรปราการ

        30. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร ( บางขุนเทียน ) จ.กรุงเทพฯ

        31. หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง จ.ปทุมธานี 

        32. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี











สุพล คีรีวิเชียร

081-0434114


วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

พระกริ่งเบญจภาคี

                           การสร้างพระกริ่งในประเทศไทย เริ่มปรากฎหลักฐานแน่ชัดคือ การสถาปนาพระกริ่งปวเรศของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศ ฯทรงสถาปนาขึ้นครั้งแรก ณ วัดบวรนิเวศวิหารประมาณปี พ.ศ. 2429 การสร้างพระกริ่งในเมืองไทย มีมากมายหลายวัดหลายสำนัก แต่ละสำนักก็มีสูตรผสมเนื้อโลหะหลักสำคัญแตกต่างกันไป ตามความเชื่อความศรัทธาของแต่ละสำนัก ว่าโลหะนั้นมีคุณวิเศษอย่างไร ดีอย่างไร อย่างเช่น สูตรโลหะที่นำมาผสมพระกริ่งปวเรศฯ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นสัตตโลหะก็เป็นสูตรผสมสูตรหนึ่ง พระชัยวัฒน์ของท่านเจ้ามา วัดสามปลื้มก็เป็นอีกสูตรหนึ่ง ส่วนพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ก็เป็นอีกสูตรหนึ่ง เป็นนวโลหะ 9 อย่างประกอบด้วย 1.ชิน 2.เจ้าน้ำเงิน 3.เหล็กละลายตัว 4.บริสุทธิ์ 5.ปรอท 6.สังกะสี 7.ทองแดง 8.เงิน 9.ทองคำ ส่วนพระกริ่งภูธราวดีของพล.ต.ท ประชา บูรณธณิต ก็เป็นนวโหละ 9 อย่าง ประกอบด้วย 1.ทองคำ 2.เงิน 3.ทองแดง4.ดีบุก5.พลวง 6.สังกะสี 7.เจ้าน้ำเงิน8.เหล็กละลายตัว 9.เหล็กไหล มีโลหะ 3 ธาตุที่แตกต่างกับสูตรสมเด็จพระสังฆราช แพ คือ 1.เหล็กไหล 2.พลวง 3.ดีบุก ส่วนของสมเด็จพระสังฆราช แพ คือ 1.ชิน 2.บริสุทธิ์3.ปรอท แต่พระกริ่งที่วงการนักอนุรักษ์ยอมรับและมีค่านิยมสูงมีราคาหลายล้านหรือหลายสิบล้านบาทหรือเป็นหลายร้อยล้าน ที่จะจัดเป็นพระกริ่งเบญจภาคี มีดังต่อไปนี้

                                    ๑.พระกริ่งปวเรศฯ วัดบวรนิเวศวิหาร พระกริ่งปวเรศองค์นี้มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าร้อยล้านบาทหรือมากกว่านั้น พระกริ่งองค์นี้น่าจะเป็นพระเครื่องที่แพงที่สุดในประเทศไทย

 

                                    ๒.พระกริ่งสวนเต่ารัชกาลที่ ๕ จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง เนื้อพระเป็นสีมันเทศ ผิวท่านเป็นสีน้ำตาลไหม้ กลับดำไม่สนิทเหมือนพระกริ่งปวเรศหรือพระกริ่งวัดสุทัศน์ เนื้อพระกริ่งสวนเต่าจึงแก่ทองคำมากกว่าแก่เงิน ส่วนพระกริ่งปวเรศหรือพระกริ่งวัดสุทัศน์เนื้อพระจึงแก่เงินมากกว่าแก่ทองคำ

ราคา 15,000,000 บารท




                                    ๓.พระกริ่งเทพโมลี สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ฯ


                                    ๔.พระกริ่ง๗๙ สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ฯ


                                    ๕.พระกริ่ง๘๓ สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ฯ ราตา 10,000.000 บาท

                    ในอดีตพระกริ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นเพื่อประจำองค์พระจักรพรรดิ์ ในรัชสมัยรัชกาลที่๕ พระองค์ท่านได้ทรงสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ โดยพระกริ่งได้พระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงค์และข้าราชบริพารเพื่อเป็นพระพิธี ส่วนพระชันวัฒน์ได้ทรงสร้างเป็นเนื้อทองคำ พระราชทานแด่พระราชโอรสที่จะเสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศ(รัชกาลที่ ๖และกรมหลวงชุมพรฯได้รับพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำขณะไปศึกษายังประเทศอังกฤษ)  ดังนั้นพระกริ่งจึงเป็นพระที่เพรียบพร้อมด้วยพุทธคุณครอบจักรวาล จึงได้ฉายาว่าเป็น"ราชันแห่งพระเครื่อง" ใครที่ได้ครอบครองเป็นเจ้าของพระกริ่งเบญจภาคี นับว่าเป็นคุุณวิเศษนัก ยิ่งบูชายิ่งเป็นสิริมงคล 


                                                                   

                                                                                         นายสุพล คีรีวิเชียร  

                                                                                         081-0434-114

     หมายเหตุ รัชกาลที่ ๑,๒,๓ บูชาสมเด็จอรหัง สังฆราชสุก ไก่เถื่อนประจำพระองค์                                      รัชกาลที่ ๔,๕,๖,๗ บูชาพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ประจำพระองค์                                                            รัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทหารตำรวจ และประชาชนบูชาสมเด็จวัดระฆังประจำตัว         

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ ฐิตสทฺโธ ( ผูก จันทราศรี ) วัดพระปฐมเจดีย์




ประวัติโดยสังเขป


         พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ หรือที่ชาวบ้านตำบลพระปฐมเจดีย์รู้จักท่านในนามหลวงลุงผูก ท่านเป็นพระนักปฏิบัติและมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ในชีวิตของท่านสร้างแต่คุณงามความดี ไม่เคยสร้างความเดือนร้อนให้แก่สังคม ไม่เคยสร้างความเสื่อมเสียให้แก่พระพุทธศาสนา ท่านเป็นพระนักพัฒนา ช่วยเหลือสังคม และบำเพ็ญกรณียกิจต่างๆ เป็นอเนกประการอันเป็นคุณประโยชน์แก่วัดพระปฐมเจดีย์ พระพุทธศาสนา ทางราชการโดยการรับราชการเป็นทหารผ่านศึกในสงครามอินโดจีน และสาธารณะประโยชน์อื่นๆ เช่น
          ก่อสร้างพระอุโบสถ ๓ แห่ง
          ๑. วัดน้อยเจริญสุข อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
          ๒. วัดสุขวราราม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
          ๓. วัดคีรีวงศ์ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
          สำหรับวัดพระปฐมเจดีย์ ก่อสร้างเมรุวัดพระปฐมเจดีย์ สร้างศาลาบำเพ็ญกุศล และสร้างกุฏิเสนาสนะสงฆ์
          หลังจากที่หลวงลุงพ้นจากราชการทหาร ด้วยจิตใจที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดพระปฐมเจดีย์ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๙ โดยตั้งใจอย่างแนวแน่ว่าจะขอตายในผ้าเหลือง หลวงลุงผูกท่านเป็นพระที่เปี่ยมด้วยเมตตา ท่านจึงเป็นที่นับถือ รักใคร่ ต่อผู้พบเห็นไม่ว่าท่านนั้นจะสูงวัยกว่าหรืออ่อนวัยกว่าก็ตาม ด้วยบุคลิกที่ท่านเป็นคนอารมดี ใจเย็น จึงเป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์ ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อบุญธรรม ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ของท่าน หลวงพ่อบุญธรรมให้ความรักและเมตตาหลวงลุงผูกเป็นอันมาก ดังนั้นวิชาอาคมต่างๆ ของหลวงพ่อบุญธรรมที่สืบทอดมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ได้ถ่ายทอดให้หลวงลุงผูก จนหมดสิ้น ไม่ว่าการเขียนผง การลงอักขระยันต์สำคัญต่างๆ เช่น ยันต์เกราะเพชร นอกจากนี้หลวงลุงผูกยังได้ไปศึกษาเพิ่มเติมกับพลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา  หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
          หลวงลุงผูกท่านเป็นพระที่คมในฝัก นอบน้อมถ่อมตน ไม่โอ้อวดว่าท่านมีอะไรดี ท่านจะไม่แสดงออก แต่เพรชก็ย่อมเป็นเพชรอยู่วันยังค่ำ ดังนั้นในบรรดาศิษย์ของท่านย่อมทราบดีว่าพระเครื่องของท่านมักแสดงปาฏิหารย์ให้ปรากฎเสมอ โดยเฉพาะชาวตลาดบนและตลาดล่างให้ความเคารพนับถือหลวงลุงผูกและเชื่อมั่นในพระเครื่องของท่านว่าดีทางเมตตามหานิยม โชคลาภและดีทางค้าขาย พระเครื่องของหลวงลุงผูกท่านสร้างแต่ละรุ่นเป็นจำนวนน้อย(หลักร้อยไม่เกินหลักพัน) ดังนั้นพระเครื่องของท่านจึงอยู่ในมือศิษย์ของท่านเท่านั้น ไม่มีโอกาสจะตกมาอยู่ในมือของบุคคลภายนอก อย่างเช่น เหรียญรุ่นแรกปี พ.ศ.๒๕๑๒สร้างจำนวน ๒๕๑๒ เหรียญ เหรียญส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือศิษย์ของท่านเพียงไม่กี่คนเท่านั้น(บางคนบูชาเป็นร้อยเหรียญหรือหลายร้อยเหรียญ) หลวงลุงผูกท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่แก่กล้าวิชาอาคมรูปหนึ่ง แม้แต่หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอมก็ยอมรับนับถือว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่แก่กล้าวิชาอาคม หลวงพ่อแช่มจะกำชับลูกศิษย์ของท่านว่าในพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องพระบูชาของวัดดอนยายหอม ต้องนิมนต์หลวงลุงผูกร่วมปลุกเสกทุกครั้ง นอกจากหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอมจะให้ความนับถือหลวงลุงผูกแล้ว หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระยังให้ความนับถือหลวงลุงผูกเหมือนกันจะเห็นได้จากพิธีพุทธาภิเษกวัดบางพระจะต้องนิมนต์หลวงลุงผูกร่วมพิธีเสมอ หลวงลุงผูกท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมยุคสมัยกับหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม หลวงพ่อพูน วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อหลิว วัดสนามแย้ หลวงพ่อเต๋า วัดเกาะวังไทร หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์คลื่นลูกใหม่ หลังจากสิ้นยุคหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม และหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
          ในสมัยที่หลวงลุงผูกมีชีวิตอยู่ท่านได้สร้างพระเครื่องพระบูชาหลายรุ่น พระเครื่องของท่านนอกจากท่านจะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ท่านยังได้นำพระเครื่องของท่านไปให้หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอมและหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลาปลุกเสกเป็นการส่วนตัว นอกจากนี้ท่านยังได้นำพระเครื่องของท่านเข้าพิธีพุทธาภิเษกสำคัญๆ ของวัดพระปฐมเจดีย์และวัดอื่น ๆที่ท่านได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมปลุกด้วย ซึ่งในพิธีดังกล่าวจะนิมนต์พระเกจิอาจารย์ดังๆ มาร่วมปลุกเสกเสมอ เช่น หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร และ หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง ดังจะเห็นได้จากเหรียญรุ่นแรกของหลวงลุงผูก ที่สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เหรียญรุ่นแรกนี้นอกจากหลวงลุงผูกจะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ท่านยังได้นำเหรียญรุ่นนี้เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระปฐมเจดีย์ ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ซึ่งเป็นพิธีเสาร์ ๕ และในพิธีนั้นมีพระเกจิอาจารย์ดังๆ ร่วมปลุกเสกเป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เหรียญรุ่นแรกนี้มีสองเนื้อ คือ เนื้อทองแดงและเนื้ออาปาก้า จำนวนการสร้างทั้งหมด ๒,๕๑๒ เหรียญ เหรียญทองแดงมีจำนวนมากกว่าเหรียญอาปาก้า ท่านเป็นพระที่มีใจเด็ดเดี่ยวตั้งใจจริง ทำอะไรก็ทำจริงๆจังๆ การสร้างพระเครื่องของหลวงลุงผูกท่านจะสร้างด้วยความตั้งใจ ท่านมักจะกล่าวกับศิษย์ใกล้ชิดเสมอว่าการสร้างพระต้องทำให้ขลัง ดีข้างนอกดีข้างใน จะได้เป็นศิริมงคลแก่ตัวเองเมื่อบูชาติดตัว พระเครื่องของท่านจึงปลุกเสกนานไม่น้อยกว่า ๒ พรรษา และนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกหลายครั้ง จนมั่นใจว่ามีพุทธานุภาพจึงนำแจกแก่ศิษย์ พระเครื่องของหลวงลุงผูกขณะนี้ราคายังไม่สูงนัก(หลักร้อย) ถ้าท่านผู้อ่านมีโอกาสพบเห็นก็เช่าบูชาไว้ ของท่านดีจริงๆ จัดอยู่ประเภทของดีราคาถูก
          ประสบการณ์
          เมื่อประมาณเดือนเมษายน 2556 ผู้เขียนได้บูชาพระบูชารูปเหมือน 5 นิ้วรุ่นแรกในราคา 1,800 บาท และรูปหล่อเหมือนโบราณเนื้อเงินรุ่นแรกในราคา 1,000 บาท เพราะเห็นว่าราคาถูก เมื่อพิจารณาเนื้อหาของพระบูชารูปเหมือน 5 นิ้วรุ่นแรกว่าเป็นเนื้อทองผสมคล้ายเนื้อนวโลหะกลับดำ ซึ่งเป็นเนื้อที่สูงมาก ปัจจุบันถ้าจะสร้างเนื้ออย่างนี้ ต้องบูชาองค์ละไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ส่วนพระรูปหล่อโบราณเนื้อเงินคงไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท เพราะน้ำหนักเนื้อเงินร่วม 2 บาท เมื่อบูชามาแล้วผู้เขียนได้ขอบารมีของหลวงพ่อผูกให้ช่วยขายที่ดินแปลงหนึ่งของผู้เขียน ซึ่งเป็นที่ตาบอด (ไม่มีทางออกสู่สาธารณะ) และเป็นที่นา เป็นที่ดินที่ผู้เขียนได้บอกขายมาเป็นเวลานานถึงสิบปี และที่ดินนี้ก็ขายได้ในราคาสูง ในเดือน พฤษภาคม 2556 และผู้ซื้อก็ไม่ใช่นายทุนแต่เป็นชาวนาที่มีที่ดินติดกัน ผู้เขียนยังไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะความบังเอิญหรือเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อผูก ผู้เขียนเลยขอทดสอบอีกครั้งโดยขอโชคลาภจากหลวงพ่อผูกอีกครั้ง ผู้เขียนก็ถูกรางวัลสลากออมสินงวดประจำเดือนกรกฎาคมรางวัลที่สองเป็นเงิน 100,000 บาท ในชีวิตผู้เขียนไม่เคยถูกรางวัลใดๆ เลย เรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้เขียนก็ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้อ่านว่าเป็นความบังเอิญหรือเพราะบารมีของหลวงพ่อผูก




จมหมายแจ้งการถูกรางวัลของธนาคารออมสิน



ใต้ฐาน รูปเหมือนบูชาพระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ ๕ นิ้ว รุ่นแรก




เหรียญรุ่นแรก เนื้ออาปาก้า







รูปเหมือนหล่อโบราณลอยองค์รุ่นแรก (พิมพ์นิยม) เนื้อเงิน หลวงพ่อผูก 
สร้างพร้อมรูปเหมือนบูชารุ่นแรก ปี พ.ศ.2537







รูปเหมือนหล่อโบราณลอยองค์รุ่นแรก (พิมพ์นิยม)  เนื้อนวโลหะ หลวงพ่อผูก 
สร้างพร้อมรูปเหมือนบูชารุ่นแรก ปี พ.ศ.2537






รูปเหมือนหล่อโบราณลอยองค์รุ่นแรก (พิมพ์นิยม)  เนื้อทองเหลือง หลวงพ่อผูก 
สร้างพร้อมรูปเหมือนบูชารุ่นแรก ปี พ.ศ.2537










สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114


เหรียญรุ่นแรก หลวงลุงผูก ปี พ.ศ. 2512 
สุพล 081-0434114


เหรียญรุ่นแรก หลวงลุงผูก ปี พ.ศ. 2512 
สุพล 081-0434114



สุพล คีรีวิเชียร
                                                                                                                                      ๐๘๑-๐๔๓๔๑๑๔



ชุมนุมเชียรใหญ่ในอดีต
กวย สีลม, บิ ท่าพระจันทร์, บอ,
จั้วเล็กตลาดพลู, เป้งย้งตลาดพลู, จั้วใหญ่ตลาดพลู, เสี่ยสมเกียรติ์ ฉันทนวาณิช อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และ อ.นิรันตร์(หนู)แดงวิจิตร, เสี่ยใบแดง, นายสุพล คีรีวิเชียร(ทนายปั้ง), อ.ประโยชน์, อ.นิพัทธ์ จิตรประสงค์, นายบัณฑิต กรกนก, เล็ก รูปหล่อ





เหรียญหล่อโบราณหลวงพ่อสองพี่น้องปี วัดหนองโว้ง พ.ศ.2471
ปลุกเสกโดยมหาโต๊ะ วัดเลียบ มหาโต๊ะท่านนี้มีความเก่งกล้าในวิชาอาคมมากบางท่านว่าเก่งกว่าหลวงปู่สุข วัดมะขามเฒ่าอีก ในอดีตเข้าใจว่าเป็นเหรียญหล่อหลวงปู่ชู วัดนาคปรก แต่ความจริงหลวงปู่ชูไปร่วมปลุกเสกจึงได้รับมาส่วนหนึ่ง 
เหรียญมีสองแบบ แบบตัดหูเชื่อมห่วงเงินโดยช่างเย็น (อาศัยอยู่หน้าวัด) เป็นคนเชื่อม และแบบไม่ตัดหู (สภาพเดิม)