คนนครปฐมโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย มีความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเครื่อง ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

วัดทุ่งผักกูด


พระครูพรหมวิสุทธิ์
(วงษ์ พรหมสโร)
          
          วัดทุ่งผักกูด ตั้งอยู่ตำบลห้อยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม เป็นวัดตั้งอยู่ที่ดอน วัดได้ก่อสร้างมาแต่ครั้งใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เท่าที่สืบได้ปรากฎว่าสภาพเดิมของวัดเป็นเนินดิน โบสถ์ วิหารไม่มีเหลือ ส่วนเนินดินนั้นได้ขุดพบพระบูชาเก่าๆ สมัย
ทวารวดีหลายองค์ น่าจะสันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างในสมัยทวารวดี สภาพวัดเป็นวัดร้างเพิ่งมาสร้างขึ้นใหม่ในสมัยหลวงพ่อเทศน์ และหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกร่วมสร้างด้วย
          หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูด หรีือพระครูพรหมวิสุทธิ เจ้าคณะอำเภอกำเเพงเเสน เกิดวันพุธ เดือนห้า เเรมหนึ่งคํ่า ปีชวด พ.ศ. 2431 ณ บ้านทุ่งพิชัย ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม บรรพบุรุษเชื้อสายลาว หลวงพ่อเกิดในตระกูล "มีคลองเเบ่ง" บิดาชื่อ ลา มารดาชื่อ น้อย เป็นบุตรคนโต ในบรรดาพี่น้อง 8 คน คือ
          1.หลวงพ่อวงษ์
          2.นายจ่อย     มีคลองเเบ่ง 
          3.น.ส.นิ่ม       มีคลองเเบ่ง
          4.นายนุ่ม       มีคลองเเบ่ง
          5.นายเนียม    มีคลองเเบ่ง
          6.นายอ้น       มีคลองเเบ่ง
          7.นายพวง     มีคลองเเบ่ง
          8.นายไข่       มีคลองเเบ่ง
          เมี่อเยาว์วัย หลวงพ่อวงษ์ได้เรียนภาษาไทย เเละขอม จากคุณพ่อลา โยมพ่อลาอดีตเป็นสัมภาร วัดกงลาศ อำเภอ กำเเพงเเสน จังหวัด นครปฐม เป็นผู้มีวิชาอาคมเเก่กล้ามากในสมัยนั้น ภายหลังลาสิกขาบทมามีภรรยา ในระหว่างเป็นฆราวาสก็นุ่งขาว ห่มขาว เเละรักษาศีล ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บเเก่ชาวบ้าน ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมาก ด้วยเหตุที่คุณพ่อลา มีความเชี่ยวชาญในทางไสยศาสตร์เป็นยิ่งนัก หลวงพ่อวงษ์จึงได้รับการถ่ายทอดวิทยาคม มาตั้งเเต่เด็กๆจนกระทั่งบวช ประกอบกับอุปนิสัยของหลวงพ่อท่านเป็นคนขยันขันเเข็ง มีความเพียรวิริยะ และสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นผลทำให้การเรียนวิทยาคม เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่โปรดปรานของคุณพ่อลา เเละครูบาอาจารย์ยิ่งนัก      
         ครั้งเมื่อท่านอายุครบบวช หลวงพ่อวงษ์ ท่านได้อุปสมบท ณ วัดทุ่งผักกูด โดยมีพระครูอุตตรการบดี(ทา) วัดพะเนียงเเตก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเทศน์ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อจรวัดลำเหย เป็นพระอนุสาวาจารย์ได้ฉายาว่า "พรหมสโร" 



พระอุโบสถหลังเก่า ที่หลวงพ่อเทศน์ และ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ร่วมกันสร้าง 
หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูด อุปสมบทเป็นพระภิกษุรูปแรก


พระอุโบสถหลังใหม่ ( ปัจจุบัน )

         ภายหลังจากที่ท่านบวชเเล้ว ท่านได้ศึกษาพระเวทย์ เเละวิทยาคมต่างๆ จากหลวงพ่อเทศน์จนหมดสิ้น เเละยังได้มาศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน เเละคาถาอาคม กับหลวงพ่อทาที่วัดพะเนียงเเตกอาศัยที่หลวงพ่อวงษ์ ท่านมีพื้นฐานทางกรรมฐานเป็นอย่างดี เพราะได้ศึกษาจาก โยมพ่อลา เเละ หลวงพ่อเทศน์ มีผลให้การศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อทา สำเร็จเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เเละสามารถปฏิบัติได้ทั้งหมด เป็นที่ยินดีของอาจารย์ยิ่งนัก หลวงพ่อทาถึงกับเอ่ยชมว่า "ท่านวงษ์ ท่านมีบุญจริง เรียนอะไรก็ได้รวดเร็ว ทำของได้ขลังจริงๆ เสียดายที่ท่านอายุไม่ยืน" เเละก็เป็นจริงตามที่หลวงพ่อทากล่าวไว้ หลวงพ่อวงษ์ มรณภาพปี พ.ศ. 2498 อายุ 67 ปี
          ระหว่างอยู่วัดพะเนียงแตกคอยรับใช้พระอุปัชฌาย์ และศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยเหตุที่หลวงพ่อวงษ์ ท่านมีพื้นฐานความรู้ดี ประกอบด้วยท่านเป็นคนเฉลียวฉลาด จึงทำให้ท่านแตกฉานในวิทยาคมที่เรียนกับหลวงพ่อทา ดั้งนั้นหลวงพ่อทามักจะใช้หลวงพ่อวงษ์ ช่วยทำกิจธุระเสมอๆ เท่ากับหลวงพ่อทาท่านมีความไว้วางใจในด้านวิทยาคมของหลวงพ่อวงษ์เป็นอันมาก
           ภายหลังหลวงพ่อทามรณภาพ หลวงพ่อวงษ์จึงย้ายมาอยู่ที่วัดทุ่งผักกูด ท่านสร้างความเจริญให้เเก่วัดทุ่งผักกูดเป็นอันมาก ตลอดจนวัดใกล้เคียงต่างๆ ก็มาขอบารมีหลวงพ่อวงษ์ เพื่อสร้างวัด สร้างโบสถ์ เช่น วัดทุ่งพิชัย วัดเล่าเต่า หลวงพ่อวงษ์ก็รับนิมนต์เป็นประธานในการก่อสร้างวัด รวมทั้งก่อสร้างโบสถ์ สร้างศาลาการเปรียญ วัดทุ่งสีหลง ตำบล ลำเหย อำเภอ กำเเพงเเสน จังหวัด นครปฐม



พระอธิการวงษ์ พรหมสโร

          กิจวัตรประจำวันของของท่านในยามค่ำคืน ท่านจะต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่หัวค่ำไปจนกระทั่งเที่ยงคืนตรง จะออกจากสมาธิแล้วเขียนสูตรสนธิ เลขยันต์ ทำผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห มหาราช รัตนมารา และยันต์เกราะเพชร เป็นประจำมิได้ขาด และเป็นสิ่งที่ท่านได้รับการถ่ายทอดจากโยมบิดา และพระอุปัชฌาย์จะเรียกว่าท่านเชี่ยวชาญผงพุทธคุณ เจนจบก็ว่าได้
          หลวงพ่อวงษ์ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ตั้งเเต่อายุยังน้อยๆ (ในสมัยที่หลวงพ่อวงษ์มีชีวิตอยู่ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังกว่าหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เเละหลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา)  ดังคำทำนาย หลวงพ่อทา วัดพะเนียงเเตก ดังนั้นในพิธีพุทธาภิเษก พระคันธาราฐ ปี พ.ศ. 2476 เเละพระร่วงใบมะยม ปี พ.ศ.2484 , 2485 และ 2487 ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่หนุ่มมากที่เข้าร่วมปลุกเสกในพิธีนั้น
          ท่านเป็นพระที่มีขันติ พูดน้อย ถ่อมตน  เเละเปี่ยมไปด้วยเมตตาจิตเป็นที่ตั้งเสมอเเก่ผู้พบเห็น ชาวบ้านละเเวกนั้นเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย มักจะไปขอยาจากท่าน หรือไม่ก็ขอน้ำมนต์จากท่านเป็นประจำ โดยที่ท่านมิได้เรียกร้องสิ่งตอบแทนใดๆเลย หลวงพ่อมักจะยิ้มอยู่เสมอกับบุคคลทั่วไปที่ไปนมัสการท่าน จึงเป็นที่อบอุ่นใจแก่ผู้พบเห็น จากคำบอกเล่าของคุณครูวีระ เทพาธิป อายุประมาณ 70 กว่าปี (ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังขณะนั้นปี พ.ศ.2528) ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่าท่านได้ไปเยี่ยมหลวงพ่อวงษ์ที่วัดทุ่งผักกูด ขณะนั้นครูวีระประกอบอาชีพส่วนตัว มิได้รับราชการเป็นครูแล้ว และด้วยการค้าส่วนตัวไม่ดีนี่เองทำให้คุณครูวีระคิดมาก ถึงขนาดเส้นโลหิตฝอยในสมองแตก หมดสติ หลวงพ่อวงษ์ได้เสกยาและทำน้ำมนต์ให้กินให้ดื่ม ประกอบกับนั่งบริกรรมเสกเป่าครึ่งวันจึงได้สติฟื้นขึ้นมา (ครูวีระ อุปสมบทโดยมีหลวงพ่อวงษ์เป็นพระอุปัชฌาย์)
          คุณวิเศษอีกประการหนึ่งของหลวงพ่อวงษ์คือหนังเหนียว ฟันไม่เข้ากล่าวคือ มีคราวหนึ่งหลวงพ่อวงษ์ท่านไม่พอใจพระลูกวัดที่เอาแต่จำวัดในเวลากลางวันไม่ยอมช่วยทำความสะอาดวัดหรือซ่อมแซมหอสวดมนต์ ท่านก็มิได้ดุว่าแต่ประการใดเพราะนิสัยท่านเป็นพระพูดน้อย ท่านกลับเอาอีโต้ที่คมมาสับหน้าแข้งของท่านเอง ให้พระลูกวัดเหล่านั้นดู ยังผลให้พระลูกวัดเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าจำวัดในเวลากลางวันอีกต่อไป 
          หลวงพ่อวงษ์ท่านเป็นพระที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด ท่านทราบดีว่าตราบใดที่พุทธศาสนิกชนยังมีความศรัทธาในพระพุทธคุณ พระเครื่องหรือเครื่องรางของขลัง จะมีส่วนช่วยในการสร้างวัดหรือสร้างโบสถ์ หรือซ่อมแซมถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา ดังนั้นท่านจึงสร้างพระเครื่องหลายแบบหลายพิมพ์เพื่อเป็นการสมนาคุณแด่ท่านผู้มาทำบุญ พระเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อวงษ์รุ่นแรก สร้างปีพ.ศ.2485 ลักษณะเหรียญเป็นรูปวงกลมมีรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ และมีธงไขว้อยู่ใต้รูปหลวงพ่อ นักสะสมพระบางท่านเรียกว่าเหรียญธงไขว้ เนื้อเหรียญสร้างจากดีบุก ผสมตะกั่ว จึงเป็นพระเนื้อชินเมื่อใช้ไปนานๆหรือเก็บรักษาไม่ดี เนื้อพระจะระเบิดหรือไม่ก็มีสีดำ ค่านิยมอยู่หลักหมื่นบาท


เหรียญธงไขว้รุ่นแรก

          เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นเหรียญที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่หลวงพ่อได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูพรหมวิสุทธิ์" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2493 เหรียญรุ่นนี้มีสร้างสองเนื้อคือเนื้อเงินและเนื้อทองแดง รูปเหรียญคล้ายรูปน้ำเต้า ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ ใต้รูปหลวงพ่อมีข้อความว่า "หลวงพ่อวงษ์" ส่วนด้านหลังเหรียญมีข้อความว่า "พระครูพรหมวิสุทธฺ์ วัดทุ่งผักกูด เจ้าคณะอำเภอกำแพงแสน 2493" ถ้าเป็นเหรียญเงินจะเขียนผิดเป็นข้อความว่า "เจ้าคณะอำเภอกาแพงแสน" ดังนั้นเหรียญทองแดงที่มีข้อความด้านหลังว่า"เจ้าคณะอำเภอกาแพงแสน"จึงเป็นเหรียญปลอม
               เนื้อเงินประมาณ 100 เหรียญ
               เนื้อทองแดงประมาณ 2000 เหรียญ


รูปที่ ๑


รูปที่ ๒
เหรีัยญเลื่อนสมณศักดิ์ เนื้อเงิน พ.ศ.2493 ๒๐๐,๐๐๐บาท



รูปที่ ๓


รูปที่ ๔


รูปที่ ๕


รูปที่ ๖


รูปที่ ๗




รูปที่ ๘

เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ เนื้อทองแดง พ.ศ.2493  


          เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์นี่เป็นที่นิยมมากของนักสะสมพระ เพราะง่ายต่อการดูแลรักษาซึ่งผิดกับเหรียญธงไขว้ ผิวเหรียญมักจะระเบิด หรือคล้ำดำ ถ้าไม่หมั่นดูแลรักษาทำความสะอาดให้เพียงพอ เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์รุ่นนี้ทางวัดได้จำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว เพราะมีประสบการณ์มาก(มีเหรียญรุ่นนี้ติดตัวไม่ตายโหง) รายได้จากการจำหน่ายเหรียญรุ่นนี้ หลวงพ่อได้นำไปใช้ในการสร้างพระอุโบสถวัดทุ่งพิชัย (เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์รุ่นนี้มีประสบการณ์ไม่แพ้เหรียญธงไขว้ แต่มีจุดเด่นอีกประการหนึ่งคือเหมาะสำหรับบุคคลที่รับราชการ หรือพนักงานที่กำลังจะเลื่อนตำแหน่ง) เหรียญรุ่นนี้นับได้ว่าเป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพสูงมากเหรียญหนึ่ง ในอดีตชาวทุ่งพิชัยพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า"ถ้าไม่มีเหรียญรุ่นแรกหรือรุ่นสองหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกบูชาติดตัว จะบูชาเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ปี ๒๔๙๓หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูดแทนก็ได้ เพราะศิษย์กับอาจารย์คู่นี้เก่งไม่แพ้กัน" ค่านิยมองค์สวยๆผิวไฟแดงๆหรือกะไหล่ทองเต็มๆอยู่ที่ประมานหมื่นกว่าบาทถึงห้าหมื่นบาท ส่วนเนื้อเงินสวยๆเป็นแสนถึงสองแสนบาท(อนาคตเหรียญทองแดงสวยแชมป์มีสิทธิถึงหลักแสน ส่วนเหรียญเงินมีสิทธิหลักล้าน)
          ส่วนเหรียญพระพุทธชินราชใบเสมามีขนาดเล็กด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพระพุทธชินราชมีข้อความใต้ฐานเหรียญว่า "พระพุทธชินราช" ส่วนด้านหลังเหรียญมีข้อความว่า "พระครูพรหมวิสุทธิ์" หลวงพ่อได้สร้างพร้อมกับเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์เพื่อแจกจ่ายให้แก่เด็กและสตรีมีทั้งเหรียญเงินและเหรียญทองแดง เหตุหลวงพ่อสร้างเป็นรูปพระพุทธชินราชแทนที่จะเป็นรูปท่าน เพราะท่านทราบดีว่าพระที่ท่านปลุกเสกมักจะออกไปในด้านหมาอุดและคงกระพันชาตรี ท่านจึงขอบารมีหลวงพ่อพระพุทธชินราชให้พระที่ท่านปลุกเสกหนักไปในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ ดังนั้นจุดเด่นของเหรียญรุ่นนี้คือ ดีทางค้าขาย เมตตามหานิยมกว่ารุ่นอื่นๆที่เคยปลุกเสกมา ค่านิยมเหรียญทองแดงองค์สวยๆผิวไฟแดงอยู่ที่ประมาณแปดพันกว่าบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ส่วนเหรียญเงินยังไม่เห็นมีการซื้อขาย




เหรียญพระชินราชใบเสมา พ.ศ.2493 ราคา 5,๐๐๐ บาท




พระผงใบลาน หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูด


พิมพ์หน้าเทวดา



พิมพ์ฉันจันหัง



พิมพ์พระโมคลาสารีบุตร












                 ในสมัยที่หลวงพ่อวงษ์มีชีวิตท่านตั้งใจจะสร้างพระผงใบลานให้ได้ครบจำนวน ๘๔,๐๐๐๐องค์ให้เท่ากับพระธรรมขันธ์แต่สร้างได้ไม่ครบ หลวงพ่อวงษ์ท่านได้มรณภาพก่อน หลังจากที่หลวงพ่อวงษ์มรณภาพแล้วก็ยังมีการสร้างพระผงใบลานสืบต่อกันมาโดยตลอดจนถึงสมัยหลวงพ่อก่อย(พระครูไพโรจน์)ก็ยังมีการกดพิมพ์สร้างพระผงใบลานมาตลอดเพราะแม่พิมพ์ยังอยู่ที่วัด ดังนั้นการพิจารณาพระผงใบลานของหลวงพ่อวงษ์จึงต้องคำนึงถึงความเก่าความแกร่งความแห้งของเนื้อพระเป็นสำคัญซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก พระผงใบลานเข้าใจว่าสร้างหลังเหรียญธงไข้ว มีหลายพิมพ์ทั้งหลังเรียบและหลังยันต์นูน พระหลังเรียบสร้างก่อน ต่อมาได้ใส่ยันต์หลังให้สมบูรณ์แบบ ส่วนพระปิดตายันต์เลขหนึ่งหรือเลขแปดเข้าใจว่าน่าจะสร้างในปี๒๔๙๔พร้อมกับเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ เพราะความแกร่งความแห้งของเนื้อพระไม่เท่ากับพิมพ์อื่น

     
                   ลำดับเจ้าอาวาส วัดทุ่งผักกูด
          ๑. หลวงพ่อเทศน์
          ๒. พระครูพรหมวิสุทธิ์ (วงษ์ พรหมสโร )
          ๓. พระครูไพโรจน์ ศิลคุณ ( ก่อย )
          ๔.พระอธิการเสรี ญาณสีโล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน  













สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114
                                                             
นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร


                 ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘



                                                                                     ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม                     
                       
                         
                         
                  
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง



พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ปี 2556

ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด


          สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น 
สัมฤทธิคุณ รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
          ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
          ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้ไม่แน่ใจหมดหรือยัง

          พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
          สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) 
          โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142

                     
        


วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

วัดพระศรีอารย์ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี


พระครูสิริพัฒนกิจ (ขันธ์ กนฺตธโร)



เอื้อเฟื้อภาพโดย นครปฐมโฟโต้


         เมื่อกล่าวถึงวัดพระศรีอารย์  ทุกท่านคงจะนีกถีงพระยอดขุนพลเนื้อดินผสมว่านซึ่งสร้างโดยท่านพระครูสิริพัฒนกิจ หรือที่ชาวบ้านเลือก รู้จักในนามหลวงพ่อขันธ์ วัดพระศรีอารย์ พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของชาวจังหวัดราชบุรี พระยอดขุนพลของหลวงพ่อขันธ์ เป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงมากในช่วงปีพ.ศ.2508-2515 เพราะเป็นพระเครื่องที่มีประสบการณ์มากในขณะนั้น ดังนั้นจึงเป็นพระเครื่องที่ชาวจังหวัดนครปฐมกล่าวขานถึงมากที่สุดมากกว่าพระเครื่องของหลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อน้อย



พระอุโบสถหลังเก่า (บูรณะซ่อมแซมแล้ว)


สระน้ำเก่าศักดิ์สิทธิ์


         วัดพระศรีอารย์ ตั้งอยู่เลขที่ 139 ซอยสุขาภิบาล 8 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่โดยประมาณ 40 ไร่ รอบๆบริเวณวัดโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ใหญ่อยู่มากมาย มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การใช้เป็นแหล่งปฏิบัติธรรม เดิมวัดพระศรีอารย์ ชื่อ วัดสระอาน สันนิฐานว่าวัดสร้างประมาณปี พ.ศ.2275 ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ก่อนเป็นวัดร้างไม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา เป็นวัดเก่าที่มีมาช้านาน มีพระอุโบสถเล็กๆ ขนาดกว้าง 7.75 เมตร ยาว 15 เมตร กำแพงรอบๆอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีสภาพเก่าและชำรุดทรุดโทรมมาก บริเวณรอบพระอุโบสถมีป่าต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปกคลุมอยู่ทางทิศเหนือของพระอุโบสถ มีสระดินน้ำขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำข้ังตลอดทั้งปี ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสระน้ำเก่าที่ศักดิ์สิทธิ์



พระอุโบสถทองคำร้อยล้าน เริ่มก่อสร้างปี พ.ศ.2510


พระประธานหยกขาว
(พระประธานในพระอุโบสถทองคำร้อยล้าน)
พระพุทธรูปองค์นี้หลวงพ่อขันธ์อัญเชิญมาจากประเทศพม่า
โดยคำแนะนำของหลวงพ่ออุตตมะ ( พระราชสังวรอุดม วัดวังก์วิเวการาม )


          ประมาณปี พ.ศ.2475 เริ่มมีพระภิกษุสามเณรเข้าจำพรรษาแต่ไม่มากนัก(ประมาณ 2-3 รูป)จึงมีลักษณะเป็นสำนักสงฆ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2500 วัดสระอานได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระศรีอารย์ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2510 วัดพระศรีอาย์จึงเป็นนิติบุคคลตามกฏหมาย



พระครูสิริพัฒนกิจ (ขันธ์ กนฺตธโร)

          พระครูสิริพัฒนกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีอารย์ นามเดิมว่า ขันธ์ นามสกุล พุ่มเกษม เกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2468 ปีฉลู อุปสมบทเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2488 โดยมีพระครูโพธาภิรมย์ วัดบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ 
          พ.ศ.2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีอารย์
          พ.ศ.2521 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านเลือก-หนองโพ
          พ.ศ.2522 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
          เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2514 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมที่พระครูสมุห์ขันธ์ของพระธรรมปิฏก วัดปทุมคงคารามวรวิหาร พระอารามหลวง 
          หลวงพ่อขันธ์มรณภาพวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2534 
          คำสอนของหลวงพ่อขันธ์
          " คิดดี พูดดี ทำดี สามัคคี มีน้ำใจ "
          " กินน้ำให้คิดถึงบุญคุณของคนขุดบ่อ" 
          " อย่าขี้เหนียว อย่าตระหนี่ จงถี่ถ้วน"
         หลวงพ่อขันธ์เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็ย้ายมาจำพรรษาที่วัดพระศรีอารย์ เพราะบริเวณวัดสงบเงียบเหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก่อนหน้านั้นวัดมีพระภิกษุจำพรรษาน้อยมากเพียง 2-3 รูป มีพระอาจารย์อินทร์ ธฺมมโชติ เป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์ในขณะนั้น (ประมาณปี พ.ศ.2475-2490)ต่อมาโจรผู้ร้ายได้เข้ามาทำการปล้นกุฏิพระอาจารย์อินทร์ จนเป็นเหตุให้พระอาจารย์อินทร์ ย้ายไปจำพรรษาที่วัดหนองรี ภาระการปกครองสำนักสงฆ์จึงตกแก่หลวงพ่อขันธ์โดยปริยาย(รักษาการเจ้าอาวาส ขณะบวชอยู่พรรษาที่ 2)  หลวงพ่อขันธ์ท่านก็เป็นพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งที่บวชเพื่อจะสืบทอดพระศาสนา และเป็นการอุทิศส่วนบุญกุศลในการบวชให้แก่โยมบิดามารดา เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม ท่านก็ต้องลาสิกขาออกมาประกอบอาชีพหรือช่วยเหลือบุพการีประกอบอาชีพ



ศาลปู่ดำ ศาลปู่ขาว ศาลเจ้าพ่อเขางู สร้างปี พ.ศ. 2521






          ค่ำคื่นหนึ่งหลวงพ่อขันธ์ ท่านได้นิมิตเห็นหลวงปู่ดำ เทพารักษ์ผู้ปกปักรักษา วัดพระศรีอารย์ ในภาพของชีปะขาวขึ้นจากสระน้ำเก่าศักดิ์สิทธิ์ มาหาหลวงพ่อขันธ์ พร้อมกับกล่าวว่า ท่านขันธ์ ท่านอย่าลาสิกขา อยู่ช่วยสร้างวัดสร้างพระก่อน ก่อนอื่นผู้เขียนขอเท้าความย้อนหลัง ในสมัยนั้น ถ้าหลวงพ่อขันธ์ท่านจะลาสิกขา จะต้องไปลาสิกขาที่วัดอื่น เพราะวัดพระศรีอารย์ในขณะนั้นมีพระภิกษุไม่ถึง 5 รูป ที่จะประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์
          หลังจากที่ท่านตัดสินใจว่าจะไม่ลาสิกขา ท่านก็เริ่มสนใจในวิปัสสนากรรมฐาน และคาถาอาคมอย่างจริงจัง  อาจารย์ที่ท่านได้ไปศึกษาได้แก่ หลวงพ่อรอด เจ้าอาวาสวัดหลวง ตำบลวังเย็น อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี หลวงพ่อแหยม วัดบ้านเลือก และหลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ ระหว่างที่ท่านศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระตลอดจนวิชาอาคม ท่านก็ได้สะสมว่านต่าง ๆ ตลอดจนมวลสารอันเป็นคุณวิเศษ ตลอดจนผงพุทธคุณของวัดต่างๆ ซึ่งรายละเอียดผู้เขียนจะกล่าวถึงในตอนท้ายในส่วนของการสร้างพระ
          หลวงพ่อขันธ์ ท่านเป็นพระที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยวไม่เกรงกลัวใคร ดังนั้นการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของท่านจึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ท่านเป็นพระที่มีจิตเมตตาต่อบุคคลทั่วไปอย่างเสมอภาค โดยไม่คำนึงถึงฐานะของบุคคลนั้น จะร่ำรวย หรือยากจน หรือมียศฐาบรรดาศักดิ์สูงส่งเพียงใด ท่านก็ให้การตอนรับอย่างเท่าเทียมกัน สมัยผู้เขียนเป็นเด็กวัยรุ่น อายุประมาณ 13 ปี (พ.ศ.2511) ผู้เขียนได้ไปขอพระยอดขุนพลจากท่าน ท่านก็เมตตาให้ เป็นพระยอดขุนพลพิมพ์กลาง ท่านกำชับว่า " ให้เก็บรักษาพระให้ดีพระของข้า ข้าปลุกเสกจนเป็นพระจริงๆ ตกอยู่ใต้ถุนบ้านใครบ้านนั้นอยู่ไม่เป็นสุขแน่ " และท่านยังกล่าวเสริมอีกว่า "แขวนพระของข้าไม่มีตายโหง" 
          บทความนี้จะกล่าวถึง พระยอดขุนพล ของหลวงพ่อขันธ์ ก่อนอื่นขอกล่าวถึงมวลสารต่างๆที่ใช้ในการสร้างพระครั้งนี้ (จากการบอกเล่าของคุณวิเชียร ภู่ระหงษ์ อายุ 63 ปี โทร 081-7577320เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2553)        
          1. ว่าน 1000 กว่าชนิดจากประเทศมาเลเซีย ว่านและมวลสารและดินและผงของวัดช้างให้(มวลสารที่เหลือจากการสร้างพระหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ รุ่นแรก ปี พ.ศ.2497)
          2. ผงและเศษพระวัดสามปลื้มและวัดระฆัง
          3. มวลสารพุทธคุณของพระเกจิอาจารย์ทางใต้ โดยคุณณรงค์ ชาวอำเภอรอนพิบูล จังหวัดนครศรีธรรมราช เจ้าของเหมืองแร่ทางภาคใต้เป็นผู้นำมาถวาย
          4. ผงพุทธคุณของหลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ข้อเท็จจริงมีว่า หลวงพ่อขันธ์ได้ไปหาหลวงพ่อบุญธรรม ที่วัดพระปฐมเจดีย์ และได้แจ้งวัตถุประสงค์ในการสร้างพระ และได้ขอผงพุทธคุณจากท่านเพื่อไปสร้างพระ อันเป็นการสืบทอดพระศาสนาโดยจะไม่จำหน่ายพระเด็ดขาด แต่หลวงพ่อบุญธรรมก็นิ่งเฉยไม่พูดอะไร จนเวลาผ่านไปหลายชั่วโมง หลวงพ่อขันธ์ก็ขอลากลับโดยเข้าใจว่าหลวงพ่อบุญธรรมไม่อนุญาติให้ผงตามที่ต้องการ  เวลาผ่านมาหลายเดือนจนหลวงพ่อขันธ์ลืมเหตุการณ์นี้แล้ว ก็มีชาวพระปฐมเจดีย์มาหาหลวงพ่อขันธ์ที่วัดพระศรีอารย์พร้อมกับกล่าวว่า หลวงพ่อบุญธรรมวานให้เอาพระบูชาซึ่งเป็นพระพุทธรูป(ปางพระศรีอารย์)ให้มาถวายหลวงพ่อขันธ์ ท่านก็รับใว้และแปลกใจว่าเราขอผงพุทธคุณกลับได้พระพุทธรูปแทน หลวงพ่อขันธ์ท่านก็นั่งพิจารณาพระพุทธรูปเสียนานก็สังเกตเห็นใต้ฐานของพระพุทธรูปองค์นั้นมีรอยบรรจุผงพุทธคุณ ท่านจึงใช้ไขควงงัดออกดูก็ปรากฏเห็นผงพุทธคุณเต็มฐานพระบูชา(คุณคมน์ ภู่สุนทรศรี โทร.๐๘๕-๔๘๕-๘๗๘๘) นอกจากผงพุทธคุณที่กล่าวมาแล้ว ยังมีมวลสารพุทธคุณที่เจ้าอาวาสรูปก่อนหลายรูปได้สะสมไว้เพื่อจะสร้างพระ แต่ไม่ทันได้สร้างอันเนื่องมาจากท่านมรณภาพก่อนหรือไม่ก็ลาสึกขาไปก่อน มวรสารที่กล่าวถึงนี้นอกจากเป็นผงพุทธคุณขอเกจิอาจารย์ใอดีตแล้ว ยังมีมวลสารพุทธคุณเก่าแก่ของวัดเป็นจำนวนมากที่ตกทอดมาถึงมือท่าน
          เมื่อรวบรวมผงได้ตามที่ต้องการแล้วหลวงพ่อขันธ์ก็เริ่มลงมือสร้างพระยอดขุนพล โดยสร้างพระเป็นสองวาระ คือ
          วาระแรก เมื่อประมาณปี พ.ศ.2504 สร้างพระประมาณ สี่หมื่น องค์(โดยบรรจุพระลงในโองมังกรขนาดบรรจุ 200 ลิตร หลายใบ)แม้ท่านจะสร้างจำนวนมาก ท่านก็แจกใกล้จะหมดเหลือไม่กี่องค์
          วาระที่สอง สร้างพระประมาณปี พ.ศ.2523-2524 สาเหตุการสร้างพระครั้งที่สอง เนี่องจากพระสร้างครั้งแรกหมดเหลีอไม่กี่องค์ แต่ประชาชนมีความศรัทธาท่านจึงสร้างขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยนำมวลสารที่เหลือจากการสร้างพระในวาระแรกมาสร้างพระใหม่(มวลสารเหลือน้อยมากในขณะนั้นสร้างได้ประมาณไม่เกินสองหมื่นองศ์) หลวงพ่อขันธ์ท่านกล่าวกับศิษย์ใกล้ชิดทีเล่นทีจริงว่า"จะสร้างให้ได้ หนึ่งล้านองค์เพื่อนำเงินรายได้มาสร้า งพระอุโบสถทองคำร้อยล้าน" ระหว่างที่กดพิมพ์พระได้จำนวนหนึ่งประมาณหมื่นกว่าองศ์มวลสารก็ใกล้จะหมดก็หยุดกดพิมพ์สร้างพระระยะหนึ่ง จนกระทั่งหลวงพ่อขันธ์ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534  ขณะนั้นมวลสารเหลือน้อยมาก ต่อมาหลวงพ่อสง่า เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันก็กดพิมพ์สร้างพระต่อจนมวลสารหมดได้จำนวนมากตามที่ต้องการในปีพ.ศ.2543จึงได้จัดพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถ์ที่วัดพระศรีอารย์ โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์หลายท่านร่วมปลุกเสก ได้แก่ พลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม หลวงพ่อพูน วัดไผ่ล้อม และหลวงพ่ออุทัย วัดมฤคทายวัน(วัดเกาะตาพุด) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 
          พระยอดขุนพลที่หลวงพ่อขันธ์สร้างขึ้นมาในวาระสองนี้ หลวงพ่อได้ปลุกเสกพระในพระอุโบสถจนท่านมั่นใจในพระพูทธคุณ ท่านก็ได้แจกสมนาคุณประชาชนที่มาร่วมบริจาคทรัพย์สร้างพระอุโบสถทองคำ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ผู้เขียนก็ได้รับแจกพระยอดขุนพลพิมพ์จิ๋ว(คะแนน)จากท่านที่วัด ผู้เขียนอยากได้พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อท่านบอกว่าหมดแล้ว
          พระยอดขุนพลของหลวงพ่อขันธ์ เป็นรูปพระพุทธประทับนั่งบนฐานอาสนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย ปางมารวิชัยยกเว้นพิมพ์พุทธกวัก พระพักตร์เป็นศิลปะแบบอินเดียด้านหลังเรียบ เป็นพระเครื่องที่มีศิลปะสวยงามมากพิมพ์หนึ่งและเป็นพระที่มีพุทธคุณสูงมาก  ดังนั้นจึงเป็นพระที่มีประสบการณ์สูง ไม่ว่าจะด้านอุบัติเหตุรถยนต์ หรือป้องกันอาวุธปืนหรือมีด นอกจากนี้ด้านเมตตามหานิยม โชคลาภและทางค้าขายก็ดีเป็นเลิศ  จึงเป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในขณะนั้น(ประมาณปี พ.ศ.2508-2515) เป็นพระเครื่องที่ชาวจังหวัดนครปฐมกล่าวขานถึงมากที่สุดมากกว่าพระเครื่องของหลวงพ่่อน้อย วัดธรรมศาลาและหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมในขณะนั้น ส่วนราคาพระยอดขุนพลในขณะนั้นราคาองค์ละ 200 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงมากในขณะนั้น(เหรียญหล่อรุ่นแรกของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ราคาประมาณ 600-700 บาท เหรียญหล่อคอน้ำเต้ารุ่นแรกหลวงพ่อน้อยราคาประมาณ 80-100 บาท)
          จากประสบการณ์ของผู้เขียนสมัยที่ยังเป็นเด็กวัยรุ่นอายุประมาณ15-16 ปี ได้เห็นช่างซ่อมรองเท้าชื่อเล่นว่า มัน ช่างมันเมื่อเลิกงานตอนเย็นมักจะดื่มสุราเป็นประจำ เมื่อเกิดความมึนเมาก็จะเอามือกำพระยอดขุนพลของหลวงพ่อขันธ์และใช้มีดกรีดยางเฉือนลงไปที่แขนข้างที่มือกำพระอย่างแรงหลายครั้ง แต่ก็เฉือนไม่เข้า(แผงร้านช่างมันตั้งอยู่หน้าร้านประชามิตร ตลาดล่าง จังหวัดนครปฐม)
          พระยอดขุนพลที่ผู้เขียนนำมาลงในบทความนี้ มีหลายแบบพิมพ์






พระยอดขุนพล วัดพระศรีอารย์ พิมพ์ใหญ่




พระยอดขุนพล วัดพระศรีอารย์ พิมพ์กลาง 







พระยอดขุนพล วัดพระศรีอารย์ พิมพ์พุทธกวัก 




พระยอดขุนพล วัดพระศรีอารย์ พิมพ์พุทธกวักห้าเหลี่ยม 



พระยอดขุนพล วัดพระศรีอารย์ พิมพ์สมเด็จ 



พระยอดขุนพล วัดพระศรีอารย์ พิมพ์เล็ก 




พระยอดขุนพล วัดพระศรีอารย์ พิมพ์จิ๋ว(คะแนน)



          พระยอดขุนพลของหลวงพ่อขันธ์ จัดได้ว่าเป็นพระที่มีการสร้างใกล้เคียงกับพระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ รุ่นแรก (ปีพ.ศ.2497)  ฉนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่มีนักสะสมพระบางท่าน กล่าวว่า "จะใช้พระยอดขุนพลแทนพระหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ รุ่นแรก (ปี 2497)ก็ได้ เพราะมีพุทธคุณไม่แพ้กัน"


         ลำดับเจ้าอาวาสวัดพระศรีอารย์
         1. พระอธิการแถว
         2. พระอธิการบุญ
         3. พระอธิการอินทร์ ธฺมมโชติ ตั้งแต่ พ.ศ.2475-2490
         4. พระครูสิริพัฒนกิจ(ขันธ์ กนฺตธโร) พ.ศ.2493-2534
         5. พระครูสง่า ฐานิสฺสโร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน








                                                                                      สุพล คีรีวิเชียร
                                                                                      081-0434114