พระอุโบสถหลังใหม่ วัดบางแขม ด้านหน้า
พระอุโบสถหลังใหม่ วัดบางแขม ด้านข้าง
ลำดับเจ้าอาวาสวัดบางแขม
๑.หลวงพ่อแก้ว
๒.พระครูอุตตรการบดี(ยิ้ว จนฺทสฺโร)
๓.พระครูสมุห์เที่ยง มหาปญฺโญ
๔. พระครูพิพัฒน์สุตกิจ(พระมหาประดับ ฐิตเมโธ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
หลวงพ่อยิ้วเมื่อบวชแล้ว ได้จำพรรษาที่วัดห้วยจรเข้ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐานและคันธถุระ ตลอดจนวิชาอาคมจากหลวงพ่อสุขหรือพระครูอุตตรการบดี(สุข) จนมีความเชียวชาญในวิปัสสนากรรมฐานและวิชาอาคม นอกจากนี้ท่านยังได้ไปศึกษาวิชาอาคมจากหลวงปู่ดีวัดบ้านยาง ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านอีกด้วย เมื่อหลวงพ่อแก้วมรณภาพลงดังได้กล่าวมาแล้ว ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้ท่านรักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาส และต่อมาก็แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางแขม ระหว่างที่ท่านปกครองวัดบางแขม ท่านได้จัดระเบียบการปกครองพระสงฆ์ภายในวัดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย นอกจากนี้ท่านยังได้บูรณปฏิสังขรณ์ เช่น สร้างหอฉัน สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโรงเรียนประชาบาล สร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก สร้างกุฎิสงฆ์ สร้างสะพานคอนกรีต
ด้วยคุณงามความดีของหลวงพ่อยิ้ว ทางคณะสงฆ์ จึงได้เสนอเลื่่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูอุตตรบดี ในปี พ .ศ.๒๔๙๔ พระครูอุตตรการบดี(ยิ้ว จนฺทสฺโร) มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๕ รวมอายุได้ ๖๙ ปี พรรษา ๔๘
พระอุโบสถหลังเก่า สร้างในสมัยหลวงพ่อยิ้ว พ.ศ.๒๔๙๑
( ด้านหน้า )
พระอุโบสถหลังเก่า สร้างในสมัยหลวงพ่อยิ้ว พ.ศ.๒๔๙๑
( ด้านข้าง )
ก่อนที่หลวงพ่อยิ้ว จะมาจำพรรษาที่วัดบางแขม พระอุโบสถหลังเดิมมีสภาพทรุดโทรมมาก และพระประธานในโบสถ์เป็นพระพุทธรูปหินทรายและมีสภาพชำรุดเช่นกัน ความเก่าและความชำรุดทรุดโทรมมากของพระอุโบสถ เกรงว่าอาดจะเกิดอุบัติเหตุแก่พระสงฆ์ในระหว่างปฎิบัติกิจทางสงฆ์ หลวงพ่อยิ้วและคณะกรรมการวัด จึงเห็นสมควรสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พร้อมกับเท่หล่อพระประธานองค์ใหม่
เมื่อหลวงพ่อยิ้วและคณะกรรมการวัดบางแขมตกลงจะสร้างพระเครื่อง เพื่อสมนาคุณแก่ประชาชนที่บริจาคทรัพย์สร้างพระอุโบสถและพระประธานองค์ใหม่ จีงได้นำความไปปรึกษาพระครูวิเชียร จนฺสิริ แห่งสำนักวัดสุทัศน์ฯ ขณะนั้นท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมคุต ท่านเห็นดีด้วยและแนะนำให้สร้างพระกริ่งและพระยอดธง ส่วนพระชัยวัฒน์ไม่ต้องสร้างท่านมีอยู่แล้ว และยินดีจะถวายให้วัดบางแขม(รายละเอียดเกี่ยวกับพระชัยวัฒน์ของพระครูวิเชียร ขอให้ท่านผู้อ่าน ไปอ่านบทความประจำเดือนเมษายน ๒๕๕๔ เรื่องพระชัยวัฒน์พระครูวิเชียร วัดสุทัศน์) ท่านพระครูวิเชียรรับอาสาเป็นเจ้าพิธีและเป็นแม่งานในการผสมเนื้อโลหะ ตลอดจนการลงพระยันต์ ๑๐๘ และนะปถมัง ๑๔ นะ ตามสูตรการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์
พระชัยวัฒน์ พระครูวิเชียร วัดสุทัศน์ฯ เทหล่อที่วัดสุทัศน์ฯ ปี พ.ศ. ๒๔๘๓
( ฉลองพระชนมายุ ๗ รอบ สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว มหาเถร )
พระชัยวัฒน์ พระครูวิเชียร วัดสุทัศน์ฯ เทหล่อที่วัดสุทัศน์ฯ ปี พ.ศ. ๒๔๘๓
( ฉลองพระชนมายุ ๗ รอบ สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว มหาเถร )
พระชัยวัฒน์ พระครูวิเชียร วัดสุทัศน์ฯ เทหล่อที่วัดสุทัศน์ฯ ปี พ.ศ. ๒๔๘๓
( ฉลองพระชนมายุ ๗ รอบ สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว มหาเถร )
เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสุทัศน์ฯ โดยมีสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทว)เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ก็อุปสมบทที่วัดสุทัศน์ฯโดยมีสมเด็จพระสังฆราช(แพ (ติสฺสเทว) เป็นพระอูปัชฌาย์ และท่านเป็นศิษย์และเป็นพระถานานุกรมของเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) และได้อยู่รับใช้อย่างใกล้ชิด ตลอดจนได้เรียนรู้การสร้างพระกริ่งและได้ร่วมงานในพิธีการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ นอกจากนี้ท่านเจ้าคุณวิเชียรท่านยังมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับเจ้าคุณศรีสนธิ์ ซึ่งเป็นศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ พระครูวิเชียรท่านจึงได้เรียนรู้การลงพระยันต์ ๑๐๘ และนะปถมัง ๑๔ นะตลอดจนการผสมเนื้อนวโลหะจากเจ้าคุณสนธิ์ จึงถือได้ว่าท่านเป็นศิษย์สายวัดสุทัศน์ฯโดยตรง
เมื่อท่านเจ้าคุณวิเชียร หลวงพ่อยิ้ว และคณะกรรมการของวัดบางแขมตกลงที่จะสร้างพระกริ่ง-พระยอดธงแล้ว พระกริ่งที่สร้างจึงเป็นพระกริ่งในตัวตามแบบสายวัดสุทัศน์ฯ ส่วนแบบพิมพ์ของพระกริ่งได้ถอดพิมพ์มาจากพระกริ่งเขมรอุ้มบาตรเนื้อเงิน(น่าจะเป็นพระกรุ)ของหลวงพ่อยิ้ว ส่วนพระยอดธงก็ได้ถอดพิมพ์มาจากพระกรุเหมือนกัน
พระกริ่งอุ้มบาตร หลวงพ่อยิ้ว เท่หล่อปีพ.ศ. ๒๔๙๒
พระยอดธง หลวงพ่อยิ้วเท่หล่อ ปีพ.ศ. ๒๔๙๒
๑.พระครูอุตตรการคดี(สุข) วัดห้วยจรเข้
๒.หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม
๓.หลวงพ่อยิ้ว วัดบางแขม
๔.พระครูวิเชียร จนฺสิริ
โลหะที่นำมาผสมเทหล่อพระกริ่งอุ้มบาตร-พระยอดธงของวัดบางแขมปี พ.ศ.๒๔๙๒ประกอบด้วย
๑.ทองชนวนที่เหลือจากเทหล่อพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ พระครูวิเชียร ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ทองชนวนส่วนตัวของพระครูวิเชียรพระร่วมพิธี (พิธีฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบของสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทว)
๒.พระยันต์ ๑๐๘ และ นะปถมัง ๑๔ นะพระครูวิเชียรลงเอง
๓.แผ่นพระยันต์ของพระคณาจารย์ต่างๆ ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก
จำนวนการสร้างของพระกริ่งอุ้มบาตรและพระยอดธง
พระกริ่งอุ้มบาตรสร้าง จำนวนประมาณ ๕,๐๐๐ องค์ค่านิยมองค์สวยแชมป์ประมาณ ๑๕,๐๐๐บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาท) ราคาทั่วไป ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
พระยอดธงสร้างจำนวนประมาณ ๕๐๐ องค์ (พระที่เทหล่อออกมาเสียหายเป็นจำนวนมาก)
เนื้อพระกริ่งอุ้มบาตรและพระยอดธง ออกกระแสเหลือง และคุณวิเศษของพระกริ่งและพระยอดธงเป็นเลิศทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด โดยเฉพาะเรื่องปืนและมีดชาวบางแขมยืนยันและประสบด้วยตนเอง ก่อนจะจบบทความนี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึงพระยอดธงของพระครูสมุห์เที่ยงซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงหลวงพ่อยิ้ว หลวงพ่อเที่ยงท่านได้สร้างพระยอดธง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับของหลวงยิ้ว ปี พ.ศ.๒๔๙๒ เป็นเหตุให้นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นพระยอดธงของหลวงพ่อยิ้ว
พระยอดธง หลวงพ่อเที่ยง พระยอดธง หลวงพ่อยิ้ว
ปีพ.ศ. ๒๕๑๗ ( ด้านหน้า ) เท่หล่อปีพ.ศ. ๒๔๙๒ ( ด้านหน้า )
พระยอดธง หลวงพ่อเที่ยง พระยอดธง หลวงพ่อยิ้ว
ปีพ.ศ. ๒๕๑๗ ( ด้านหลัง ) เท่หล่อ ปีพ.ศ. ๒๔๙๒ ( ด้านหลัง )
๑.พระยอดธงของหลวงพ่อเที่ยงองค์พระจะอ้วนใหญ่กว่าของหลวงพ่อยิ้วเล็กน้อง
๒.หูพระยอดธงของหลวงพ่อเที่ยงจะยาวและใหญ่กว่าหูพระยอดธงของหลวงพ่อยิ้ว
๓.ด้านหน้าขององค์พระ ผ้าสังฆฏิของพระยอดธงหลวงพ่อเที่ยงจะใหญ่กว่าหลวงพ่อยิ้ว และด้านหลังองค์พระ สังเกตผ้าสังฆฎิพระยอดธงของหลวงพ่อเที่ยง ผ้าสังฆฎิจะมีรอยร่องยาวอยู่ตรงกลางผ้าสังฆฎิ ส่วนของหลวงพ่อยิ้วจะยาวเสมอเรียบร้อย
นายสุพล คีรีวิเชียร
นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร
ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘
ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง
พระพิฆเนศรุ่น “สัมฤทธิคุณ” ปี 2556
ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด
สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น “สัมฤทธิคุณ” รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
รุ่น “สัมฤทธิคุณ” รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้ไม่แน่ใจยังหรือหรือไม่
พระพิฆเนศรุ่น “สัมฤทธิคุณ” ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์)
โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น