หลวงปู่ยิ้ม (จนฺทโชติ) วัดหนองบัว
หลวงปู่ยิ้ม(จนฺทโชติ) ท่านเป็นชาววังด้ง อำเภอเมืิอง จังหวัดกาญจนบุรี เกิดเมื่อปีมะโรง เดือนห้า วันอังคาร ปี พ.ศ.๒๓๘๗ เป็นบุตรนายยิ่ง นางเปี่ยม ชูชันยะ เมื่อยังเป็นวัยรุ่น มีนิสัยกล้า ไม่เกรงกลัวใคร เป็นคนจริง สู้คนเมื่อถูกข่มเหง ด้วยนิสัยและบุคลิกดังกล่าว เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านจึงชอบและรักที่จะศึกษาวิชาอาคมและไสยเวทย์ หลวงปู่ยิ้มท่านได้อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๘ ณ พระอุโบสถวัดทุ่งสมอ อำเภอบ้านทวน จังหวัดกาญจนบุรี(บ้านเกิดโยมมารดาของท่าน) โดยมีพระอธิการรอด เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า"ยิ้ม จนฺทโชติ" ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระอุปัชฌาย์เป็นเวลาสองพรรษา ก็สามารถสวดปาฏิโมกข์ได้ พระอุปัชฌาย์จึงแนะนำให้ไปศึกษาบาลีต่อที่สำนักลิงขบที่ฝั่งธนบุรีกับหลวงปู่พวงซึ่งเป็นสหายกับพระอุปัชฌาย์ของท่าน อยู่นานถึงหนึ่งพรรษา จึงเดินทางกลับวัดทุ่งสมอ นอกจากนี้หลวงปู่ยิ้ม ท่านยังได้ไปศึกษาวิชาอาคมและไสยเวทย์ต่อที่จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งในเวลานั้นมีเกจิอาจารย์เรืองเวทย์หลายท่าน อาทิ
พระปลัดทิม วัดบางนางลี่น้อย เชียวชาญทางด้านทำน้ำมนต์โภคทรัพย์ ใครได้อาบน้ำมนต์ของท่านจะมีโชคลาภร่ำรวย
หลวงปู่พึ่ง อินฺทสโร เจ้าอาวาสวัดปากสมุทร เชียวชาญทางด้านทำธงกันฟ้าผ่าพายุคลื่่ื่นลมในทะเล
หลวงพ่อกลัด วัดบางพรหม อำเภออัมพวา เชี่ยวชาญทางด้านมหาอุด และอยู่ยงคงกระพันชาตรี
หลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ อัมพวา เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณ และทำมีดหมอปราบภูตผีปีศาจและวิชาทำเชือกคาดเอว
เมื่อท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆจากอาจารย์ที่กล่าวมาแล้วจนสำเร็จ ต่อมาได้ข่าวว่าที่วัดหนองบัว ตำบลหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี มีเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก โจษจันว่ามีความเชียวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ พระภิกษุรูปนั้นชื่อ หลวงปู่กลิ่น หลวงปู่กลิ่นท่านเป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญในวิปัสสนากรรมฐานจนสำเร็จจิต สามารถกำบังกายหายตัวได้ แหวกน้ำ ดำดิน หลวงปู่กลิ่นท่านจะบำเพ็ญเพียรภาวนาเจริญวิปัสสนากรรมฐานภายในถ้ำพุพระหรือถ้ำขุนแผน หลวงปู่ยิ้มท่านมีความเลื่อมใสศรัทธานับถือหลวงปู่กลิ่น จึงถวายตัวเป็นศิษย์และจำพรรษาที่วัดหนองบัว และได้ติดตามหลวงปู่กลิ่นเข้าไปในถ้ำพุพระเพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงปู่กลิ่น ได้ศึกษาอยู่ประมาณสองพรรษา ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่กลิ่นท่านมีอายุมาก(ประมาณร้อยกว่าปี) เมื่อหลวงปู่กลิ่นมรณภาพ หลวงปู่ยิ้มจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวรูปที่ ๔ ต่อจากหลวงปู่กลิ่น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๐
หลวงปู่ยิ้มท่านเป็นพระที่มีจิตใจเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว ไม่เกรงกลัวใครดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้นปัจจัยที่โยมบิดามารดาและญาติถวายท่าน ท่านจะนำเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากเกจิอาจารย์หลายท่านดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัว ชื่อเสียงของหลวงปู่ยิ้มก็โด่งดัง โดยเฉพาะพระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ให้ปรากฏอยู่บ่อยครั้ง เครื่องรางของขลังของท่านจึงเป็นที่นิยมต้องการของประชาชนทั่วไปรวมทั้งเจ้านายชั้นสูง พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านจึงเป็นเครื่องมือช่วยเหลือท่านในการพัฒนาบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด อาทิเช่น สร้างกุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ และความมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านวิชาอาคมของหลวงปู่ยิ้ม จึงมีพระภิกษุหลายรูปมาฝากตัวขอเป็นศิษย์เพื่อเรียนวิชากับท่าน เท่าที่ทราบมาได้แก่ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ หลวงปู่ดี วัดเหนือ โดยเฉพาะหลวงปู่เหรียญนับได้ว่าเป็นศิษย์เอกและศิษย์ใกล้ชิดของท่าน เพราะนอกจากจะได้ศึกษาไสยเวทย์กับหลวงปู่ยิ้มแล้ว หลวงปู่ยิ้มยังเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่เหรียญอีกด้วย หลวงปู่เหรียญเมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาที่วัดหนองบัว และได้อยู่ปรณนิบัติรับใช้หลวงปู่ยิ้มอย่างใกล้ชิด จึงเป็นโอกาสดีที่หลวงปู่เหรียญจะได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงปู่ยิ้มจนหมดเปลือกก็ว่าได้
หลวงปู่เหรียญ เดิมชื่อ เหรียญ นามสกุล รัสสุวรรณ บิดาชื่อ โผ มารดาชื่อ แย้ม เกิดเมื่อวันที่่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๙ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด มีพี่น้องร่วมกัน ๗ คน เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดหนองบัว โดยมีหลวงปู่ยิ้ม(จนฺทโชติ) เจ้าอาวาสวัดหนองบัวเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองบัว ระหว่างที่ท่านปรณนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์และศึกษาวิชาอาคมจากหลวงปู่ยิ้มจนหมดไส้หมดพุง หลวงปู่เหรียญท่านเป็นพระนอบน้อมถ่อมตน ไม่ชอบโอ้อวดว่าท่านมีดีอย่างไร ท่านจะให้เกียรติและยกย่องพระอุปัชฌาย์และศิษย์รุ่นพี่ร่วมสำนักอยู่เสมอ ทั้งๆที่ท่านสามารถทำเครื่องรางหรือวัตถุมงคลได้ขลังไม่แพ้พระอุปัชฌาย์และศิษย์ผู้พี่ของท่านก็ตาม หลวงปู่เหรียญ มรณภาพปี พ.ศ.๒๕๐๓
เมื่อหลวงปู่ยิ้มมรณภาพลง ปีพ.ศ.๒๔๕๓ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองบัว ก็ได้ตกอยู่กับหลวงปู่เหรียญ หลวงปู่เหรียญในฐานะเจ้าอาวาสวัดหนองบัวจึงมีหน้าที่จะต้องบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดหนองบัว การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นช่องทางเดียวที่จะหาปัจจัยเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เหมือนดังเช่นพระอุปัชฌาย์เคยปฏิบัติมา
ในสมัยที่หลวงปู่เหรียญยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้สร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลมากมายหลายชนิด อาทิ ตะกรุดลูกอม ลูกอมผง แหวนพิรอด พระปิดตา และพระเครื่องอีกหลายรูปแบบ ล้วนมีประสบการณ์ เป็นที่ต้องการของประชาชนชาวจังหวัดกาญจนบุรี
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ ที่สร้างโดยหลวงปู่เหรียญในปี พ.ศ.๒๔๙๗ซึ่งเป็นเหรียญคุณพระที่หลวงปู่เหรียญได้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรก และครั้งเดียวในชีวิตของท่าน จำนวนการสร้างผู้เขียนสันนิฐานว่าประมาณห้าพันกว่าเหรียญ เหรียญรุ่นแรกนี้ได้นำออกแจกในงานฉลองอายุครบ ๗๘ ปี และเป็นงานฉลองพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗(พระอุโบสถหลังใหม่นี้หลวงปู่เหรียญใช้เวลาสร้างหลายปี) เหรียญรุ่นแรกนี้เป็นเหรียญรูปเสมาปั้มเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ยิ้มครึ่งองค์ ด้านบนมีข้อความว่า"พระอุปัชฌาย์ยิ้ม จนฺทโชติ" ด้านข้างมีข้อความว่า"วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี" ส่วนด้านหลังของเหรียญเป็นรูปหลวงปู่เหรียญครึ่งองค์ ด้านข้างมีข้อความว่า "พระโสภนสมาจารย์ หลวงพ่อเหรียญ" เหรียญรุ่นแรกนี้มีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม โชคลาภและดีทางค้าขาย จึงเป็นเหรียญๆหนึ่ง ที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีหวงแหนมากและจัดว่าเป็นเหรียญดังอันดับหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ค่านิยมอยู่ประมาณสี่หมื่นบาท อนาคตมีสิทธิ์เล่นหาถึงหลักแสน
หลวงปู่เหรียญ (สุวรรณโชติ) วัดหนองบัว
หลวงปู่เหรียญ เดิมชื่อ เหรียญ นามสกุล รัสสุวรรณ บิดาชื่อ โผ มารดาชื่อ แย้ม เกิดเมื่อวันที่่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๙ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด มีพี่น้องร่วมกัน ๗ คน เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดหนองบัว โดยมีหลวงปู่ยิ้ม(จนฺทโชติ) เจ้าอาวาสวัดหนองบัวเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองบัว ระหว่างที่ท่านปรณนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์และศึกษาวิชาอาคมจากหลวงปู่ยิ้มจนหมดไส้หมดพุง หลวงปู่เหรียญท่านเป็นพระนอบน้อมถ่อมตน ไม่ชอบโอ้อวดว่าท่านมีดีอย่างไร ท่านจะให้เกียรติและยกย่องพระอุปัชฌาย์และศิษย์รุ่นพี่ร่วมสำนักอยู่เสมอ ทั้งๆที่ท่านสามารถทำเครื่องรางหรือวัตถุมงคลได้ขลังไม่แพ้พระอุปัชฌาย์และศิษย์ผู้พี่ของท่านก็ตาม หลวงปู่เหรียญ มรณภาพปี พ.ศ.๒๕๐๓
เมื่อหลวงปู่ยิ้มมรณภาพลง ปีพ.ศ.๒๔๕๓ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองบัว ก็ได้ตกอยู่กับหลวงปู่เหรียญ หลวงปู่เหรียญในฐานะเจ้าอาวาสวัดหนองบัวจึงมีหน้าที่จะต้องบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดหนองบัว การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นช่องทางเดียวที่จะหาปัจจัยเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เหมือนดังเช่นพระอุปัชฌาย์เคยปฏิบัติมา
ในสมัยที่หลวงปู่เหรียญยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้สร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลมากมายหลายชนิด อาทิ ตะกรุดลูกอม ลูกอมผง แหวนพิรอด พระปิดตา และพระเครื่องอีกหลายรูปแบบ ล้วนมีประสบการณ์ เป็นที่ต้องการของประชาชนชาวจังหวัดกาญจนบุรี
เหรียญหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว รุ่นแรก ปีพ.ศ.๒๔๙๗
เหรียญหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว รุ่นแรก ปี พ.ศ ๒๔๙๗
เหรียญหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว รุ่นแรก ปี พ.ศ ๒๔๙๗
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ ที่สร้างโดยหลวงปู่เหรียญในปี พ.ศ.๒๔๙๗ซึ่งเป็นเหรียญคุณพระที่หลวงปู่เหรียญได้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรก และครั้งเดียวในชีวิตของท่าน จำนวนการสร้างผู้เขียนสันนิฐานว่าประมาณห้าพันกว่าเหรียญ เหรียญรุ่นแรกนี้ได้นำออกแจกในงานฉลองอายุครบ ๗๘ ปี และเป็นงานฉลองพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗(พระอุโบสถหลังใหม่นี้หลวงปู่เหรียญใช้เวลาสร้างหลายปี) เหรียญรุ่นแรกนี้เป็นเหรียญรูปเสมาปั้มเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ยิ้มครึ่งองค์ ด้านบนมีข้อความว่า"พระอุปัชฌาย์ยิ้ม จนฺทโชติ" ด้านข้างมีข้อความว่า"วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี" ส่วนด้านหลังของเหรียญเป็นรูปหลวงปู่เหรียญครึ่งองค์ ด้านข้างมีข้อความว่า "พระโสภนสมาจารย์ หลวงพ่อเหรียญ" เหรียญรุ่นแรกนี้มีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม โชคลาภและดีทางค้าขาย จึงเป็นเหรียญๆหนึ่ง ที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีหวงแหนมากและจัดว่าเป็นเหรียญดังอันดับหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ค่านิยมอยู่ประมาณสี่หมื่นบาท อนาคตมีสิทธิ์เล่นหาถึงหลักแสน
สุพล คีรีวิเชียร
081-0434114
ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘
ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม
นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร
ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง
พระพิฆเนศรุ่น “สัมฤทธิคุณ” ปี 2556
ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด
สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น “สัมฤทธิคุณ” รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
รุ่น “สัมฤทธิคุณ” รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
พระพิฆเนศรุ่น “สัมฤทธิคุณ” ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์)
โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142
พระโพธิสัตว์กวนอิม มูลนิธิร่วมมิตรสุโขทัย (โรงเจ)
เนื้อทองคำ 99% หนักประมาณ 1 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น