วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

พระกริ่งสวนเต่า รัชกาลที่ 5 จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง



         พระกริ่งสวนเต่า รัชกาลที่ ๕ ซึ้งเป็นหนึ่งในพระกริ่งเบญจภาคีนี้ ผู้เขียนยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ลึกลับซับซ้อน มีประวัติมืดมนมากดั่งคำบอกกล่าวของคุณเป๋งย้ง (คุณปรีชา ศรีวิญญนนท์) ที่เคยให้สัมภาษณ์แด่ ม.ร.ว.อภิเดช อาภากร ในหนังสือพระเครื่องท่าพระจันทร์และผู้เขียนเองก็เคยเรียนถามเรื่องนี้จาก อ.หนู (คุณนิรันตร์ แดงวิจิตร) ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ อ.หนูยอมรับว่าไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพระกริ่งสวนเต่า รัชกาลที่ ๕ เพราะไม่เคยเห็นพระ ส่วนพระที่เคยเห็นก็ไม่แน่ใจว่าจะใช่ ทราบแต่เพียงว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ได้เคยลงพระยันต์ ๑๐๘ กับนะปถมัง ๑๔ นะ หล่อพระชัยฉลองพระเดชพระคุณในหลวงรัชกาลที่ ๕ แต่ก็ยังโชคดีที่คุณวิรุฬห์ คงทอง นักอนุรักษ์พระเครื่องอาวุโสได้ยอมเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพระกริ่งสวนเต่า รัชกาลที่ ๕ ที่ท่านรู้มา แม้ข้อมูลนี้จะไม่สมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน และเป็นพื้นฐานข้อมูลในการศึกษา ค้นคว้าต่อไป 
         อันที่จริงพระกริ่ง ก็คือ พระปฏิมาพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้านั่นเอง พระพุทธเจ้าองค์นี้เป็นที่นิยมนับถือของปวงพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานยิ่งนัก เป็นพระพุทธเจ้าที่มีบุญบารมีและคุณวิเศษสูงสุด ปรากฏพระประวัติในพระสูตรหนึ่ง คือ "พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูลประณิธานสูตร" แปลเป็นจีนในราวพุทธศตวรรษที่๑๐ ซึ่งขอแปลโดยย่อสู่กันฟัง ดังนี้ 


           สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า พระศากยมุนี พุทธะ เสด็จประทับ ณ กรุงเวสาลีสุขโฆสวิหาร พร้อมด้วยพระมหาสาวก ๘,๐๐๐ องค์ พระโพธิสัตว์ ๓๖,๐๐๐ องค์ และพระราชาธิบดี เสนาอำมาตย์ตลอดจนปวงเทพ ก็โดยสมัยนั้นแล พระมัญชุศรีผู้ธรรมราชาบุตร อาศัยพระพุทธาภินิหารลุกขึ้นจากที่ประทับทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่งลงคุกพระชาณุกับแผ่นดิน ณ เบื้องพระพักตร์ ของสมเด็จพระโลกนาถเจ้า ประคองอัญชุลีกราบทูลขึ้นว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดประทานพระธรรมเทศนา พระพุทธนามและมหามูลปณิธาน และคุณวิเศษอันโอฬารแห่งปวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อยังผู้สดับพระธรรมกถานี้ให้ได้รับหิตประโยชน์บรรลุถึงสุขภูมิ" พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาของพระมัญชุศรี โพธิสัตว์แล้ว จึงทรงแสดงพระเกียรติคุณของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าว่า


           "ดูก่อนกุลบุตร จากที่นี้ไปทางทิศตะวันออกผ่านโลกธาตุ อันมีจำนวนดุจเม็ดทรายในคงคานที ๑๐ นทีรวมกัน ณ ที่นั้นมีโลกธาตุหนึ่งนามว่า วิสุทธไพฑูรย์โลกธาตุ ณ โลกธาตุนั้นมีพระพุทธเจ้าซึ่งทรงพระนามว่าไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาตถาคต พระองค์ถึงพร้อมด้วยพระภาคเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้ดี ตรัสรู้ชอบแล้วด้วยพระองค์เอง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชาและจรณะเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้ยอดเยี่ยมไม่มีใครเปรียบ เป็นนามสารถีฝึกบุรุษ เป็นศาสดาแห่งเทวดาแห่งมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมกล่าวสอนสัตว์ ดูก่อนมัญชุศรี ณ เบื้องอดีตภาคเมื่อพระตถาคตเจ้าพระองค์นี้ยังเสวยพระชาติ เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงตั้งปณิธาน ๑๒ ประการ เพื่อยังทรงต้องการแห่งสรรพสัตว์ให้บรรลุก็มหาปณิธาน ๑๒ ประการเป็นไฉน


            ๑. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งมีวรกายอันรุ่งเรืองส่องสาดทั่วอนันตโลกธาตุ บริบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ขอให้สรรพสัตว์จงมีวรกายดุจเดียวกับเรา 
            ๒. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ขอให้วรกายของเรามีสีสรรดุจไพฑูรย์ มีรัศมีรุ่งโรจน์โชตนาการยิ่งกว่าแสงจันทร์และแสงอาทิตย์ ประดับด้วยคุณาลังการอันมโหฬาร ไพศาลพันลึก ส่องทางให้แก่สัตว์ที่ตกอยู่ในอบายคติ ให้หลุดพ้นเข้าสู่คติที่ชอบตามปรารถนา 
            ๓.  ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ขอให้เราได้ใช้ปัญญา โกศลอันล้ำลึกสุขุมไม่มีสิ้นสุดยังสรรพสัตว์ให้ได้รับโภคสมบัตินานาประการ อย่าได้มีความยากจนใดๆ
           ๔. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ  หากมีสัตว์ใดที่่่เป็นมิจฉาทิฐิก็ขอให้เรายังเขาให้ตั้งมั่นในสัมมาทิฐิในโพธิมรรค หากมีสัตว์ใดดำเนินปฏิปทาแบบสาวกยานปัจเจกยาน ก็ขอให้เราสามารถยังเขามาดำเนินปฏิปทาแบบมหายาน 
           ๕.  ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ หากมีสรรพสัตว์ใดมาประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยของเรา ก็ขอให้เขาเหล่านั้นอย่าได้มีศีลวิบัติเลยจงบริบูรณ์ด้วยองค์แห่งศีลทั้ง ๓ เถิด หากมีผู้ใดศีลวิบัติ เมื่อได้สดับนามแห่งเราขอให้จงบริบูรณ์ดุจเดิมไม่ตกสู่ทุคตินิรยาบาย
         ๖. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ หากมีสรรพสัตว์มีกายอันเลวทรามมีอินทรีย์อันไม่ผ่องใส  โง่เขลาเบาปัญญา  ตาบอดหรือหูหนวก  เป็นใบ้หรือหลังค่อม  สารพัดพยาธิทุุุกข์ต่าง ๆ เมื่อได้สดับนามแห่งเราก็ขอให้หลุดพ้นจากปวงทุกข์เหล่านั้น  มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีอินทรีย์ผ่องใสสมบูรณ์
         ๗.  ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ หากมีสรรพสัตว์  อันความทุกข์เบียดเบียนปราศจากที่พึ่งพิงและที่อยู่อาศัย  ปราศจากแพทย์และยา  ปราศจากวงศาคณาญาติ  อันความยากจนข้นแค้นมีทุกข์มาเบียดเบียนแล้ว  เพียงแต่นามแห่งเราผ่านโสตของเขาเท่านั้น ขอสรรพความเจ็บป่วยจงปราศไปสิ้น  เป็นผู้มีกายใจอันผาสุข  มีบ้านเรือนอาศัยพรั่งพร้อมด้วยธนสารสมบัติ  จนที่สุดก็จักได้สำเร็จแก่โพธิญาณ
         ๘.  ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ  หากมีอิสตรีใดมีความเบื่อหน่ายต่อเพศแห่งตน ปรารถนาจะกลับเพศเป็นบุรุษไซร้ มาตรว่าได้สดับนามแห่งเราก็จงสามารถเปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชายตามปรารถนา จนที่สุดก็จักได้สำเร็จแก่โพธิญาณ
         ๙.  ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เราจงสามารถยังสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นจากข่ายแห่งมารและเครื่องผูกพันของเหล่ามิจฉาทิฐิ ให้สัตว์เหล่านั้นตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ และให้ได้บำเพ็ญโพธิสัตว์จริยาจนบรรลุพระโพธิญาณในที่สุด
       ๑๐. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีสัตว์เหล่าใดถูกต้องอาญาต้องคุมขังรับทัณฑกรรมในคุกตะราง หรือต้องอาญาถึงประหารชีวิต ตลอดจนได้รับการข่มเหงคะเนงร้ายดูหมิ่นดูแคลนเหยียดหยามอื่นๆ เป็นผู้มีอันคับแค้นเผาลนแล้ว มีใจกายอันวิปฏิสารอยู่หากได้สดับนามแห่งเรา ได้อาศัยบารมี และคุณาภินิหารย์ของเรา ขอสัตว์เหล่านั้นจงหลุดพ้นจากปวงทุกข์ดังกล่าว
        ๑๑. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีสัตว์เหล่าใดมีความทุกข์ด้วยหิวกระหายแล้วประกอบอกุศลกรรม เพราะเหตุแห่งอาหารไซร้ หากได้สดับนามแห่งเรามีจิตหมั่นตรึกนึกภาวนาเป็นนิตย์   เราจักประทานเครื่องอุปโภค บริโภคอันปราณีตแก่เขา ยังเขาให้อิ่มหนำสำราญ แล้วจักประทานธรรมรสแก่เขา ให้เขาได้รับความสุข
        ๑๒. ในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ  มีสัตว์เหล่าใดที่ยากจนปราศจากอาภรณ์นุ่งห่ม  อันความหนาวร้อนและเหลือบยุงเบียดเบียน  ทั้งกลางวันกลางคืน หากได้สดับนามแห่งเราและหมั่นรำลึกถึงเราไซร้  เราจักได้สิ่งที่ปรารถนาแลัจักบริบูรณืด้วยธนสารสมบัติสรรพอาภรณืเคื่องประดับและเครื่องบำรุงความสุขต่างๆ ฯลฯ
          
          ครั้นแล้วพระบรมศาสดาศากยมุนีพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า  พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้านี้มีพระโพธิสัตว์ผู้ใหญ่ ๒ องค์  คือพระสุริยไวโรจนะ และพระจันทรไวโรจนะเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ช่วยของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า เบื้องปลายแห่งพระสูตรนั้นทรงแสดงอานิสงส์ของกสนบูชาพระไภษัชยคุรุว่า "ผู้ใดก็ดี ได้บูชาพระองค์ด้วยความเคารพเลื่อมใสแล้วก็จักเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปราศจากภัยบีฑา ไม่ฝันร้าย ศัสตราวุธทำอันตรายมิได้ สัตว์ร้ายทำอันตรายมิได้ โจรภัยทำอันตรายมิได้ ยาพิษทำอันตรายมิได้ ฯลฯ" นอกจากนี้ทรงแสดงถึงพิธีจัดมณฑลบูชาพระไภษัชยคุรุอีกด้วยว่า ต้องจัดพิธีมีเครื่องบูชาอย่างนั้นๆ  และทรงประทานพระคาถาบูชาพระไภษัชยคุรุด้วย ในเวลาตรัสพระคาถานี้ พระบรมศาสดาทรงประทับเข้าสมาธิชื่อ "สรวสัตวทุกขภินทนาสมาธิ" ปรากฏรัศมีไพโรจน์ขึ้นเหนือพระเกตุมาลา แล้วจึงตรัสพระคาถามหาหธารณี ดังนี้ 


      "นโม  ภควเต ไภษชฺยคุรุ  ไวฑูรยประภาราชาย   ตถาคตยารฺทเต  สมฺยกฺสมฺพุทฺธาย โอมฺไภเษชฺเย ไภเษชฺย  สมุรฺคเตสฺวาหฺ"


        ความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของพระพุทธรูปไภษัชยคุรุปรากฏตามที่ได้พรรณนามา  พวกพุทธศาสนิกชนฝ่ายลัทธิมหายานจึงเคารพนับถือเป็นยิ่งนัก พระกริ่งจึงเป็นพระพุทธปฏิมาของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้านั่นเอง ภายในบรรจุเม็ดกริ่งไว้ เวลาเขย่าเกิดเสียงดัง
        การสร้างพระกริ่งนี้มีมาแต่โบราณกาล เริ่มขึ้นที่ประเทศธิเบต ต่อมาประเทสจีน และเขมร สำหรับประเทศไทยสันนิษฐานว่าเริ่มมีการนำพระกริ่งจีนและเขมร เข้ามาสู่อาณาจักรสุโขทัย พระกริ่งธิเบต จีน นำเข้ามาทางเรือ ส่วนพระกริ่งเขมรนำเข้ามาทางบก
        การสร้างพระกริ่งในประเทศไทยนั้น เริ่มปรากฏหลักฐานแน่ชัด คือการสถาปนาพระกริ่งปวเรศของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศฯ ทรงสถาปนาขึ้นครั้งแรก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร






พระกริ่งสวนเต่ารัชกาลที่ 5 จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง หนึ่งในพระกริ่งเบญจภาคี
(พระกริ่งสวนเต่าองค์นี้ คุณวิรุฬห์ คงทอง หวงแหนมากที่สุด)




       บทความนี้จะกล่าวถึงพระกริ่งสวนเต่า รัชกาลที่ 5 เป็นพระกริ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดให้สถาปนาขึ้นหลังจากเสด็จกลับจากประพาสยุโรปเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๕๑ ในการสถาปนาพระกริ่งครั้งนี้ เพื่อพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารใกล้ชิด เพื่อให้นำไปใช้เป็นพระพิธี  ในการจัดพระราชพิธีเทหล่อพระกริ่งสวนเต่า ได้จัดพระราชพิธี ณ บริเวณสวนเต่า ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)
        ในพระราชพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงโปรดให้อาราธนาพระเถระผู้เชี่ยวชาญทางวิปัสนากรรมฐาน และคาถาอาคมเข้าร่วมพิธี และลงอักขระแผ่นทองเข้าหล่อหลอมในการเทพระกริ่ง
         จากคำบอกเล่าของคุณวิรุฬห์ คงทองนักอนุรักษ์พระเครื่องยุคสมัยเดียวกับอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดา ได้กรุณาเล่าให้ผู้เขียนฟังเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๗ว่า เกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ได้แก่
          ๑. หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
          ๒. หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
          ๓. ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม
          ๔. หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว
          ๕. สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถระ) วัดสุทัศน์ฯ ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมโกษาจารย์



สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถระ)
วัดสุทัศน์ฯ


พระธรรมโกษาจารย์ (แพ ติสฺสเทวมหาเถระ)
วัดสุทัศน์ฯ


คุณนิรันตร์  แดงวิจิตร
(อาจารย์หนู)


อาจารย์วิรุฬห์  คงทอง
ผู้ให้ข้อมูลพระกริ่งสวนเต่า รัชกาบที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗



          การสถาปนาพระกริ่งครั้งนี้ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงอาราธนาพระธรรมโกษาจารย์(แพ  ติสฺสเทวมหาเถระ)เป็นผู้ลงพระยันต์ ๑๐๘ กับ นะปถมัง ๑๔ นะ และเนื้อพระกริ่งครั้งนี้ให้เทหล่อเป็นเนื้อนวโลหะตามสูตรตำราของท่าน พระธรรมโกษาจารย์(แพ ติสฺสเทวมหาเถระ)ซึ่งแต่เดิมทรงโปรดให้เทหล่อพระชัยวัฒน์เป็นเนื้อทองคำ(จากหนังสือ พระกริ่ง ๕ วาระของคุณนิรันตร์ แดงวิจิตร หน้า ๕๒ ย่อหน้าสุดท้ายซึ่งได้บันทึกข้อความลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่ตอนท้ายพระยันต์ ๑๐๘ กับ นะปถมัง ๑๔ นะ ว่า "พระยันต์ ๑๐๘ กับ นะปถมัง ๑๔ นี้ได้ลงและหล่อพระชัยฉลองพระเดชพระคุณในรัชกาลที่ ๕ เป็นคุณวิเศษนัก ๒ ครั้ง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดารรามครั้ง ๑ กับที่วัดนิเวศธรรมประวัติครั้ง ๑ " ต่อมาในการเทหล่อพระกริ่งของท่านพระธรรมโกษาจารย์ แพ ติสฺสเทวมหาเถระ การลงพระยันต้ ๑๐๘  กับนะปถมัง ๑๔ นะ ท่านจะให้ศิษย์ผู้อื่นเป็นผู้ลงพระยันต์ ๑๐๘ กับ นะปถมัง ๑๔ นะ แทน)
         โลหะที่ใช้ในการเทหล่อพระกริ่งสวนเต่า ขั้นแรกต้องการโลหะ ๙ อย่าง ที่เรียกว่า "นวโลหะ" นวโลหะนี้คือ 
               ๑.  ชิน                                       ๑  บาท
               ๒.  จ้าวน้ำเงิน                            ๒  บาท
               ๓.   เหล็กละลายตัว                    ๓  บาท 
               ๔.  บริสุทธิ์                                 ๔  บาท
               ๕.  ปรอท                                   ๕  บาท
               ๖.  สังกะสี                                  ๖  บาท
               ๗. ทองแดง                               ๗  บาท 
               ๘.  เงิน                                      ๘  บาท
               ๙. ทองคำ                                  ๙  บาท
          มารวมกันใส่เบ้าหลอมให้กินกันดี แล้วแผ่ให้แบนเตรียมไว้เพื่อลงพระยันต์ ๑๐๘ กับ นะปถมัง ๑๔ นะ ครั้นได้ฤกษ์งามยามดี แล้วก็ทำพิธีพระยันต์ในพระอุโบสถต่อไป
          พระกริ่งสวนเต่า ที่ผู้เขียนได้ลงรูปให้ดูในบทความนี้มีประวัติชัดแน่นอน เดิมเป็นพระของคุณหลวงสะอาด ต่อมาได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของคุณวิรุฬห์ คงทอง โดยคุณวิรุฬห์เอาพระเหรียญเงินหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เลีี่่ยมทอง พร้อมกับเงินจำนวน ๕๐๐ บาทแลกเปลี่ยนมา นอกจากนี้คุณวิรุฬห์ยังเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า พระกริ่งสวนเต่าเท่าที่คุณวิรุฬห์ได้เคยเห็นมามีเพียง ๒ องค์เท่านั้น องค์แรกเดิมทีเป็นของเจ้าคุณวัดพิเรนทร์ ต่อมาได้มอบให้คุณนายซึ่งเป็นคนในสกุลมหานนท์ และอีกองค์ก็คือองค์ที่คุณวิรุฬห์ได้มาจากคุณหลวงสะอาด พระกริ่งทั้ง ๒  องค์ถือจักร นอกจากนี้คุณวิรุฬห์ คงทองยังกล่าวเสริมอีกว่า"ในบรรดาพระเครื่องที่ผมเคยครอบครองเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นสมเด็จวัดระฆัง พระซุ้มกอ พระผงสุพรรณ พระหูยาน พระกริ่ง ๗๙ พระกริ่งพรหมมุนี พระที่ผมหวงแหนมากที่สุดก็คือ พระกริ่งสวนเต่าองค์นี้"
           ดังนั้น พระกริ่งสวนเต่าน่าจะมีพิมพ์เดียว คือเป็นพระพิมพ์ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายถือจักร และอีกเหตุผลหนึ่ง คือ จักรเป็นตราราชวงศ์จักรีและพระราชลัญจกร
           พุทธลักษณะของพระกริ่งสวนเต่ารัชกาลที่ ๕ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายถือจักร ประทับนั่งอยู่บนบัวรอบ ๒ ชั้น ทรงสร้อยประคำ พระพักต์คล้ายพระกริ่งตั๊กแตน ฐานเรียบ เป็นพระกริ่งก้นตันเมื่อจะบรรจุเม็ดกริ่งจะต้องคว้านก้นเสียก่อน จากการบอกเล่าของคุณวิรุฬห์ คงทองได้กรุณาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า"พระกริ่งสวนเต่านอกจากบรรจุเม็ดกริ่งแล้วยังได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอีกด้วย" ฐานกว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร สูงประมาณ ๓.๘ เซนติเมตร เนื้อพระออกสีมันเทศ ส่วนผิวพระจะออกเป็นสีน้ำตาลไหม้กลับดำไม่สนิทเหมือนพระกริ่งปวเรศหรือพระกริ่งวัดสุทัศน์ เนื้อพระจึงแก่ทองคำมากกว่าแก่เงินซึ่งผิดกับพระกริ่งปวเรศหรือพระกริ่งวัดสุทัศน์เนื้อจะแก่เงินมากกว่าทองคำ
           จำนวนการสร้างพระกริ่งสวนเต่า น้อยกว่าพระกริ่งปวเรศ ในอดีตพระสมเด็จวัดระฆังสององค์แลกพระกริ่งสวนเต่าหนึ่งองค์เจ้าของพระกริ่งไม่ยอมแลก ค่านิยมราคาตลาดไม่ทราบเพราะไม่มีการซื้อขาย(น่าจะหลายล้านหรืหลายสิบล้านอยู่ที่การเรียกร้องราคา) 
           ด้านพุทธคุณดีครอบจักรวาล ไม่ว่าจะด้านมหาอุดแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม โชคลาภและมหาอำนาจ กันคุณไสเสนียดจังไรและยาสั่ง ภูตผีปีศาจและเทวดาไม่กล้าเข้าใกล้ เป็นพระบุญวาสนาและเสริมดวง พุทธคุณของพระกริ่งสวนเต่ารัชกาลที่ ๕ จัดเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใครจึงได้รับพระฉายานามว่า"พระจักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง"(ของวิเศษย่อมมีไม่กี่องค์ครับ)        
           บทความนี้ สำเร็จลงได้ก็อาศัยคำบอกเล่าของคุณวิรุฬห์ คงทอง อาจารย์นิรันตร์(หนู) แดงวิจิตร และหนังสือพระกริ่ง ๕วาระ ของคุณนิรันตร์ แดงวิจิตร   อนึ่งบทความนี้ถ้าจะก่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ขอมอบความดีนี้ให้แด่ คุณวิรุฬห์ คงทอง และอาจารย์นิรันตร์  แดงวิจิตร









สุพล คีรีวิเชียร
081-0434114



ชุมนุมเชียรใหญ่ในอดีต
กวย สีลม, บิ ท่าพระจันทร์, บอ,
จั้วเล็กตลาดพลู, เป้งย้งตลาดพลู, จั้วใหญ่ตลาดพลู, เสี่ยสมเกียรติ์ ฉันทนวาณิช อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และ อ.นิรันตร์(หนู)แดงวิจิตร, เสี่ยใบแดง, นายสุพล คีรีวิเชียร(ทนายปั้ง), อ.ประโยชน์, อ.นิพัทธ์ จิตรประสงค์, นายบัณฑิต กรกนก, เล็ก รูปหล่อ



                       พระปิดตาหลวงตาพร้อม วัดพระงาม แม่พิมพ์พระถอดมาจากพระปิดตา
               หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จึงเป็นเหตุให้เข้าใจผิดว่าท่านเป็นศิษย์หลวงปู่นาค
               วัดห้วยจระเข้ หลวงตาพร้อม ท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุ โดยการเสกแร่ทองแดง
               หรือทองเหลืองให้เป็นแร่ทองคำ แต่ทำไม่สำเร็จ ท่านนำโลหะที่เล่นแร่แปรธาตุ
               มาเทหล่อเป็นพระปิดตา





พระปิดตาหลวงตาพร้อม วัดพระงาม (พร้อมกระเช้า)
ราคา 35,000 บาท
ปั๊ง นครปฐม 081-0434114


พระปางช่อนหาพิมพ์ใหญ่(พิมพ์นิยม)
พระปางซ่อนหา เนื้อเมฆสิทธิ์ หลวงปู่ทับ วัดอนงค์ฯ พิมพ์นี้ในอดีตเมื่อ๓๐กว่าปีก่อนนักสะสมพระเครื่องมองว่าเป็นพิมพ์นิยมที่มีมูลค่าสูงสุดกว่าพิมอื่น โดยมองว่าพระพิมพ์ปางช่อนหาพิมพ์อื่นไม่ทันหลวงปู่ทับ(เป็นพระเก๋)หลวงปู่ทับท่านเกิดปีพ.ศ.2374มรณภาพปีพ.ศ.2565 เหตุที่ท่านปิวยและชราภาพมากจึงไม่ได้มาร่วมปลุกเสกพระชัยวัฒน์หม่อมมิตรปี2460ที่วัดอนงค์
ปั้ง พะเนียงแตก 081-04344114


นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร

                                                             
                  ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่งกรรมการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘     
                     
                     
                         
                     
                                       
                                                                                 ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม
                         

                  
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง



พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ปี 2556

ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด


          สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น 
สัมฤทธิคุณ รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
          ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
          ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้ไม่แน่ใจหมดหรือยัง

          พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
          สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) 
          โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142



















พระโพธิสัตว์กวนอิม มูลนิธิร่วมมิตรสุโขทัย (โรงเจ)
เนื้อทองคำ 99% หนักประมาณ 1 บาท





เหรียญหล่อโบราณหลวงพ่อสองพี่น้องปี วัดหนองโว้ง พ.ศ.2471
ปลุกเสกโดยมหาโต๊ะ วัดเลียบ มหาโต๊ะท่านนี้มีความเก่งกล้าในวิชาอาคมมากบางท่านว่าเก่งกว่าหลวงปู่สุข วัดมะขามเฒ่าอีก ในอดีตเข้าใจว่าเป็นเหรียญหล่อหลวงปู่ชู วัดนาคปรก แต่ความจริงหลวงปู่ชูไปร่วมปลุกเสกจึงได้รับมาส่วนหนึ่ง 
เหรียญมีสองแบบ แบบตัดหูเชื่อมห่วงเงินโดยช่างเย็น (อาศัยอยู่หน้าวัด) เป็นคนเชื่อม และแบบไม่ตัดหู (สภาพเดิม)







3 ความคิดเห็น:

  1. ผมส่งรูปไปได้ไหมครับ? กริ่งสวนเต่าถือจักร

    ตอบลบ
  2. ถ้าจะส่งรูปให้ส่งเข้าเว็บไซต์ เพราะมือถือผมรับรูปไม่ได้

    ตอบลบ