คนนครปฐมโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย มีความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเครื่อง ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

วัดพะเนียงแตก


      
     พระครูอุตตรการบดี (ทา) 
    วัดพะเนียงแตก ถ่าย ร.ศ.๑๒๗
พัดด้านขวามือคือพัดตำแหน่งพระครู ส่วนพัดด้านซ้ายมือคือพัดแจกในงานพระศพ
มีข้อความว่า"การพระศพสมเด็จพระอริยวงษาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช รัตนโกสินทร์ ศก ๑๑๙"


           หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ท่านเป็นพระร่วมยุคสมัยเดียวกับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน แต่ในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่า ดังจะเห็นได้จากพระราชพิธีพุทธาภิเษกสำคัญ ๆ ท่านจะได้รับนิมนต์ร่วมพิธีนั่งปรกปลุกเสกเสมอ เช่นพระราชพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งปวเรศและพระราชพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งสวนเต่า รัชกาลที่ ๕ หลวงพ่อทาท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากอยู่ระหว่าง พ.ศ.2400-2459 ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคต้นของจังหวัดนครปฐม และเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของจังหวัดนครปฐม ท่านเป็นพระนักปฏิบัติเชี่ยวชาญทางสมถกรรมฐาน มีพลังจิตแก่กล้า ประวัติของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ท่านเกิดเเละเติบโตทีบ้านบ่อมะกรูด ปัจจุบันคือ หมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี(นักเขียนบางท่านเข้าใจผิดว่าท่านเป็นชาวหนองเสือ ต.หนองดินแดง อ.เมือง จ. นครปฐม) บรรพบุรุษท่านเป็นชาวลาวเวียงจันทน์ที่ถูกกวาดต้อน อพยพมาตั้งแต่พ.ศ.2322 ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี 
            หลวงพ่อทาท่านเกิดปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ เข้าใจว่าเกิดในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์( ครองราช พ.ศ.2352-2367 )สันนิฐานว่าท่านเกิดประมาณปีพ.ศ.๒๓๖๔(อายุท่านร่วมร้อยปีหรือร้อยกว่าปี) มีพี่น้อง 4 คน เป็นชายทั้งหมด หลวงพ่อทาเป็นพี่ชายคนโต ส่วนน้องชายอีก 3 ท่านเท่าที่จำได้้ คือ หลวงพ่อคำ วัดหนองเสือ ต.หนองดินแดง อ.เมือง จ. นครปฐม ส่วนอีกสองท่านจำชื่อไม่ได้ทราบว่าท่านก็บวชเป็นพระเหมือนกัน  ด้วยคุณงามความดีและความสามารถของท่าน ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และต่อมาเมือปีพ.ศ.๒๔๓๒(ร.ศ.๑๐๘)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูอุตตรการบดี(เจ้าคณะรองเมืองนครไชยศรี)รักษาพระปฐมเจดีย์ทิศเหนือรูปแรก เมื่อพลวงพ่อทาท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ 2459 ตำแหน่งพระครูอุตตรการบดีจึงตกแก่หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว 
            ราชกิจจานุเบกษาระบุว่าท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๕๙ อายุ ๘๓ ปี ถือว่าท่านเกิด พ.ศ. ๒๓๗๖ ซึ่งข้อมูลในส่วนที่เป็นปีเกิดน่าจะคลาดเคลื่อน เพราะประเทศไทยมีการสำรวจสำมะโนครัวประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ ซึ่งตามสำมโนครัวขณะนั้นหลวงพ่ออายุ ๗๒ ปีคือ ๖ รอบ แต่ตามข้อเท็จริงหลวงพ่อน่าจะอายุไม่ต่ำกว่า ๘๐ ปีขึ้นไป อาจจะเป็นเพราะรูปร่างท่านดูไม่แก่เหมือนคนอายุ ๘๐กว่า เพราะท่านเป็นคนแข็งแรง ประกอบกับการสำรวจประชากรในยุคนั้นยังไม่ละเอียดรอบคอบ จึงทำให้ความคาดเคลื่อนในอายุปีเกิดของท่าน หลวงพ่อทาน่าจะเกิดประมาณปี พ.ศ ๒๓๖๔หรือไม่ก็เก่ากว่านั้น 

หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมสมัยที่่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านมักจะแวะเวียนมากราบรูปหล่อเท่าองค์จริงนี้้เสมอ เป็นประจำทุกปี เพราะหลวงพ่อเงินท่านนับถือหลวงพ่อทาเสมือนเป็นอาจารย์ รูปหล่อเท่าองค์จริงนี้ด้านหน้ามีข้อความว่า"พระครูอตตรการบดี(ทา) ส่วนด้านหลังมีตัวเลข "๒๔๖๔"




           หลวงพ่อทา เมื่อบวชแล้วชอบเดินธุดงค์ไปตามป่าเขา ท่านได้ร่วมเดินธุดงค์กับหลวงพ่อคำ(พระน้องชาย)มายังจังหวัดนครปฐม โดยหลวงพ่อคำได้ปักกรดลงที่วัดหนองเสือ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง ส่วนหลวงพ่อทาท่านได้ธุดงค์เลยมาปักกรดลงที่วัดพะเนียงแตก ซึ่งเป็นวัดร้างเหมือนกัน(ประมาณ พ.ศ.๒๓๙๐) วัดพะเนียงแตกตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ห่างจากตัวเมืองนครปฐมไปประมาณ 5-6 กิโลเมตร สภาพบริเวณวัดเป็นทุ่งนา ป่าละเมาะอยู่ทั่วไป มีเรื่องเล่าว่า วัดพะเนียงแตกเดิมทีมิใช่ชื่อวัดพะเนียงแตก แต่ชื่อวัดปทุมคงคาราม สาเหตุที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดพะเนียงแตกเพราะหลวงพ่อทาเมื่อมาอยู่ที่วัดพะเนียงแตก ท่านชอบเล่นพุไฟพะเนียงมักจะเล่นในเวลาที่มีงานเทศกาล งานประจำปีของวัด(ตำบลมาบแคเดิมใช้ชื่อตำบลพะเนียงแตกตามชื่อวัดพะเนียงแตก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6ได้เปลี่ยนเป็นตำบลมาบแค) มีอยู่ปีหนึ่งท่านเล่นพุไฟพะเนียงเกิดระเบิดและถูกท่าน แต่ท่านก็ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด (โปรดใช้พิจารณาในการอ่าน)




           หลวงพ่อทา ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านเป็นพระนักปฎิบัติ เชี่ยวชาญทางสมถกรรมฐาน มีพลังทางจิตแก่กล้า ด้วยสาเหตุที่กล่าวมานี้เองทำให้วัดพะเนียงแตกสมัยนั้นเป็นวัดใหญ่โตเป็นปึกแผ่นหนาแน่น มีพระบวชเก่า บวชใหม่ และพระจรมาจำวัดปีหนึ่งๆไม่น้อยกว่า 70-80 รูปเสมอ กุฎิ โบสถ์ ศาลาการเปรียญ ก็สร้างไว้ใหญ่โตกว้างขวางในสมัยนั้น และในบรรดาศิษย์ที่มาขอเรียนวิชากับหลวงพ่อก็มีหลายท่าน อาทิเช่น หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูด และหลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม  


           โดยเฉพาะหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง(เกิดประมาณ พ.ศ2390กว่ามรณภาพ2490) เมื่อได้อุปสมบทโดยมีหลวงพ่อทาเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ติดตามหลวงพ่อทาไปอยู่ที่วัดพะเนียงแตก เพื่อรับใช้ปรนนิบัติหลวงพ่อทา ความมุ่งหวังก็เพื่อจะขอร่ำเรียนธรรมปฎิบัติกับท่าน และข้อสำคัญที่สุดก็คืออยากจะเรียนคาถาอาคมจากท่านด้วย เพราะเป็นที่นิยมเลี่อมใสกันมากในขณะนั้น


           ในหลวงรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านทรงโปรดปรานพระเถระผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน จะเห็นได้จากการเสด็จไปเยี่ยมพระคณาจารย์ต่างๆ หรือไม่ก็มีรับสั่งให้เข้าเฝ้า หลวงพ่อทาท่านก็เป็นเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ให้ความนับถือ ดังนั้นพิธิพุทธาภิเษกพระกริ่งสวนเต่า รัชกาลที่5 ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระแก้ว) หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกท่านก็ได้รับนิมนต์ร่วมพิธีพุทธาภิเษก


           นอกจากพระพุทธเจ้าหลวงจะให้ความนับถือหลวงพ่อทาแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 ก็ให้ความนับถือเหมือนกัน จะเห็นได้จากการที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานพระเครื่องเหรียญหล่อรุ่นแรกของหลวงพ่อทาให้แก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ โดยเฉพาะคณะเสือป่า


           หลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตกท่านน่าจะมีความสัมพันธ์กับสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยาปวเรศฯ ขณะนั้นท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ ปีพ.ศ.๒๔๐๓ ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๔ แต่งตั้งให้เป็นสถาปนิกออกแบบองค์พระปฐมเจดีย์(วัดพระปฐมเจดีย์อยู่ห่างจากวัดพะเนียงแตก ประมาณ ๕-๖ กิโลเมตร) ดังนั้นในพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งปวเรศ หลวงพ่อทาท่านน่าจะได้รับนิมนต์ร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วย ดังนั้นการสร้างพระเครื่องของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก น่าจะรับอิทธิพลจากวัดบวรนิเวศวิหาร พระเครื่องของท่านจึงเป็นในรูปแบบเทหล่อโบราณ



สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๒ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕(รศ.๑๑๑)
งานพระเมรุของท่านจัดที่ท้องสนามหลวงปี รศ.๑๑๙


        
           พระเครื่องของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เท่าที่มีหลักฐานแน่ชัดมีเพียง 2 รุ่นเท่านั้น และเป็นเหรียญหล่อโบราณ ส่วนพระปิดตาเนื้อเมฆพักตร์พิมพ์สามเกลอหรือเกลอเดี่ยวและพิมพ์โต็ะกังนั้น นักสะสมพระเครื่องในอดีต(เมื่องประมาณ ๕๐ ปีก่อน)ไม่ยอมรับว่าเป็นของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก และปัจจุบันก็ยังหาหลักฐานไม่ได้

          เหรียญหล่อรุ่นแรก หลวงพ่อได้จัดพิธีเทหล่อที่วัดพะเนียงแตก ส่วนหนึ่งได้นำออกให้บูชาในงานฝังลูกนิมิตที่วัดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งงานฝังลูกนิมิตนี้หลวงพ่อมานั่งเป็นประธานในงาน และชาวบ้านที่มาเที่ยวงานทำบุญ 1 บาท ก็จะได้เหรียญหล่อรุ่นแรก 1 องค์ เหรียญหล่อรุ่นแรกนี้สร้างประมานปี พ.ศ.2440 วัดบางหลวงเริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ.๒๔๒๐ โดยมีหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางหลวงเป็นรูปแรกและในขณะนั้นท่านก็ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพะเนียงแตกด้วย ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าของวัดบางหลวงได้เสร็จในปี พ.ศ.๒๔๔๑ โดยมีหลักฐานบันทึกข้อความว่า"พ.ศ.๒๔๔๑"ที่พระอุโบสถหลังเก่าบริเวณอกเลาของพระอุโบสถ ปัจจุบันพระอุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดทรุดโทรมมากทางวัดได้รื้อถอนไปหมดแล้ว


          เหรียญหล่อรุ่นแรกนี้เป็นเหรียญหล่อโบราณ เนื้อขันลงหินแก่ทองแดงบางเหรียญออกเหลืองบางเหรียญออกแดงขึ้นอยู่ที่ความจัดของเหรียญ(เหรียญปลอมส่วนใหญ่จะออกแดงเพราะเนื้อออกแดงปลอมง่ายกว่าเนื้อออกเหลือ) เป็นพิมพ์รูปพระพุทธนั่งขัดสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว และมีต้นโพธิ์ขึ้นเหนือปกคลุมซุ้ม ดูเสมือนเป็นภาพสามมิติ แสดงถึงความสามารถของช่างแกะแม่พิมพ์ (น่าจะเป็นช่างหลวง)  เป็นเหรียญหล่อโบราณที่เก่าที่สุด และสวยงามที่สุดในยุคนั้น  เหรียญรุ่นแรกนี้นับได้ว่าเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์สูงมาก และเป็นเหรียญที่สร้างชื่อเสียงให้กับหลวงพ่อทามากที่สุด จนถึงขนาดมีนักประพันธ์เอาไปเขียนเป็นนวนิยายเรื่อง"พะเนียงแตก" ซึ่งในเนื้อเรื่องได้กล่าวถึงเหรียญรุ่นแรกนี้ว่ามีคุณวิเศษทางด้านคงกระพันชาตรีเป็นเลิศ นับว่าเป็นเหรียญที่สวยที่สุดและดีที่สุดที่หลวงพ่อทาได้สร้างขึ้นมา ในอดีตนักสะสมพระเครื่องชาวจังหวัดพิจิตรหวงแหนเหรียญรุ่นแรกวัดพะเนียงแตกมากกว่าเหรียญจอบเล็กและจอบใหญ่ของหลวงพ่อเงิน บางคลานค่านิยมเหรียญหล่อรุ่นแรกองค์สวยแชมป์เล่นหากันถึงหลายล้านบาท(ราคาล่าสุดขาย ๕ ล้านบาท อนาคตมีสิทธิขึ้นถึงแปดหลัก) จึงเป็นพระเครื่องที่มีค่านิยมสูงสุดของจังหวัดนครปฐมและมีราคาสูงสุดของจังหวัดนครปฐม จำนวนเหรียญหลักร้อยหรือประมาณสามสี่ร้อยเหรียญ









รุ่นแรกองค์นี้แต่งหน้าแต่งโพธิ์




เหรียญหล่อหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เหรียญนี้ นับว่าเป็นเหรียญที่สวยที่สุดและเป็นเหรียญที่มีสภาพเดิม ซึ่งเหรียญส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญที่ผ่านการล้างทำความสะอาด (แชมป์ประเทศไทย)
ราคา 7,000,000 บาท




รุ่นแรก


           ส่วนเหรียญหล่อรุ่นสอง ทำพิธีเทหล่อที่วัดพะเนียงแตก สร้างประมาณ พ.ศ.2450 เหรียญรุ่นสองนี้สร้างจำนวนมากกว่าเหรียญรุ่นแรกหรือประมาณหลายพันเหรียญ เนื้อเหรียญรุ่นสองจะออกกระแสเหลืองคล้ายทองฝาบาตร(เหรียญรุ่นแรกเนื้อจะสูงกว่าเหรียญรุ่นสอง) จากการบอกเล่าของคุณตาเปลื้อง อดีตมรรคนายกวัดหนองเสือได้เล่าให้ผู้เขียนเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๕ ขณะนั้นท่านอายุได้ ประมาณ ๘๕ ปีว่า ""    ญาติของท่านที่เป็นศิษย์หลวงพ่อคำวัดหนองเสือ เคยได้รับเหรียญรุ่นสองจากหลวงพ่อคำวัดหนองเสือ หลวงพ่อคำมรณภาพเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๕๖ อายุประมาน ๘๐ กว่าพรรษาร่วม๙๐พรรษา และหลวงพ่อทาได้ไปในงานศพของหลวงพ่อคำด้วย และท่านได้เดินนำศพหลวงพ่อคำด้วย " ค่านิยมองค์สวยแชมป์รุ่นสองเล่นหากันถึงหลักหลายแสนถึงล้าน(ราคาต่ำกว่าของเหรียญรุ่นแรกหนึ่งเท่าถึงสองเท่า)
          เหรียญหล่อรุ่นสอง นอกจากจะสร้างในสมัยที่หลวงพ่อทาท่านมีชีวิตอยู่ดังได้กล่าวมาแล้วแต่ข้างต้น  ได้มีท่านผู้รู้ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ภายหลังจากที่หลวงพ่อทามรณภาพในปี พ.ศ.๒๔๕๙ ก็ได้มีการสร้างเหรียญหล่อรุ่นสองขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๔๖๓หรือ๖๔ โดยจ้างช่างที่บ้านช่างหล่อ พรานนก เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรีชื่อช่างแช่ม ชื่นจิตต์ต่อมาได้เป็นช่างประจำตัวพระธรรมวโรดม(โชติ)อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์(ช่างแช่มมีอายุมากกว่าเจ้าคุณโชติ)   การสร้างเหรียญหล่อรุ่นสองครั้งนี้ สร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างรูปหล่อเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงพ่อทา ปี พ.ศ.๒๔๖๔(เหรียญหล่อรุ่นสองครั้งนี้น่าจะสร้างพร้อมกับรูปหล่อเท่าองค์จริงปี พ.ศ.๒๔๖๔)  
         





เหรียญหล่อวัดพะเนียงแตก รุ่นสอง มีหู



รุ่นสององค์นี้ตบแต่งหน้า

เหรียญหล่อวัดพะเนียงแตก รุ่นสอง ไม่มีหู

            เหรีญหล่อโบราณทั้งสองรุ่นนี้มีคุณวิเศษทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี มหาอุต และแคล้วคลาด และโชคลาภโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหรียญหล่อรุ่นแรกนั้นมีประสบการณ์มากที่สุด จนนักสะสมพระเครื่องเข้าใจผิดว่าดีทางคงกระพันชาตรี มหาอุดและแคล้วคลาดเท่านั้น ความจริงแล้ว ทางเมตตามหานิยม และโชคลาภ ก็มีผู้พบประสบการณ์อย่างมากมายเรียกว่าเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร


            ลำดับเจ้าอาวาสวัดพะเนียงแตก
               1. หลวงพ่อทา
               2. พระปลัดหงิม
               3. พระอาจารย์บัวลอย(พ.ศ.๒๔๗๙-๒๔๘๙)
               4. พระอาจารย์ชื้น(พ.ศ.๒๔๘๙-๒๔๙๘)
               5. พระมหาสมบูรณ์(พ.ศ.๒๔๙๘-๒๕๐๒)
               6. พระอาจารย์ประยงค์(ย้ง)  ปฏิกาโร(พ.ศ.๒๕๐๒-๒๕๓๖)
               7. พระอาจารย์ทองคำ(พ.ศ.๒๕๓๘ จนถึงปัจจุบัน)


           บทความนี้ถ้าจะก่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ก็ขอมอบความดีนี้ให้แด่ อาจารย์
สุปรีชา  ศรีสุวราภรณ์ (ครูโอ) อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวัดลาดปลาเค้า   และ คุณเทพ สุนทรศาลทูล(จากหนังสือ"หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง")




เหรียญหล่อหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เหรียญนี้ นับว่าเป็นเหรียญที่สวยที่สุดและเป็นเหรียญที่มีสภาพเดิม ซึ่งเหรียญส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญที่ผ่านการล้างทำความสะอาด (แชมป์ประเทศไทย)



พระปิดตา กรุลั่นทม วัดพะเนียงแตก


พระปิดตา กรุลั่นทม วัดพะเนียงแตก


พระนาง กรุลั่นทม วัดพะเนียงแตก


             พระปิดตาและพระนางเนื้อผงขาว กรุลั่นทม วัดพะเนียงแตก แตกกรุเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2498 โดยต้นลั่นทมได้ขึ้นเบียดพระเจดีย์เก่าแตก นักสะสมพระเครื่องรุ่นเก่าเชื่อว่าเป็นของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก   ( เดิมผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นพระของหลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูดเป็นผู้สร้ง แต่เมื่อพิจารณเนื้อพระน่าจะมีความเก่ากว่าพระของหลวงพ่อวงษ์และไม่ปรากฏหลักฐานหลวงพ่อวงษ์เคยแจกหรือมีพระตกค้างที่วัดทุ่งผักกูด) พระปิดตากรุลั่นทมได้มีการจำหน่ายในราคาองค์ละ ๕,๐๐๐ บาท ในอดีตเมื่อประมาณปีพ.ศ.2512ได้มีการจำหน่ายพระปิดตาในราคา 500 บาทซึ่งเป็นราคาเท่ากับพะเนียงแตกรุ่นแรก ส่วนรุ่นสองประมาณสองร้อยกว่าบาท
             
เหรียญหล่อโบราณพระอาจารย์ชื้น


เนื้อแ




เนื้อทองผสม


           เหรียญหล่อโบราณพระอาจารย์ชื้น ซึ่งนักสะสมพระเครื้่องมักเข้าใจผิดว่าอาจารย์ชื้นเป็นผู้สร้าง แต่ความจริงแล้วเป็นพระของมหาสมบูรณ์เป็นผู้สร้าง(เท่หล่อที่โรงงาน) เหรียญที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญที่ขาดความเรียบร้อยสวยงาม  มีสองเนื้อคือ เนื้อแร่และเนื้อทองผสม เนื้อแร่สร้างจำนวนน้อยมากแทบจะไม่ได้พบเห็น 


เหรียญพระปลัดหงิม

           เหรียญพระปลัดหงิมนี้เป็นเหรียญที่แจกในงานปลงศพพระปลัดหงิม ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ( เหรียญตาย ) พระปลัดหงิมเป็นพระเกจิอาจารย์ที่แก่กล้าวิชาอาคมรูปหนึ่ง   และเป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก


เหรียญหลวงพ่อทา รูปดอกจิก รุ่นแรก(เหรียญตาย)

           เหรียญรูปดอกจิกหลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตกนี้ สร้างในสมัยพระอาจารย์บัวลอยเป็นเจ้าอาวาส ประมาณปี พ.ศ.๒๔๘0 กว่าสร้างหลังเหรียญพระปลัดหงิมปี๒๔๘๒


เหรียญเสมา หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก รุ่นแรก สระ อะ บนตัวเดียว ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ปลุกเสกโดยหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม 
และพระอาจารย์แดง พระธุดงค์ พระรุ่นนี้ปลุกเสกสองครั้ง ครั้งที่หนึ่ง ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ครั้งที่สอง ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ( พิธีฝังลูกนิมิต )ราคา๑๐,๐๐๐ บาท


รูปหล่อปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ปี พ.ศ.๒๕๑๐ 
(ออกพร้อมรูปหล่อบูชา ๕ นิ้ว รุ่นแรก)
ปลุกเสกโดยหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม 
และพระอาจารย์แดง พระธุดงค์ พระได้จำหน่ายหมดภายในงานฝังลูกนิมิต ปี พ.ศ.๒๕๑๐ เพราะลือว่าไปทดลองยิงไม่ออก 



มีท่านไม่ประสงค์ออกนามได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับวัดพะเนียงแตกมาให้ผู้เขียน 
คิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน( 29 สิงหาคม 2565 )











สุพล  คีรีวิเชียร
SUPON KEEREEWICHIEN
081-0434114



พระเครื่องชุดหลวงปู่บุญมี วัดเกาะ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย


รูปหล่อปั๊มเนื้อฝาบาตร หลวงปู่บุญมี จำนวนสร้างประมาณ ๑๐๐ กว่า องค์ (น้อยที่สุด)ราคา๑๐,๐๐๐ บาท


เหรียญพระพุทธชินราชมีห่วง เนื้อนวโลหะ จำนวนสร้างหลักสิบองค์ ราคา๑๐,๐๐๐ บาท



เหรียญพระพุทธชินราช เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวนน้อย มีประสบการณ์มาก ราคา๓,๕๐๐ บาท


รูปหล่อหลวงปู่บุญมี พิมพ์จอบเล็ก มีประสบการณ์มากราคา๑๐,๐๐๐บาท





พระผงพุทโธ จำนวนสร้างหลักร้อย




พระสมเด็จ หลวงพ่อบุญมี จำนวนสร้างหลักร้อย





เหรียญทองแดงหลวงปู่บุญมี
สร้างจำนวน ๕๐๐ เหรียญราคา ๓,๕๐๐ บาท


แหนบติดกระเป๋าเสื้อ เนื้อเงินลงยา รูปองค์พระปฐมเจดีย์
รัชกาลที่ 6 สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.245๐
(ก่อนอัญเชิญพระร่วงโรจนฤทธฺ์ฯ มาประดิษฐาน ณ พระปฐมเจดีย์)
สันนิษฐานว่าหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เป็นผู้ปลุกเสก
สร้างประทานแก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันตีระนาด



                               พระปิดตาหลวงตาพร้อม วัดพระงาม แม่พิมพ์พระถอดมาจากพระปิดตา
                  หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จึงเป็นเหตุให้เข้าใจผิดว่าท่านเป็นศิษย์หลวงปู่นาค
                  วัดห้วยจระเข้ หลวงตาพร้อม ท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุ โดยการเสกแร่ทองแดง

                  หรือทองเหลืองให้เป็นแร่ทองคำ แต่ทำไม่สำเร็จ ท่านนำโลหะที่เล่นแร่แปรธาตุ

                  มาเทหล่อเป็นพระปิดตา





พระปิดตาหลวงตาพร้อม วัดพระงาม (พร้อมกระเช้า)
ราคา 35,000 บาท
ปั๊ง นครปฐม 081-0434114




ตะกรุดวัดพระแก้ว




พระปางช่อนหาพิมพ์ใหญ่(พิมพ์นิยม)
พระปางซ่อนหา เนื้อเมฆสิทธิ์ หลวงปู่ทับ วัดอนงค์ฯ พิมพ์นี้ในอดีตเมื่อ๓๐กว่าปีก่อนนักสะสมพระเครื่องมองว่าเป็นพิมพ์นิยมที่มีมูลค่าสูงสุดกว่าพิมอื่น โดยมองว่าพระพิมพ์ปางช่อนหาพิมพ์อื่นไม่ทันหลวงปู่ทับ(เป็นพระเก๋) หลวงปู่ทับท่านเกิดปีพ.ศ2374 มรณภาพ.2465 เหตุที่ท่านป่วยและชราภาพมากจึงไม่ได้มาร่วมปลุกเสกพระชัยวัฒน์หม่อมมิตรปี2460 ที่วัดอนงค์

ปั้ง พะเนียงแตก 081-04344114




นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร


         ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค ๕ และประธานศาลอุทธรณ์ ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘
                          
                                                                                        ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม
                         
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง



พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ปี 2556

ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด


          สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น
สัมฤทธิคุณ รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
          ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
          ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว

          พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
          สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) 
          โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142






พระโพธิสัตว์กวนอิม มูลนิธิร่วมมิตรสุโขทัย (โรงเจ)
เนื้อทองคำ 99% หนักประมาณ 1 บาท