คนนครปฐมโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย มีความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเครื่อง ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566

หลวงพ่ออุย วัดบ้านกร่าง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย



รูปหล่อโบราณหลวงพ่ออุย 

พระอมตเถราจารย์ผู้เรืองอาคม

วัดบ้านกร่าง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย

( รูปหล่อเก่า มีอายุในการสร้างกว่า 96 ปี )


    สันนิษฐานว่ารูปหล่อหลวงพ่ออุย สวณุสร องค์นี้ หล่อขึ้นพร้อมพระพุทธชินราชจำลอง หน้าตัก 80 นิ้ว พระพุทธปฏิมากรประธาน อุโบสถวัดบ้านกร่าง เมื่อวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก ปี พ.ศ. 2463 ( เพราะฝีมือในการปั้นลานที่ฐานรูปหล่อ ซึ่งมีลักษณะเป็นอาสนะหมอนรองนั่งที่มีลวดลายฝีมือเดียวกับลวดลายที่เครื่องทรงอาฬวกยักษ์ และ ท้าวเวสสุวัณโณ และ ฐารชุกชีพระพุทธชินราชจำลอง ที่หลวงพ่ออุยหล่อขึ้นในปี พ.ศ. 2463 ) และสร้างเหรียญหล่อโบราณพระชินราชหูปลิงหลังเรียบขึ้นในวาระเดียวกัน มีพุทธคุณดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ทางอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดดีนักแล นอกจากนี้ยังโดดเด่นในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ

    หลวงพ่ออุย วัดบ้านกร่าง ได้ชื่อว่าเป็นลูกศิษย์อาวุโสในหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน อ.บางคลาน ( เดิมตั้งอยู่ที่บ้านบางคลาน ภายหลังย้ายมาตั้งที่ว่าการใหม่ที่บ้านโพทะเล และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออำเภอให้สอดคล้องกับที่ตั้งตามนโยบายของมหาดไทย เป็น อ.โพทะเล สือต่อมาจนปัจจุบัน ) จ.พิจิตร รูปหนึ่ง

    วัดบ้านกร่างตั้งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำยม ซึ่งแต่เดิมไหลไปบรรจบกับแม่น้ำน่านตรงใต้วัดบางคลานไปเล็กน้อย ( หน้าบ้านอดีตกำนันซัง ) ภายหลังแม่น้ำน่านได้เปลี่ยนทางที่วังกะดี่ทอง ไผ่ขวาง ไหลไปทางคลองเรียง ท่าฬอ ( แม่น้ำเข็กหรือแม่น้ำวังทองไหลมาบรรจบที่นี่ ) จนกลายเป็นแม่น้ำน่านสายปัจจุบันไหลผ่านพิจิตรเมืองใหม่ ไปบรรจบกับแม่น้ำยมที่หน้าวัดเกยไชยเหนือบรมธาตุ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ( ไอ้ด่างเกยชัย จระเข้ยักษ์ )

    ส่วนแม่น้ำน่านสายเก่า ( ไหลผ่านเมืองเก่า วัดโพธิประทับช้างถิ่นประสูติพระพุทธเจ้าเสือ ) ได้ตื่นขึ้นกลายเป็นแม่น้ำพิจิตรหรือแควกลางในปัจจุบัน

    คนรุ่นเก่า อ.กงไกรลาศ ยังเล่าขานว่าหลวงพ่อเงิน บางคลาน เคยนั่งเรือมาเยี่ยมหลวงพ่ออุย ผู้เป็นลูกศิษย์และมาแวะเยี่ยมโยม เถ้าแก่โรงสีกงไกรลาศที่ใกล้ๆ วัดบ้านกร่าง ที่นับถือคุ้นเคยกันหลายพ่อเงินมาก

    เหรียญหล่อโบราณชินราชหลวงพ่ออุย รุ่นแรก วัดบ้านกร่าง อ. กงไกรลาศ จ. สุโขทัย 

        - สร้างไม่เกิน 500 เหรียญ

        - พิมพ์พระพุทธชินราชมี ๒ พิมพ์(ค่านิยม เอาสวยเป็นหลัก)

        - ศิลปะสวยมีเอกลักษณ์

        - ช่างหล่อศิลปะ แบบเดียวกับเหรียญจอบหลวงพ่อเงิน บางคลาน และเหรียญหล่อโบราณหลวงพ่อเพรช วัดท่าหลวง จอบหลวงพ่อขํา วัดโพธิ์เตี้ย 

        - ในการปลุกเสก แน่นอน มีหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า  หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา  และยังมีเกจิอีกมากมายที่มาปลุกเสก ในสมัยก่อนการปลุกเสก วัตถุมงคล เค้าเอาเเรงกัน เวลาจะไปปลุกเสกแต่ละที ต้องมารวมกันแล้วไปด้วยกัน ไครอยู่ไกล้กันก็ไปด้วยกัน ดังนั้นเซียนพระรุ่นเก่าจึงพอใจที่จะบูชาเหรียญหล่อชินราชหลวงพ่ออุยติดตัวมากกว่าเหรียญหล่อชินราชอินโดจีน 

        - เป็นเหรียญเกจิที่เก่าที่สุดในสุโขทัยครับ

        - อายุการสร้าง ปี2463 ประจุบัน อายุมากกว่าร้อยปี

        - ในสมัยก่อนนักสะสมพระเครื่องเมืองไทย เปรียบเทียบ จอบหลวงพ่อเงิน บางคลานหลายเหรียญ เท่ากับ จอบชินราชหลวงพ่ออุย 1องค์เพราะคนสมัยก่อนทราบดีว่าเหรียญจอบหลวงพ่อเงินไม่ทันหลวงพ่อเงินปลุกเสก(หลวงพ่อเงิน บางคลานเกิดประมาณปี 2344 มรณภาพประมาณปี 2456 เหรียญจอบเล็ก จอบใหญ่่รูปหล่อพิมพ์นิยม ขี้ตาและรูปหล่อเท่าองค์จริงสร้างประมาณปี 2461โดยอาจารย์แจ๊ะเจ้าอาวาสองค์ต่อมา)  และในสมัยก่อนเซียนรุ่น เก่าๆ จะรู้ดีครับ ว่าหายาก สร้างน้อน มีประสบการณ์สูงมาก

    รายนามพระอริยะเถระบูรพคณาจารย์ ( บางส่วน ) ที่ได้นิมนต์มาร่วมพิธีพุทธาภิเศกวัตถุมงคลในครั้งนี้

        1. สมเด็จพุฒาจารย์ ( นวม ) วัดอนงคาราม จ.กรุงเทพฯ

        2. หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี

        3. หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์ ธนบุรี

        4. อาจารย์เปิง วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี

        5. หลวงปู่เผือก วัดทองนพคุณ ธนบุรี

        6. หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี จ.อุทัยธานี

        7. หลวงปู่รอด วัดสามไถ จ.อยุธยา

        8. หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จ.อยุธยา

        9. หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

        10. หลวงปู่เป้า วัดใหม่สุประดิษฐาราม จ.นครปฐม

        11. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม

        12.หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว จ.สุพรรณบุรี

        13. เจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา จ.กรุงเทพฯ

        14. หลวงพ่อคร้าม วัดบางระกำ จ.นครปฐม

        15. หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก จ.สมุทรสงคราม

        16. อุปัชฌาย์กรัก วัดอัมพวัน จ.ลพบุรี

        17. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ) วัดระฆังโฆษิตาราม จ.กรุงเทพฯ

        18. หลวงพ่อกาพย์ วัดจรรย์ จ.สุพรรณบุรี

        19. หลวงพ่ออุย วัดบ้านกร่าง จ.สุโขทัย

        20. หลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว จ.สมุทรสาคร

        21. หลวงพ่อผัน วัดกรับพวง จ.พิษณุโลก

        22. อาจารย์พา วัดระฆังโฆษิตาราม จ.กรุงเทพฯ

        23. หลวงพ่อชุ่ม วัดบางนาใน จ.กรุงเทพฯ

        24. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี

        25. หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย ( ปลักไม้ดำ ) จ.กำแพงเพชร

        26. หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี

        27. หลวงพ่อปั้น วัดหาดทนง จ.อุทัยธานี

        28. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก จ.กรุงเทพฯ

        29. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ง จ.สมุทรปราการ

        30. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร ( บางขุนเทียน ) จ.กรุงเทพฯ

        31. หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง จ.ปทุมธานี 

        32. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี











สุพล คีรีวิเชียร

081-0434114