คนนครปฐมโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย มีความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเครื่อง ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม


หลวงพ่อวัดไร่ขิงลงรักปิดทองแล้ว



หลวงพ่อวัดไร่ขิงยังมิได้ลงรักปิดทอง
ทางวัดอนุญาตให้ประชาชนปิดทององค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงได้


หน้าพระอุโบสถ หลวงพ่อวัดไร่ขิง



          วัดไร่ขิงเดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆติดอยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรี(แม่น้ำท่าจีน) สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๓ วัดไร่ขิงปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๕๑ หมู่ ๒ ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ ๒๔๔ ไร่ ๘๙ ตารางวา ลักษณะพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม



สมเด็จพุฒาจารย์ (พุก)


          ในอดีตพื้นที่ดินรอบบริเวณวัด มีชาวจีนโพ้นทะเลมาอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก และมีอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะการเพาะปลูกไร่ขิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุให้เรียกขานชุมนุมนี้ว่า "ไร่ขิง" ต่อมาเมื่อชุมนุมหนาแน่นมากขึ้น จึงได้มีการสร้างวัดขึ้น และเรียกชื่อวัดตามชุมนุมว่า "วัดไร่ขิง"และท่านที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างวัดคือ สมเด็จพุฒาจารย์(พุก)เจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร มณฑลกรุงเก่า(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)  สมเด็จพุฒาจารย์(พุก) ท่านเป็นชาวเมืองนครไชยศรีหรือมณฑลนครไชยศรี เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๑แรม ๑๑ค่ำ ปีขาล ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๗ ได้นำชาวบ้านร่วมกันก่อสร้างวัดไร่ขิง เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๔ อยู่ในระหว่างรัชกาลที่ ๓ ต้นรัชกาลที่ ๔
          ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวรวิหาร กรุงเทพฯ เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน  สมเด็จฯได้เสด็จไปตรวจวัดไร่ขิง และได้ทรงตั้งชื่อใหม่ว่า"วัดมงคลจินดาราม" ทั้งได้ทรงวงเล็บชื่อเดิมไว้ท้าย จึงกลายเป็น "วัดมงคลจินดาราม(ไร่ขิง)" เมื่อเวลาผ่านไปนาน ชาวบ้านกลับไปเรียกชื่อวัดดังเดิมว่า"วัดไร่ขิง" อาจจะเป็นเพราะความสะดวกและง่ายต่อการเรียกขาน และต่อมาทางราชการคงใช้ชื่อเดิมว่า"วัดไร่ขิง(พระอารามหลวง)"
          ลำดับเจ้าอาวาส
          ๑.หลวงพ่อจาด
          ๒.หลวงพ่อคง
          ๓.หลวงพ่อรักษ์
          ๔.หลวงพ่อมุ้ย
          ๕.พระอธิการใช้ ปติฏโฐ
          ๖.พระครูมงคลวิลาส (เฉย กิตฺติสาโร)
          ๗.พระอาจารย์ชื้น ปฏิกาโร (รักษาการเจ้าอาวาส)
          ๘.พระครูถาวรวิทยาคม (เพิ่ม ทิฎโฐ)
          ๙.พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินทฺปญโญ)
          ๑๐.พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (แย้ม) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
            หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง  มีเรื่องเล่าขานกันว่า เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก)ซึ่งเป็นชาวนครไชยศรี  ในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่"พระธรรมราชานุวัตร"ปกครองอยู่ที่วัดศาลาปูนวรวิหาร กรุงเก่า(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ได้กลับมาสร้างวัดที่บ้านเกิดของท่านที่ไร่ขิง  วัดไร่ขิงได้สร้างขึ้น เมื่อปีกุน พ.ศ.๒๓๙๔ ตรงกับในปีสุดท้ายในรัชกาลที่ ๓ ต่อเนื่องกับต้นรัชกาลที่ ๔ เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก)และชาวบ้านได้อัญเชิญ พระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งจากกรุงเก่า มาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ แต่การคมนาคมในสมัยนั้น  ต้องอาศัยทางน้ำ ดังนั้นการจะนำพระพุทธรูปองค์นี้กลับวัดจึงต้องต่อแพ เพื่อล่องลำเรียงจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาลงสู่แม่น้ำ ล่องลอยผ่านแม่น้ำนครชัยศรี(แม่น้ำท่าจีน) ระหว่างที่ลอยแพมาจึงดูเหมือนพระประธานลอยน้ำได้ เมื่อนานวันการเล่าถึงการลำเรียงหลวงพ่อวัดไร่ขิงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากกรุงเก่ามาวัดไร่ขิงผิดเพี้ยนไป กลายเป็นหลวงพ่อวัดไร่ขิงลอยน้ำมา จนเกิดเป็นตำนานเล่าขานว่า ในกาลครั้งหนึ่ง มีพี่น้องชาวเหนือ ๕ คน ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา จนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันมีฤทธิ์เดชมาก พระภิกษุ ทั้ง ๕ รูปมีความมีความปรารถนาจะช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นทุกข์  จึงตั้งจิตอธิษฐานขอถอดดวงจิตเข้าไปสถิตย์ในพระพุทธรูปทั้ง ๕องค์ ได้แก่ หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อโตวัดบางพลี หลวงพ่อวัดบ้านแหลม และหลวงพ่อวัดเขาตะเครา พระพุทธรูปดังกล่าวได้ลอยน้ำมาเกือยตื้นที่หน้าวัดโสธร วัดไร่ขิง วัดบางพลี วัดบ้านแหลมและวัดเขาตะเคราตามลำดับ
          บทความนี้จะกล่าวถึงพระเครื่องของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ในรูปแบบพระกริ่งอันเป็นรูปจำลองของหลวงพ่อวัดไร่ขิงดังต่อไปนี้



พระกริ่งหล่อโบราณหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก ปีพ.ศ.๒๕๐๘



พระกริ่งหล่อโบราณหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก ปีพ.ศ.๒๕๐๘


         พระกริ่งหล่อโบราณหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นพระกริ่งทีทางวัดเป็นผู้จัดสร้าง  สร้างในสมัยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(ปัญญา อินฺทปญฺโญ) เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น พระกริ่งรุ่นนี้ทางวัดได้จัดพิธีพุทธาภิเษก เทหล่อพระกริ่งตรงหน้าพระอุโบสถด้านข้าง(เทหล่อพระกริ่งหน้าหลวงพ่อวัดไร่ขิง) โดยมีเกจิอาจารย์เข้าร่วมพุทธาภิเษกและลงอักขรเขลยันต์บนแผ่นทองเพื่อนำไปหลอมลงในเบ้าชนวนเทหล่อพระกริ่ง มีดังต่อไปนี้
           ๑.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
           ๒.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
           ๓.หลวงปู่ผล วัดเทียนดัด
           ๔.พระครูถาวรวิทยาคม (เพิ่ม) วัดสรรเพชร
           ๕.หลวงพ่อหมุด วัดเดชานุสรณ์
           ๖.หลวงพ่อโหย  วัดท่าพูด
          พระกริ่งหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี พ.ศ.๒๕๐๘ รุ่นนี้สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีเทหล่อโบราณ จึงนับได้ว่าเป็นพระกริ่งรุ่นแรก และเนื้อพระเป็นเนื้อขันลงหินหรือทองผสม ออกกระแสเหลือง จึงเป็นพระกริ่งที่สร้างถูกต้องตามพิธีกรรมโบราณกาล จำนวนสร้างไม่มากนัก(ไม่เกินสองพันองค์) สนนราคาเช่าหากันอยู่ในหลักหมื่นต้นๆอนาคตมีสิทธิเล่นหาถึงหลักแสน
          พระกริ่งและพระชัยวัฒน์หลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี พ.ศ.๒๕๒๑ เป็นพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ที่่สร้างขึ้นในสมัยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(ปัญญา อินฺทปญฺโญ)เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น พระกริ่งพระชัยวัฒน์รุ่นนี้มีสมเด็จพระพุฒาจารย์(เสงี่ยม)วัดสุทัศน์ฯเป็นประธานจัดสร้างและเจ้าพิธีในการเททอง ได้เทหล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์ เมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๑ ณ บริเวณรอบพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ฯ โดยมีหลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี เป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษก การสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์รุ่นนี้จึงเป็นการสร้างตามแบบสายวัดสุทัศน์ฯ คือ มีการลงพระยันต์ ๑๐๘ และนะ ปถมัง ๑๔ นะเนื้อพระเป็นวนโลหะกลับดำ(ออกกระแสแดง) และมีทองชนวนเก่าของวัดสุทัศน์ฯผสมอยู่มาก ด้านหลังตรงฐานของพระกริ่งพระชัยวัฒน์มีรอยจารทุกองค์



พระกริ่งหลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อนวโลหะกลับดำ ปีพ.ศ.๒๕๒๑



พระชัยวัฒน์หลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อนวโลหะกลับดำ ปีพ.ศ.๒๕๒๑


                   พระกริ่งสร้างจำนวน ๘,๗๙๙ องค์
                   พระชัยวัฒน์สร้างจำนวน ๑๓,๖๕๙ องค์
          หลังจากเทหล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์และมีการตบแต่งเสร็จเรียบร้อย ทางคณะกรรมการวัดไร่ขิง ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยจัดพิธีภายในพระอุโบสถหลวงพ่อวัดไร่ขิง โดยมีหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษก จึงเป็นพระกริ่งพระชัยวัฒน์ที่ได้รับการปลุกเสกถึงสองครั้ง
          บทความนี้ตั้งใจจะเขียนเฉพาะพระกริ่งหลวงพ่อวัดไร่ขิงเท่านั้น แต่เนื่องจากมีท่านผู้อ่านได้ขอร้องให้ผู้เขียน ให้เขียนถึงสมเด็จวัดไร่ขิงรุ่นเก่าที่ราคายังไม่แพง ผู้เขียนจึงขอแนะนำพระสมเด็จวัดไร่ขิงรุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งเป็นพระที่สร้างโดยหลวงตาเจียม โดยพระชุดนี้ได้สร้างที่วัด (กดพิมพ์พระที่วัด) เป็นพระผงขาว ประกอบด้วยมวลสารมากมายและผงพุทธคุณ รายละเอียดขอให้ท่านผู้อ่าน อ่านบันทึกการสร้างสมเด็จวัดไร่ขิงรุ่นแรกปี พ.ศ.๒๔๙๕ท้ายบทความ  
          พระสมเด็จวัดไร่ขิงรุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นพระที่แก่มวลสารและเข้มข้นมากที่สุด ตั้งแต่มีการสร้างพระสมเด็จวัดไร่ขิง นักสะสมพระเครื่องสายวัดไร่ขิงยอมรับว่า พระชุดนี้มีพุทธคุณสูงกว่าพระสมเด็จวัดไร่ขิงรุ่นอื่นๆ ที่เคยสร้างมา แถมราคายังถูกกว่าพระสมเด็จวัดไร่ขิงปี พ.ศ. ๒๕๑๔ อีกด้วย ประกอบกับคณาจารย์ที่รวมพุทธาภิเษกมีจำนวนมาก เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นได้แก่ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ร่วมปลุกเสกด้วย



สมเด็จวัดไร่ขิง หลังลายนิ้วมือ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ 



สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์พระครูมูล รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ราคา ๑๕,๐๐๐ บาท


สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์พระครูมูล รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ราคา ๑๕,๐๐๐ บาท





สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์ขี่ไก่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕
พิมพ์นี้หายากที่สุด ๒๐,๐๐๐ บาท


สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์ขี่ไก่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕
พิมพ์นี้หายากที่สุด ๒๐,๐๐๐ บาท



สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์ขี่ไก่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕
พิมพ์นี้หายากที่สุด ๒๐,๐๐๐ บาท



สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์ขี่ไก่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ 
พิมพ์นี้หายากที่สุด


สมเด็จพิมพ์เกตุบัวตูม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕









พระชัยวัฒน์ พิมพ์พระมงคลจินดา ปี พ.ศ. ๒๔๙๕




สมเด็จวัดไร่ขิง ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ จำนวนการสร้างหลายหมื่นองค์




พระชัยวัฒน์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ จำนวนการสร้าง ๓,๐๐๐ องค์





บันทึกย่อการสร้างสมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดย พระอาจารย์เจียม  แถบทอง








     



สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114



นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร


                 ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘



                                                                                     ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม


                  
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง



พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ปี 2556
ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด

          สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น 
สัมฤทธิคุณ รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
          ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
          ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้ไม่แน่ใจว่ายังหรือเปล่า

          พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
          สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) 
          โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น