องค์พระปฐมเจดีย์
ภาพวาดองค์พระปฐมเจดีย์
พระธรรมศิริชัย ( ชิต วิปุโล )
เอื้อเฟื้อภาพโดย นายสุธี สูงกิจบูลย์
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๖๑ ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้ารับไว้เป็นนาคหลวงเป็นกรณีพิเศษ และทรงเป็นโยมปวารณาด้วย สมเด็จพระวันรัต(จ่าย) เมื่อครั้งยังเป็นพระธรรมวโรดม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมวโรดม(โชติ) ครั้งยังเป็นพระนิกรมมุณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สมเด็จพระสังฆราช(ปลด) เมื่อครั้งยังเป็นพระศรีวิสุทธิวงค์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แล้วได้รับฉายาว่า "ชิต วิปุโล"
เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็จำพรรษาอยู่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและบาลี ด้วยความวิริยะอุตสาหะจนสอบได้เปรียญธรรมห้าประโยค ในปี พ.ศ.๒๔๖๓ จากนั้นท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของเจ้าคุณโชติในการจัดระบบการศึกษาของพระภิกษุและสารเณรภายในวัดพระปฐมเจดีย์ ต่อมาตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาครวางลง ท่านเจ้าคุณธรรมวโรดม(โชติ) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ขณะนั้นเป็นพระราชสุธี ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลนครชัยศรีในเวลานั้น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ย้ายท่านไปเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาครและเจ้าอาวาสวัดตึกมหาชยรามในปี พ.ศ.๒๔๖๙
ตำแหน่งทางคณะสงฆ์
วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๓ เป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตปกครองจังหวัดสมุทรสาคร
วันที่่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๓ เป็นเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระสมุทรคุณากร"
วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๖ เป็นรองเจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี
ปี พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นรองเจ้าคณะมณฑลราชบุรี
วันที่๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๖ เป็นเจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค ๑
ปี พ.ศ.๒๔๙๒ เป็นเจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค ๒
วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๕ ย้ายกลับมารับตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร และเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม สืบต่อพระปฐมนคราจารย์(วงศ์ โอวาตวัณโณ)ในปีเดียวกัน
วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร สืบต่อจากพระธรรมวโรดม(โชติ)
ปี พ.ศ.๒๕๐๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่"พระธรรมศิริชัย"
มรณภาพ เมื่อบ่ายวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๗ รวมพระชนมายุได้ ๘๖ ปี ๗ เดือน
สมัยที่ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารในตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของพระภิกษุและสามเณรภายในวัดพระปฐมเจดีย์ฯ และเป็นกำลังสำคัญของท่านเจ้าคุณธรรมวโรดม(โชติ) ในการพัฒนาวัดพระปฐมเจดีย์ฯให้เจริญรุ่งเรือง รวมทั้งการจัดระเบียบวินัยของพระสงฆ์ และการทนุบำรุงถาวรวัตถุโบราณต่างๆภายในวัด เป็นการแบ่งเบาภาระของเจ้าคุณธรรมวโรดม(โชติ)อย่างมากมาย ด้วยคุณงามความดีและความสามารถของท่าน ท่านจึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ฯ สืบต่อจากเจ้าคุณธรรมวโรดม(โชติ)
เมื่อท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์แล้ว ชีวิตของท่านยังทำงานหนักด้วยความเสียสละ ท่านลำบากตรากตรำเหนื่อยกับงาน ท่านยังเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและแผนกบาลี เพราะในสมัยนั้นหาครูสอนพระปริยัติธรรมได้ยาก อีกทั้งท่านยังต้องพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองดูแลบูรณปฏิสังขรณ์วัตถุโบราณต่างๆภายในวัด จึงมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก นับได้ว่าท่านเป็นพระที่เสียสละจริงๆ
พระกริ่งพระพุทธภูมิประทานพร วัดพระปฐมเจดีย์ รุ่นเสาร์ห้า ปี พ.ศ.๒๕๑๒
พระกริ่งปางประทานพรที่ผู้เขียนจะกล่าวในบทความนี้คือ พระกริ่งพระพุทธภูมิประทานพรที่พระธรรมศิริชัย(ชิต) ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๒ และวันที่ทำพิธีพุทธาภิเษกตรงกับวันเสาร์ห้าปลุกเศกเป็นเวลาสามวันสามคืนเป็นพิธีใหญ่มาก สาเหตุแห่งการสร้างพระพุทธภูมิประทานพร คืนหนึ่งท่านเจ้าคุณศิริชัย(ชิต)ได้นิมิตเห็น พระพุทธรูปปางประทานพรที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก และเปล่งรัศมีสว่างไสวเป็นสีทอง จึงถือว่าเป็นนิมิตที่ดี และทรงตั้งพระนามว่า "พระพุทธภูมิประทานพร"
พระพุทธภูมิประทานพรที่ท่านเจ้าคุณชิตได้สร้างในครั้งนี้ มีทั้งพระบูชา และพระเครื่องในรูปของพระกริ่ง
พระบูชาพระพุทธภูมิ ประทานพร หน้าตัก ๙ นิ้ว รุ่นเสาร์ ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒
พระบูชาพระพุทธภูมิ ประทานพร หน้าตัก ๕ นิ้ว รุ่นเสาร์ ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒
ส่วนพระกริ่งพระพุทธภูมิประทานพรเป็นพระกริ่งที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก และมีรูปลักษณะคล้ายพระบูชามาก จะผิดกันก็ตรงด้านหลังตรงบริเวณฐานของพระกริ่งจะมีตัวเลขไทย"๒๕๑๒"ส่วนพระบูชาจะมียันต์สองตัวดังได้กล่าวมาแล้ว
พระกริ่งพระพุทธภูมิ ประทานพร รุ่นเสาร์ ๕ ปี พ.ศ.๒๕๑๒
พระกริ่งพระพุทธภูมิ ประทานพร รุ่นเสาร์ ๕ ปี พ.ศ.๒๕๑๒
พระกริ่งพระพุทธภูมิประทานพร เนื้อพระกริ่งเป็นเนื้อนวโลหะกลับดำคล้ายพระกริ่งพรหมมุนี ของเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช(แพ) เนื้อพระจึงออกกระแสแดง และมีทองชนวนพระคันธาราฐ ปี พ.ศ.๒๔๗๖ และเศษพระชำรุดสมัยทวารวดีตลอดจนแผ่นทองที่ลงอักขระโดยเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกผสมอยู่ จำนวนการสร้างพระกริ่งครั้งนี้ประมาณ ๕๐๐ องค์
เกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษกมีดังต่อไปนี้
๑.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
๒.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
๓.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
๔.หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
๕.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่และยังมีเกจิอาจารย์อีกหลายท่านที่ผู้เขียนยังไม่ทราบ
พระกริ่งพระพุทธภูมิประทานพร นอกจากจะเป็นพระกริ่งที่มีพุทธลักษณะงดงามมากแล้ว ยังเป็นพระกริ่งที่เปี่ยมด้วยพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยมและดีทางค้าขาย โชคลาภ อีกทั้งทางด้านคงกระพันชาตรีและแคล้วคาดก็เป็นเลิศ ถ้าท่านผู้อ่านไม่มีพระกริ่งวัดสุทัศน์ไว้บูชา จะบูชาพระกริ่งพระพุทธภูมิประทานพรแทนก็ได้รับประกันพุทธคุณไม่หนีกัน และประการสุดท้ายราคาเช่าหาก็ถูกมากๆคือราคาประมาณ ๒ พันบาทแต่องค์ที่สวยแชมป์เคยมีคนขายได้ถึง 5,000 บาท จึงเป็นพระกริ่งที่น่าสะสมและเป็นพระที่มีอนาคต
พระกริ่งพระพุทธภูมิประทานพร นอกจากจะเป็นพระกริ่งที่มีพุทธลักษณะงดงามมากแล้ว ยังเป็นพระกริ่งที่เปี่ยมด้วยพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยมและดีทางค้าขาย โชคลาภ อีกทั้งทางด้านคงกระพันชาตรีและแคล้วคาดก็เป็นเลิศ ถ้าท่านผู้อ่านไม่มีพระกริ่งวัดสุทัศน์ไว้บูชา จะบูชาพระกริ่งพระพุทธภูมิประทานพรแทนก็ได้รับประกันพุทธคุณไม่หนีกัน และประการสุดท้ายราคาเช่าหาก็ถูกมากๆคือราคาประมาณ ๒ พันบาทแต่องค์ที่สวยแชมป์เคยมีคนขายได้ถึง 5,000 บาท จึงเป็นพระกริ่งที่น่าสะสมและเป็นพระที่มีอนาคต
สุพล คีรีวิเชียร
081-0434114
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น