พระครูประโชติสันติธรรมหรือที่ชาวบ้านเรียกขานท่านว่าอาจารย์เสริฐ หลวงพ่อประเสริฐ(จิตฺตสนฺโต) ท่านเกิดที่ ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๘ บิดาชื่อนายจันทร์ อินปาน มารดาชื่อนางสังข์ อินปาน(จ๊อกฉำ) มีพี่น้อง ๕ คนคือ
๑.นายยศ อินปาน
๒.นายริน อินปาน
๓.นายอุไร อินปาน
๔.พระครูประเสริฐ (จิตฺตสนฺโต)
๕.นางละออ เขียวฤทธิ์(อินปาน)
พระอาจารย์เสริฐ เดิมท่านชื่อเด็กชายประเสริฐ อินปาน เมื่อสมัยที่ท่านเป็นเด็กเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ หลังจากนั้นบิดามารดาของท่านได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านหนองตาโชติ พอท่านอายุครบบวช ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทที่วัดราชธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัยเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยมีพระโบราญวัตถาจารย์ วัดราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ ห้อม อมโร วัดคูหาสุวรรณเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระเจ้าคณะหมอกกฤติวัดไทยชุมพลเป็นพระอนุสาคณาจารย์ เมื่ออุปสมบทได้รับฉายาว่า"จิตฺตสนฺโต"
หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดหนองตาโชติ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๘ และท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวัดหนองตาโชติ จนสำเร็จสมบูรณ์เป็นวัดหนองตาโชติปัจจุบันนี้
หลวงพ่อประเสริฐ ท่านเป็นพระนักพัฒนาและเป็นผู้นำความเจริญมาสู่หมู่บ้านและวัดหนองตาโชติ เนื่องจากท่านเป็นพระนักเทศน์ และมีจิตวิทยาในการพูดในทางสร้างสรร สร้างความรัก ความสามัคคีให้กับชุมชนในหมู่บ้านหนองตาโชติ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง ซึ่งมีพุทธาคุณในทางป้องภัยต่างๆ โดยเฉพาะอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดซึ่งประสบแก่บุคคลผู้นำวัตถุมงคลของท่านติดตัว นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้นำชุมชนในการนำชาวบ้านหนองตาโชติและทางราชการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญและอยู่ดีกินดี โดยได้ขุดสระน้ำเพื่อกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง จึงทำให้ชาวบ้านมีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี นอกจากนี้ยังได้พัฒนาทำถนนเข้าหมู่บ้านหนองตาโชติโดยขยายทางให้กว้างและบูรณะซ่อมแซมให้ผิวถนนอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้โดยสะดวก เพื่อประชาชนจะได้สัญจรไปมาได้โดยสะดวกจนถึงปัจจุบันนี้
พระครูประโชติสันติธรรม(ประเสริฐ จิตฺตสนฺโต) เจ้าคณะตำบลวังทองแดง ได้รับสมณศักดิ์และมีหน้าที่การงานดังต่อไปนี้
พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นพระฐานานุกรมที่พระใบฎีกาประเสริฐ
พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองตาโชติิ
พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นพระครูชั้นประทวน
พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นรองเจ้าคณะตำบลเมืองเก่า
พ.ศ.๒๕๒๕เป็นเจ้าคณะตำบลวังทองแดงและได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูประโชติสันติธรรม
พ.ศ.๒๕๒๘ เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.๒๕๓๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์จากพระพระครูชั้นตรีเป็นพระครูชั้นโท
ปี พ.ศ.๒๕๓๘ หลวงพ่อประเสริฐ ได้มรณภาพที่โรงพยาบาลจังหวัดสุโขทัย มีอายุได้ ๗๑ ปี ๕๐ พรรษา
หลวงพ่อประเสริฐในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ ท่านได้สร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลหลายอย่างเช่น
๑.พระเนื้อดินและพระเนื้อว่าน
๒.เหรียญปั้มรูปเหมือนรุ่นแรก
๓.เครื่องรางของขลัง(มีหลายชนิด แต่ขอกล่าวเฉพาะตะกรุดโทนพอกว่านยาและผ้ายันต์นกคุ้ม)
พระสมเด็จเนื้อว่าน
เหรียญรุ่นแรก ออกให้บูชาปี พ.ศ. ๒๕๓๕ราคา ๓,๕๐๐ บาท
ตะกรุดโทนพอกว่านยา(๔.๕นิ้ว)
ผ้ายันต์นกคุ้มกันภัย
บทความนี้จะกล่าวถึงเหรียญรุ่นแรกรูปเหมือนท่าน และเป็นเหรียญรุ่นเดียวที่ท่านได้ปลุกเสก ท่านได้สร้างเหรียญรุ่นแรกนี้จำนวน ๒๕,๐๐๐ เหรียญเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ นับเป็นการสร้างวัตถุมงคลที่เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อครั้งแรก และเป็นครั้งเดียวในชีวิตของท่าน เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อประเสริฐนั้น ท่านมอบให้โรงงานไปปั้มนอกวัด แต่ท่านนำเหรียญมาจารตัวยันต์และปลุกเสกเดียวอีกครั้งเป็นเวลานานถึง ๕ ปีเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของเหรียญ ในการปลุกเสกเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกนี้ท่านได้ปลุกเสกตามแบบอย่างพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า ๆ ซึ่งหลวงพ่อประเสริฐได้ศึกษาพระคาถาอาคมต่างๆจากตำราเก่าของหลวงพ่อต่วน วัดลาย อำเภอคีรีมาส จังหวัดสุโขทัย(หลวงพ่อต่วน วัดลายท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุโขทัย) ดังนั้นวัตถุมงคลต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกหรือพระเนื้อว่านและตะกรุดโทนและอื่นๆ มักจะปรากฏอภินิหารเสมอๆ หลวงพ่อประเสริฐท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในวิปัสสนากรรมฐานและคาถาอาคารูปหนึ่ง ถึงกับกล่าวได้ว่า"ในบรรดาศิษย์สายหลวงพ่อต่วนวัดลาย ท่านเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร หรือจะกล่าวนัยหนึ่งว่าท่านกับหลวงพ่อต่วนเก๋งไม่แพ้กัน"
เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๖ผู้เขียนได้เข้ากราบนมัสการหลวงพ่อประเสริฐหลายครั้ง และได้มีโอกาสเรียนถามท่านเกี่ยวกับเหรียญรุ่นแรก ท่านได้กรุณาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ทางวัดได้สั่งจ้างโรงงานปั้มเหรียญรุ่นแรกนี้ เดิมทีเหรียญรุ่นนี้ได้สั่งปั้มจำนวน ๒๐,๐๐๐ เหรียญ แต่ทางโรงงานปั้มเหรียญให้ ๒๕,๐๐๐เหรียญ แถมให้ทางวัด ๕,๐๐๐เหรียญ เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของเหรียญหลวงพ่อประเสริฐลงจารตัวยันต์ทุกเหรียญและปลุกเสกเป็นเวลา ๕ ปี และได้ออกให้ประชาชนบูชาในงานวันสงกรานต์ซึ่งเป็นงานประจำปีของวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ ในราคาเหรียญละ ๑๐ บาท ประชาชนให้ความสนใจมาก เหรียญได้จำหน่ายหมดภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี หลังจากนั้นท่านก็ไม่เคยสร้างพระรูปเหมือนท่านอีกเลย จนกระทั่งท่านมรณภาพในปี พ.ศ.๒๕๓๘ดังได้กล่าวมาแล้ว(พระรูปหล่อลอยองค์รูปเหมือนหลวงพ่อประเสริฐขนาดเท่าองค์จริงหรือที่เป็นพระเครื่อง เป็นการสร้างภายหลังหลวงพ่อมรณภาพแล้ว)
ด้านประสบการณ์ดีทางแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี ผู้เขียนจะขอกล่าวเหตุการณ์ที่ครื่องบินตกที่อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย เมื่อประมาณสิบกว่าปีก่อน เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก ได้ตกลงที่ตำบลเตว็ด อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย สาเหตุเนื่องจากบรรทุกชาวบ้านเกินจำนวนที่กำหนด มีผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมด แต่มีผู้รอดชีวิตคนเดียวคือนายสงัด เต่าเล็ก นายสงัด เต่าเล็กมีเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อประเสริฐติดตัวเพียงเหรียญเดียว และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือคนร้าย(โจร) ได้ใช้ปืนเอ็ม-๑๖ ยิงใส่เจ้าของรถจักรยานยนต์หวังปล้นรถจักรยานยนต์ ลูกปืนเอ็ม-๑๖ถูกผู้เสียหายแต่ไม่เข้า มีเพียงเสื้อผู้เสียหายขาดเพราะถูกลูกกระสุนปืน และรถจักรยานยนต์ถูกลูกปืนเสียหายใช้การไม่ได้ ดังนั้นเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อประเสริฐจึงเป็นเหรียญที่เปี่ยมด้วยพุทธคุณ และมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่แพ้เหรียญหลวงพ่อเอม วัดคลองโปร่ง จนชาวสุโขทัยพูดเป็นเสียงเดียวว่า"ถ้าไม่มีเหรียญแจกแม่ครัวรุ่นแรกหลวงพ่อเอม จะบูชาเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อประเสริฐติดตัวก็ได้ รับรองพุทธคุณไม่แพ้กัน ไม่ตายโหงเหมือนกัน"
เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อประเสริฐ นับว่าเป็นเหรียญดีเหรียญหนึ่งที่น่าเก็บสะสม ค่านิยมอยู่ที่ประมาณ ๓,๐๐๐ บาท อนาคตมีสิทธิ์เล่นหากันหลายหมื่นบาทหรือราคาเป็นอันดับสองรองจากเหรียญแจกแม่ครัวรุ่นแรกหลวงพ่อเอมวัดคลองโปร่งก็ได้
นายสุพล คีรีวิเชียร
081-0434114
พระบูชาวัดโพธาราม จ.สุโขทัย พ.ศ.๒๕๑๘
ปางลีลา สูง ๒๐ นิ้ว
ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๒ นิ้ว
พระโพธิสัตว์กวนอิม มูลนิธิร่วมมิตรสุโขทัย (โรงเจ)
เนื้อทองคำ 99% หนักประมาณ 1 บาท
เหรียญหล่อโบราณหลวงพ่อสองพี่น้องปี วัดหนองโว้ง พ.ศ.2471
ปลุกเสกโดยมหาโต๊ะ วัดเลียบ มหาโต๊ะท่านนี้มีความเก่งกล้าในวิชาอาคมมากบางท่านว่าเก่งกว่าหลวงปู่สุข วัดมะขามเฒ่าอีก ในอดีตเข้าใจว่าเป็นเหรียญหล่อหลวงปู่ชู วัดนาคปรก แต่ความจริงหลวงปู่ชูไปร่วมปลุกเสกจึงได้รับมาส่วนหนึ่ง
เหรียญมีสองแบบ แบบตัดหูเชื่อมห่วงเงินโดยช่างเย็น (อาศัยอยู่หน้าวัด) เป็นคนเชื่อม และแบบไม่ตัดหู (สภาพเดิม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น