พระครูอินทเขมา (ห้อง) พระปลัดคลื้น พุทธรักขิตะ
รูปหล่อเท่าองค์จริง พระครูอินทเขมา (ห้อง)
รูปหล่อเท่าองค์จริง พระราชเขมาจารย์ (เปาะ)
วัดช่องลมตั้งอยู่บนถนนไทรเพชร ตำบลบ้านเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แต่เดิมวัดชื่อ"ช้างล้ม" ในอดีตบริเวณวัดเป็นป่าไผ่ มีโขลงช้างมาอาศัยหากินอยู่บริเวณนั้น เมื่อช้างเกิดป่วย เจ็บ และล้มตาย ก็จะตายบริเวณนั้น จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านในบริเวณนั้นขนานนามว่า "วัดช้างล้ม"
ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลราชบุรี ได้ประทับ ณ วัดนี้ ด้วยเหตุวัดนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองเป็นเหตุให้บริเวณในวัดมีอากาศร่มรื่นเย็นสบาย มีต้นไม้ใหญ่น้อยหนาแน่นมาก บริเวณวัดสะอาด และมีลมพัดเย็นตลอดเวลา สมเด็จ ฯท่านได้ตรัสขึ้นด้วยความสะบายใจว่า"วัดนี้อากาศเย็นสบายเหมือนวัดช่องลม มีลมพัดผ่านตลอดเวลาทุกฤดูกาล"
เมื่อสมเด็จพระมหาพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จกลับแล้ว พระครูอินทเขมา(ห้อง) ได้จดจำคำว่า "วัดช่องลม" จากสมเด็จฯที่ท่านทรงตรัสไว้ พระครูอินทเขมา(ห้อง) จึงได้ปรึกษากับพระ เณร ไวยาวัจกรวัดและชาวบ้านรอบวัด เพื่อความเป็นศิริมงคล เห็นสมควรเปลียนชื่อวัดจากเดิมว่า"วัดช้างล้ม"เป็น"วัดช่องลม" ตามพระดำรัสของสมเด็จในครั้งนํ้น
วัดช่องลมสร้างเมื่อครั้งใด ไม่มีหลักฐานแน่นอน ส่วนเจ้าอาวาสที่ปรากฏหลักฐานมีดังต่อไปนี้
๑. พระครูอินทเขมา(ห้อง)
๒. พระปลัดคลื้น พุทธรักขิตะ
๓.พระราชเขมาจารย์(เปาะ อินฺทสโร)นามสกุล กิมพิทักษ์
๔. พระราชวรเวที่(กวีธะโร)นามเดิมว่า"ประเทศ กวียาหตร์
๕.พระครูโสภณปัญญาวัฒน์(ปัญญาทีโป) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม ท่านเป็นชาวบ้านโพธิ์ (คำบอกเล่าของหลวงพ่อเปาะได้เล่าให้พระราชวรเวทีฟัง และพระราชวรเวทีได้เล่าให้คุณบุญเสริม ศรีภิรมณ์ฟัง เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๙) ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม จังหวัดราชบุรี ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จมาเยี่ยมเยียน และทรงฟังพิณพาทย์ของหลวงพ่อห้อง และท่านเล่นพิณพาทเก่งมากได้ไพเราะ ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ ถวายเงินเป็นรางวัลให้หลวงพ่อห้องถึงหนึ่งชั่ง
หลวงพ่อห้องท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๓๘๘ ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อ แสง โยมมารดาชื่อ นาค (แต่บทความของอาจารย์เภา ศกุนตะสุตที่ท่านได้บันทึกในหนังสืออาณาจักรพระเครื่องว่าโยมบิดาท่านเป็นคนจีนชื่อ แป๊ะ โยมมารดาชื่อ ขำ อยู่ที่บ้านท่าเสา อำเภอเมือง)
เมื่อท่านอายุครบบวช(ปีพ.ศ.๒๔๐๙) หลวงพ่อห้องได้อุปสมบทที่วัดช่องลม โดยมีท่านเจ้าอาวาส วัดช่องลมในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดจันทร์ วัดพญาไม้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเรือง วัดท้ายเมือง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พุทธสโร"
เมื่อท่านบวชแล้ว หลวงพ่อท่านประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และบำเพ็ญ ศาสนกิจของสงฆ์ถูกต้องตามพุทธบัญญัติทุกประการ จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๙ มีอายุได้ ๘๑ปี เนื่องจากท่านปฏิบัติเคร่งในพระธรรมวินัย ทรงศีลาจริยาวัตร ปฏิบัติิศาสนกิจโดยมิขาดตกบกพร่อง เมื่อท่านได้เป็นสมภารปกครองวัด ท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างถาวรวัตถุ เช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิและอื่น ๆอีกมากมาย คณะสงฆ์เห็นคุณงามความดีของท่าน จึงแต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
พ.ศ.๒๔๓๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอินทเขมา ตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัด
พ.ศ.๒๔๕๕ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัด
พ.ศ.๒๔๖๑ ด้วยเหตุท่านชรามาก จึงโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกิตติมศักดิ์
หลวงพ่อห้อง ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านมีพระน้องชายรูปหนึ่ง และบวชอยู่ที่วัดช่องลม ชื่อ พระปลัดคลื้น (พุทธรักขิตะ) พระปลัดคลื้น ท่านอายุอ่อนกว่าหลวงพ่อห้องเพียง ๓ ปี ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๑ มรณภาพ พ.ศ.๒๔๗๓ ต่อมาท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมต่อจากหลวงพ่อห้อง พระปลัดคลื้นท่านเป็นหัวเลี้ยวหัวแรงสำคัญในการพัฒนาวัดช่องลม ช่วยแบ่งเบาภาระของหลวงพ่อห้องเป็นอันมาก พระปลัดคลื้นท่านเป็นช่างไม้ ช่างก่อสร้าง และรอบรู้ในศิลป และดนตรี ทั้งพระ เณรและชาวบ้านต่างเคารพนับถือทั้งหลวงพ่อห้องและพระปลัดคลื้น จึงขนานนามหลวงพ่อห้องว่า"หลวงพ่อใหญ่" ส่วนพระปลัดคลื้นได้รับฉายาว่า"หลวงพ่อเล็ก"
หลวงพ่อเล็ก นอกจากท่านจะมีความสามารถในการก่อสร้าง ศิลป และดนตรีแล้ว ท่านยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานและคันธถุระ ตลอดจนวิชาอาคม เรียกได้ว่าวิชาอาคมของหลวงพ่อเล็ก ไม่ด้อยไปกว่าของหลวงพ่อใหญ่ ดังนั้นการสร้างพระของหลวงพ่อห้อง พระปลัดคลื้นจะต้องร่วมปลุกเสกเสมอ
ในสมัยที่หลวงพ่อห้องยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้สร้างพระเครื่องในรูปแบบเหรียญปั้มและเหรียญหล่อโบราณ เมือประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๖๕ และบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเหรียญหล่อโบราณที่สร้าง ปี พ.ศ.๒๔๖๕ เท่านั้น
เหรียญหล่อโบราณของหลวงพ่อห้องมี ๒ พิมพ์ คือพิมพ์หน้าใหญ่ และพิมพ์หน้าเล็ก มี ๓เนื้อ ๑.เงินบ้องยาสูบ ๒. ขันลงหิน ๓. ชินตะกั่ว ลักษณะของเหรียญเป็นรูปไข่ หวงในตัว เป็นรูปหลวงพ่อนั่งขัดสมาธิ เหนือศรีษะหลวงพ่อมียันต์ ๔ ตัว ด้านหลังเหรียญมียันต์ ๔ แถว พิมพ์หน้าใหญ่พระพักตร์ของหลวงพ่อจะเป็นรูปไข่เรียวยาวคล้ายหน้าหลวงพ่อห้อง ส่วนพิมพ์หน้าเล็กพระพักตร์ของหลวงพ่อเป็นรูปเหลี่ยมคางแหลมคล้ายหน้าพระปลัดคลื้น ผู้เขียนจึงสันนิฐานว่า พิมพ์หน้าใหญ่ น่าจะเป็นรูปจำลองหลวงพ่อห้อง ส่วนพิมพ์หน้าเล็ก น่าจะเป็นรูปจำลองพระปลัดคลื้น ประกอบกับเหรียญปั้มหลวงพ่อห้องก็มีสองพิมพ์คือพิมพ์หน้าใหญ่และพิมพ์หน้าเล็ก (ข้อสันนิฐานนี้อาจจะผิดพลาดก็ได้ ถ้าท่านผู้อ่านมีหลักฐาน ก็ขอได้โปรดติดต่อมายังผู้เขียน เพื่อจะได้เผยแพร่ในโอกาสต่อไป ขอขอบคุณ)
เหรียญหล่อ หลวงพ่อห้อง เนื้อขันลงหิน ปี พ.ศ.๒๔๖๕
(เหรียญหลวงพ่อห้องพิมพ์นี้ในอดีตเป็นพิมพ์ที่มีประสบการณ์มากที่จนนักสะสมพระเครื่องทั่วไปเข้าใจผิดว่าเป็นเหรียญหลวงพ่อเงินบางคลานจึงเป็นเหรีญยที่มีค่านิยมสูงที่สุดของหลวงพ่อห้องและเป็นเหรียญที่มีการทำปลอมมากที่สุด)
เหรียญหล่อ หลวงพ่อห้อง เนื้อชินตะกั่ว ปี พ.ศ.๒๔๖๕
หลวงพ่อแก่นจันทร์
( พระประธานไม้แกะโบราณ )
พระอุโบสถ วัดช่องลม
บทความนี้ ถ้าก่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ขอมอบความดีนี้แด่นายสันติ มณีงาม ไวยาวัจกรวัดช่องลม และพระครูปลัดสำอางค์ฐิตสมฺโม
สุพล คีรีวิเชียร
081-0434114
พระปิดตาหลวงตาพร้อม วัดพระงาม แม่พิมพ์พระถอดมาจากพระปิดตา
หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จึงเป็นเหตุให้เข้าใจผิดว่าท่านเป็นศิษย์หลวงปู่นาค
วัดห้วยจระเข้ หลวงตาพร้อม ท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุ โดยการเสกแร่ทองแดง
หรือทองเหลืองให้เป็นแร่ทองคำ แต่ทำไม่สำเร็จ ท่านนำโลหะที่เล่นแร่แปรธาตุ
มาเทหล่อเป็นพระปิดตา
พระปิดตาหลวงตาพร้อม วัดพระงาม
พระโพธิสัตว์กวนอิม มูลนิธิร่วมมิตรสุโขทัย (โรงเจ)
เนื้อทองคำ 99% หนักประมาณ 1 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น