หลวงพ่อน้อย ( คนฺฺธโชโต ) วัดศีรษะทอง
เกจิอาจารย์ที่พรรษาน้อยที่สุด ที่ร่วมในพิธีพุทธาภิเษกพระคันธารราฐ วัดพระปฐมเจดีย์ ๒๔๗๖
เมื่อกล่าวนามหลวงพ่อน้อย ท่านผู้อ่านคงจะคิดว่าหมายถึงหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา ยอดเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ ถึง๒๕๑๓ แต่หาเป็นดังเช่นท่านผู้อ่านคิดเช่นนั้นไม่
หลวงพ่อน้อยที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงในบทความนี้คือ หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ยอดเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุค พ.ศ.๒๔๗๐กว่าถึง พ.ศ.๒๔๘๘ ในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่าหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา และหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ทั้งๆที่ท่านมีอายุพรรษาน้อยกว่าหลวงน้อย วัดธรรมศาลา และหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เรียกได้ว่าท่านเป็นอาจารย์คนตั้งแต่อายุยังน้อยๆ
วัดศีรษะทองเป็นวัดราษฎร์ สังกัดฝ่ายมหานิกาย เลขที่ ๒๒ หมู่ ๑ ตำบลศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เดิมวัดชื่อว่า "วัดหัวทอง" ตั้งอยู่ในตำบลห้วยตะโก อันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวลาวเวียงจันทร์ที่อพยพเข้ามาในสมัยรัชกาล ที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓ ได้อพยพลงมาทางใต้ แล้วมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่หลายพื้นที่ด้วยกัน เช่น บริเวณหมู่บ้านกลางคูเวียง ริมคลองบ้านกล้วย และริมแม่น้ำนครชัยศรี อีกส่วนหนึ่งมาปักหลักลึกเลยแม่น้ำเข้ามาอยู่บริเวณวัดหัวทอง แต่ในขณะนั้นยังมิได้มีการสร้างวัด เมื่อชาวบ้านจะต้องทำบุญใส่บาตร หรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จะต้องเดินทางไกลไปประกอบที่วัดอื่น จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านดำริที่จะสร้างวัดขื้นใหม่ ระหว่างขุดดินปรับพื้นที่บริเวณวัดได้พบเศียรพระพูทธรูปทองคำขนาดใหญ่ จึงถือเป็นนิมิตที่ดี จึงตั้งชื่อว่า"วัดหัวทอง"
ต่อมาทางการได้ขุดคลองแยกแม่น้ำนครชัยศรี เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ชื่อคลองเจดีย์บูชา คลองนี้ผ่านทางทิศใต้ของที่ตั้งวัดหัวทองในปัจจุบัน ชาวบ้านจึงย้ายหมู่บ้านและวัดหัวทองมาตั้งตามแนวคลองเจดีย์บูชาที่ขุดขึ้นใหม่ ครั้นสมัยหลวงพ่อน้อยมาเป็นเจ้าอาวาสเห็นว่าชื่อวัดหัวทอง ฟังดูไม่ไพเราะ จึงเปลี่ี่ยนเป็นชื่อ"วัดศีรษะทอง" ดังปัจจุบันนี้
ลำดับเจ้าอาวาส
๑.หลวงพ่อไตร (ชาวลาวเวียงจันทร์)
๒.หลวงพ่อตัน (เป็นหลานหลวงพ่อไตร)
๓.หลวงพ่อลี (เป็นน้องหลวงพ่อตัน)
๔.พระอธิการทอง
๕.พระอธิการช้อย
๖.หลวงพ่อน้อย คนฺฺธโชโต
๗.พระอธิการปิ่น ฐานเณสโก
๘.พระครูสมุห์ปั่น จิตฺตเปโม
๙.พระอธิการพนม นิมฺมโล
บทความนี้จะกล่าวถึง ประวัติหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองเจ้าอาวาส รูปที่ ๖ เท่านั้น
หลวงพ่อน้อย(คนฺธโชโต) ท่านเกิดวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๕มรณภาพปี พ.ศ.๒๔๘๘ ที่ตำบลศีรษะทอง โยมบิดาชื่อ มาโยมมารดาชื่อ มี นามสกุล"นาวารัตน์" โยมบิดาท่านเป็นชาวลาวเวียงจันทร์ที่มีวิชาอาคม แก่กล้าในคาถาเวทมนต์และคงกระพันชาตรี โดยร่ำเรียนมาจากบรรพบุรุษของท่าน โดยเฉพาะวิชาคงกระพันชาตรีโยมมาสามารถเอามีดสับเนื้อตัวเองให้ดู อย่างไม่ระคายผิว เมื่อหลวงพ่อน้อยอายุครบบวช ท่านได้อปสมบท ที่วัดแค โดยมีพระอธิการยิ้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการเกิด วัดยิ้วราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มุน วัดกลางคูเวียง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า่"คนฺธโชโต"
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้จำพรรษาที่วัดแค เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยระยะหนึ่ง ต่อมาได้กลับมาศึกษาวิทยาคมที่วัดศีรษะทอง เนื่องจากท่านมีพื้นฐานทางด้านวิปัสสนากรรมฐานตลอดจนวิชาอาคมโดยได้ศึกษามาจากโยมบิดามาก่อนหน้านั้นแล้ว ประกอบกับท่านเป็นคนขยันขันแข็งทำให้การศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระของวัดแค และวัดศีรษะทองสำเร็จลงได้อย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าท่านเป็นอาจารย์คนตั้งแต่พรรษายังน้อย ๆ ดังนั้นในพิธีพุทธาภิเษกพระคันธารราฐที่วัดพระปฐมเจดีย์ พ.ศ.๒๔๗๖หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองท่านก็ได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนั้นด้วย นับได้ว่าท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่พรรษาน้อยที่สุดในพิธี นอกจากพิธีพุทธาภิเษกพระคันธารราฐแล้ว ท่านยังได้ร่วมพิธิพุทธาภิเษกพระร่วงใบมะยม พ.ศ.๒๔๘๔,๒๔๘๕ และ ๒๔๘๗ ตามลำดับ
สมัยที่หลวงพ่อน้อยมีชีวิตอยู่ เครื่องรางที่สร้างชื่อเสียงให้ท่านมากได้แก่ พระราหูอมจันทร์แกะจากกลาตาเดียวและวัวธนูทำจากครั่งพุทรา แต่เนื่องจากเครื่องรางของท่านหาข้อยุติได้ยากในการตัดสินว่า เป็นของแท้ของท่านหรือไม่ ดังนั้นท่านผู้อ่านที่มีความประสงค์อยากได้เครื่องรางของท่านไว้ในครอบครอง ก็ต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน มิฉนั้นท่านอาจต้องผิดหวังได้ของเทียมไว้ในครอบครอง ส่วนท่านผู้อ่านที่มีเครื่องรางของท่านไว้ในครอบครองแล้วโดยเป็นของตกทอดทางมรดกที่ได้รับจากมือหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ก็จงรักษาไว้ให้ดี
พระราหู ( กะลาตาเดียว )
วัวธนู เนื้อครั่งพุทรา
ส่วนพระเครื่องที่สร้างในสมัยที่หลวงพ่อน้อยยังมีชิวิตอยู่คือเหรียญหล่อโบราณรูปกลีบบัวพิมพ์พระพุทธ ซึ่งเป็นเหรียญที่สร้างจากเนื้อโลหะผสมเรียกว่าขันลงหิน ซึ่งหลวงพ่อตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อสมณาคุณผู้มาร่วมทำบุญในงานฝังลูกนิมิต และท่านได้จัดพิธีเทหล่อพระดังกล่าวที่วัดศีรษะทอง เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๖ ในการสร้างพระครั้งนี้มีเพียงสองพิมพ์ คือ เหรียญหล่อกลีบบัวพิมพ์พระพุทธซุ้มพญานาค และซุ้มลายกนก ขนาดกว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร สูงประมาณ ๒.๗ เซนติเมตร
เหรียญกลีบบัวพิมพ์พระพุทธซุ้มพญานาค มีจำนวนมากกว่าเหรียญกลีบบัวพิมพ์พระพุทธซุ้มลายกนก(พระคะแนน) หลวงพ่อน้อยท่านมีความสนิทสนมกับหลวงปู่นาค วัดระฆัง ดังนั้นในพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้หลวงปู่นาคได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วย
เหรียญหล่อรูปกลีบบัว พิมพ์พระพุทธ ซุ้มลายพญานาค
เหรียญหล่อรูปกลีบบัว พิมพ์พระพุทธ ลายกนก
เมื่อเทหล่อพระกลีบบัวเสร็จพิธีแล้ว หลวงพ่อท่านก็ปลุกเสกเดี่ยวมาตลอด โดยท่านตั้งใจว่าจะนำเหรียญหล่อกลีบบัวนี้ออกสมณาคุณต่อท่านที่มาร่วมทำบุญในงานฝังลูกนิมิตดังได้กล่าวมาแล้ว แต่แล้วก็หาเป็นไปตามที่หลวงพ่อน้อยคาดหวังไม่ เพราะหลางพ่อท่านได้มรณภาพก่อนมีงานฝังลูกนิมิต หลวงพ่อน้อยมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
เหรียญหล่อโบราณรูปกลีบบัวพิมพ์พระพุทธ นับได้ว่าเป็นพระเครื่องที่หลวงพ่อน้อยได้ใช้เวลาปลุกเสกนานถึง ๒ ปี จึงเป็นพระเครื่องที่ดีที่สุดที่หลวงพ่อน้อยได้สร้างขึ้นค่านิยมอยู่ที่ประมาณองค์ละ หลายหมื่นบาท บาท
เหรียญหลวงพ่อน้อยวัดศีรษะทอง
เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญตาย สร้างในสมัยพระอธิการปิ่น ฐานเณสโก อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๗
สุพล คีรีวิเชียร
081-0434114
นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร
ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง
พระพิฆเนศรุ่น “สัมฤทธิคุณ” ปี 2556
ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด
สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น “สัมฤทธิคุณ” รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
รุ่น “สัมฤทธิคุณ” รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้ไม่แน่ใจว่ายังเหลือหรือเปล่า
พระพิฆเนศรุ่น “สัมฤทธิคุณ” ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์)
โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น