คนนครปฐมโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย มีความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเครื่อง ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สมเด็จผาสุก (พิมพ์เล็ก) เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส




            พระภิกษุธัมมวิตักโกหรือที่ชาวบ้านรู้จักท่านในนามเจ้าคุณนรฯ ท่านเกิดวันเสาร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๔๔๐ ตรงกับขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันมาฆบูชา ปีระกา เวลาประมาณ ๗.๒๔ น. เดิมชื่อนายตรึก จินตยานนท์ เป็นบุตรคนโตของนายตรอง นางพุก จินตยานนท์ (นายตรอง จินตยานนท์ อดีตคือพระคุณนรนาฎภักดี นายอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี)
           ท่านเจ้าคุณนรฯวัยเด็กท่านมีรูปร่างเล็กบอบบาง ผิวพรรณละเอียดอ่อนเปล่งปลั่งเป็นน้ำเป็นนวล อันเป็นลักษณะของผู้มีสกุลชาตฺ ผู้มีบุญวาสนาสูง เมื่อถึงวัยอันสมควร ท่านได้เข้าศึกษาเรียนหนังสือชั้นประถมที่โรงเรียนวัดโสมนัสและศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร เมื่อศึกษาจบแล้ว เดิมทีท่านตั้งใจจะเรียนแพทย์ เพื่อจะได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย แสดงให้เห็นว่าท่านมีจิตใจเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ แต่พระคุณวรนาฎภักดีบิดาของท่าน ต้องการให้บุตรชายเป็นนักปกครองเจริญรอยตามบุพการี ท่านเจ้าคุณนรฯเป็นเด็กว่านอนสอนง่าย สูงด้วยความเคารพต่อบิดา จึงต้องทำตามประสงค์ของบิดา เจ้าคุณนรฯท่านจึงเข้าศึกษาขั้นอุดมศึกษาที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือนหอวัง ต่อมาได้ยกฐานะเป็นคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สำเร็จเป็นรัฐศาสตร์บัณฑิต รุ่นแรก
          เมื่อท่านสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้รับราชการในกรมมหาดเล็กหลวง แผนกตั้งเครื่อง ตำแหน่งมหาดเล็กพิเศษ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๗ และระยะเวลา ๘ ปี ท่านก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้ากรมห้องพระบรรทม มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยานรรัตนราชมานิต เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ขณะนั้นมีอายุได้ ๒๕ ปี และเป็นองคมนตรีในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๗
          ท่านเจ้าคุณนรฯรับราชการจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตท่านได้อุปสมบท(บวชหน้าไฟ) เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เนื่องในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๘ ณ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ ญาณวรเถระ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า"ธมฺมวิตกฺโก"
          เมื่อท่านธัมมวิตักโก ได้อุปสมบทแล้ว ท่านตั้งใจว่าจะบวชทดแทนคุณในหลวงรัชกาลที่ ๖ ระยะเวลาหนึ่ง แล้วท่านก็จะลาสิกขาเพื่อไปรับราชการต่อไปและมีครอบครัว เมื่อท่านได้ศึกษาและปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็ทราบซึ้งในพระธรรม เล็งเห็นว่า ลาภ ยศ สรรเสริญเป็นความสุขที่ไม่ยั่งยืน ท่านจึงตันสินใจจะครองสมณเพศตลอดชีวิตของท่าน ทั้งๆที่ท่านมีตำแหน่งหน้าที่ทางราชการรอท่านอยู่ ตลอดจนทรัพย์สมบัติและโอกาสที่จะหาความเจริญในทางโลกต่อไปอย่างพร้อมมูล
          เมื่อท่านแน่วแน่ว่าจะปฏิบัติธรรมตลอดชีวิตของท่าน การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของท่านก็เจริญก้าวหน้าจนหาพระภิกษุรูปอื่นเทียบท่านได้ ท่านสามารถถอดจิตไปในสถานที่ต่างๆ แม้สถานที่นั้นจะอยู่ต่างประเทศอันเป็นแดนไกลก็ตาม ท่านได้แสดงปาฏิหาริย์มากมายหลายครั้ง จนเกิดเสียงร่ำลือของคนไทยทั้งประเทศว่าท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์
          การปฏิบัติธรรมของท่านเจ้าคุณนรฯ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในฐานะใดทุกระดับชั้น แม้แต่ข้าราชการที่มีตำแหน่งสูงถึงนายกรัฐมนตรี และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ระดับผู้บัญชาทหารบก ได้แก่นายสัญญา ธรรมศักดิ์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และพลเอกกฤษณ์ สีวะรา ก็ให้ความเคารพนับถือท่าน โดยเฉพาะหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชได้เคยเข้าไปกราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ที่พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส หลังจากท่านเจ้าคุณนรฯทำวัตรเสร็จ ก็ได้พูดคุยถามถึงสาระทุกข์สุกดิบสุขภาพของท่านสบายดีหรือไม่ เจ็บไข้ได้ป่วยหรือเปล่า และเรื่องอื่นๆ เมื่อสบโอกาสเหมาะ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชจึงเรียนถามท่านว่า"เกล้าฯได้ยินข่าวร่ำลือว่าพระเดชพระคุณท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์จริงหรือขอรับ" เมื่อท่านเจ้าคุณนรฯได้ยินคำถามของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านก็กวักมือเรียกหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชให้เข้ามาใกล้ๆท่านและพูดตอบกระซิบว่า"เธอจะบ้าหรือไง" ผู้เขียนเข้าใจว่าคำตอบของท่านเจ้าคุณนรฯ มิใช่คำตอบรับหรือปฏิเสธ แต่เป็นคำตอบที่มีลักษณะตำนิติเตียนว่าไม่ควรถามคำถามนี้ต่อพระภิกษุ เป็นคำถามที่ไม่เหมาะสมไม่สมควรเพราะถ้าพระภิกษุตอบรับหรือปฏิเสธ ก็จะมีผลเสียหายมากกว่าผลดี ถ้าท่านตอบรับว่าสำเร็จเป็นพระอรหันต์ บุคคลอื่นที่มีใจอิษฉาริษยา จะกล่าวโจมตีว่าเป็นการโอ้อวดคุณวิเศษยกตนข่มผู้อื่น แต่ถ้าท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์จริง แล้วท่านกล่าวปฏิเสธ ก็จะเป็นการกล่าวเท็จผิดศิล ซึ่งผิดกับปัจจุบันนี้ พระภิกษุไม่ว่าหัวหงอกหรือหัวดำมักจะอวดอุตริอ้างว่าตนเองสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผู้เขียนไม่ทราบว่าท่านทำเพื่ออะไร ?
          หลังจากที่ท่านเจ้าคุณนรฯมรณภาพเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๔ ชื่อเสียงของท่านก็เริ่มโด่งดัง  โดยเฉพาะปีพ.ศ.๒๕๑๖-๒๕๑๘ชื่อเสียงของท่านดังทั่วประเทศ มีเสียงร่ำลือว่าท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์ัดังได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น พระเครื่องของท่านจึงเป็นที่นิยมมากของนักสะสมพระเครื่อง มีเสียงร่ำลือว่าพระเครื่องที่ท่านนั่งปรกปลุกเสกเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๓ซึ่งมีจำนวนมาก ได้จำหน่ายหมด แต่ประชาชนยังมีความต้องการอีกมาก จึงมีการสร้างเสริมขึ้นมา ซึ่งข้อเท็จจริงนี้ผู้เขียนไม่ขอยืนยัน ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของท่านผู้อ่าน



สมเด็จผาสุก (พิมพ์เล็ก) บล็อกแตก


สมเด็จผาสุก (พิมพ์เล็ก) บล็อกแตก


สมเด็จผาสุก (พิมพ์เล็ก) บล็อกไม่แตก


           บทความนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงพระสมเด็จผาสุก(พิมพ์เล็ก) ซึ่งเป็นพระที่เข้าพิธี ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๓ ณ พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งมีจำนวนการสร้างน้อยมาก(ประมาณ ๒,๐๐๐-๓๐๐๐องค์) พระชุดนี้ท่านเจ้าคุณอุดมตั้งใจเอาไว้แจกในงานวันเกิดท่าน จึงไม่มีการจำหน่าย แต่พระชุดนี้ส่วนหนึ่งท่านเจ้าคุณอุดมได้มอบให้เจ้าคุณวัดโพธิ์ จังหวัดสุโขทัย พระชุดนี้จึงตกอยู่จังหวัดสุโขทัยเป็นจำนวนมาก ในกรุงเทพฯหาได้ยาก พระสมเด็จผาสุกเล็กในเวลานั้นคนรู้จักน้อย ผู้เขียนมั่นใจว่าพระชุดนี้ไม่มีการสร้างเสริมแน่นอน
           พระสมเด็จผาสุกเล็กเป็นพระเนื้อผงเช่นเดียวกับสมเด็จหลังอุ ขนาดฐานกว้าง ๑.๕ เซนติเมตร สูง ๒.๒ เซนติเมตร ด้านหลังองค์พระ มีรูปยันต์น้ำเต้า และมีข้อความว่า"ผาสุก" พุทธคุณดีทางด้านเมตตาและแคล้วคลาด ค่านิยมราคาประมาณองค์ละ ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ บาท







                                                                                                      สุพล คีรีวิเชียร
                                                                                                     ๐๘๑-๐๔๓๔๑๑๔       
                                                              
                      
                           
                         
                         
                       
                                                 

                         





























































วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เหรียญระฆังศิริมงคล เสาร์ห้า ปี ๒๕๑๖ หลวงพ่อเกษม เขมโก


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ทรงนมัสการหลวงพ่อเกษม เขมโก

            เมื่อกล่างถึงเหรียญระฆังศิริมงคล เสาร์ห้าหรือเหรียญวีรชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ของหลวงพ่อเกษม เขมโก ทุกท่านคงจะรู้จักว่าเป็นเหรียญคุณพระที่มีพุทธานุภาพสูง เป็นเหรียญที่สร้างชื่อเสียงให้กับหลวงพ่อเกษม จนเป็นที่รู้จักของคนไทยทั้งประเทศ ก่อนที่จะกล่าวถึงประวัติของเหรียญระฆังศิริมงคลรุ่นนี้ ผู้เขียนขอกล่าวประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก ให้ท่านผู้อ่านทราบพอเป็นสังเขป ดังต่อไปนี้
            หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านเป็นชาวลำปาง กำเนิด วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๕ เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้องสองคน ของเจ้าหนูน้อย ณ ลำปาง( ต่อมาภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น"มณีอรุณ") รับราชการเป็นปลัดอำเภอ มารดาชื่อเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ทั้งสองเป็นหลานเจ้าหลวงบุญวาทย์ วงศ์มานิต
           เมื่อวัยเด็กเจ้าเกษม ณ ลำปางมีรูปร่างค่อนข้างเล็กบอบบาง ผิวขาว แต่ดูเข้มแข็งคล่องแคล่ว มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นเด็กซน คืออยากรู้อยากเห็น เมื่อถึงวัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบุญทวงค์อนุกูล จนเรียนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียน คือ ประถมปีที่ ๕ ขณะนั้นอายุได้ ๑๑ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๖๖
           เมื่อออกจากโรงเรียน ก็ไม่ได้ศึกษาต่อ อยู่บ้าน ๒ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ อายุได้ ๑๓ ปี เจ้าเกษม ณ ลำปางก็ได้เข้าสู่กาสาวพัสตร์ โดยพรรพชาเป็นสามเณรหน้าศพ(บวชหน้าไฟ) เจ้าอาวาสวัดป่าตัวะ บวชได้ ๗ วัน ก็ลาสิกขา ต่อมาอีก ๒ ปีราว พ.ศ.๒๔๗๐ อายุได้ ๑๕ ปี เจ้าเกษม ณ ลำปางได้อุปสมบทเป็นสามเณร ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง เมื่ออุปสมบทเป็นสามเณรแล้ว สามเณรเกษม ได้จำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดบุญยืน เรียนพระปริยัติจนสามารถสอบนักธรรมโทได้ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ และต่อมาเมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.๒๔๗๖ ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบุนยืน โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมจินดานายก(ฝ่าย) เจ้าอาวาส วัดบุญวาทย์วิหาร เจ้าคณะจังหวัดลำปางในสมัยนั้น ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูอุตตรวงศ์ธาดา ( ปัญญา ลิ้นทอง ) เจ้าอาวาสวัดหมื่นกาศ เจ้าคณะอำเภอเมืองจังหวัดลำปางเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระธรรมจินดานายก ( อุ่นเรือน ) เจ้าอาวาสวัดป่าตัวะ เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่า " เขมโก " แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม
          ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงพ่อเกษม เขมโก สอบนักธรรมเอกได้
           พระภิกษุเกษม เขมโกเมื่ออุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาที่วัดบุนยืน เมื่อเจ้าอธิการคำเหมย สุธรรม มรณภาพ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุนยืนก็ตกแก่ พระต่อมคำ (เจ้าต่อมคำ ณ ลำปาง บุตรเจ้าหนานอินตาน้องเจ้าน้อยจู) ต่อมาพระต่อมคำลาสิกขา ความศรัทธาของญาติโยมและคณะสงค์ได้อาราธนาพระภิกษุเกษม เขมโก เข้าดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนสืบแทนต่อมา
            เมื่อหลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ทำหน้าที่อย่างไม่มีข้อบกพร่อง ท่านบริหารจัดการดูแลวัดบุญยืนควบคู่กับการศึกษาพระธรรมวินัย ท่านฝึกฝนสมาธิจิต ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างอดทน ท่านเริ่มเล็งเห็นความไม่เที่ยงแท้แห่งลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นความสุขที่ไม่ยั่งยืน ท่านจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ในปี พ.ศ.๒๔๙๒
            หลวงพ่อเกษม เขมโก ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะปฏิบัติธรรมโดยทางวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้พบครูบาแก่น สุมโน ท่านครูบาแก่น สุมโน ท่านเป็นพระวิปัสสนากรรมฐานสายพระป่า ถือธุดงค์เป็นวัตร ท่านธุดงค์แสวงหาความวิเวกโดยยึดถือป่าเป็นที่บำเพ็ญเพียร นอกจากท่านจะมีความเชียวชาญในด้านวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านยังแตกฉานในพระธรรมวินัย หลวงพ่อเกษม เขมโก จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ และแสดงความจำนงขอศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระกับครูบาแก่น สุมโน(ท่านครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง) แต่นั้นมาหลวงพ่อเกษม เขมโก ก็ร่วมเดินธุดงค์กับครูบาแก่น สุมโน และท่านครูบาแก่น สุมโน ได้แนะนำอุบายธรรมแก่หลวงพ่อเกษม เขมโก จนหลวงพ่อเกษม เขมโก แตกฉานในวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ การฉันอาหารในบาตรคืออาหารคาวหวานรวมกันเรียกว่า "ฉันเอกา" ฉันมื้อเดียว ช่วงบ่ายก็เดินจงกรม แล้วกลับมานั่งสมาธิบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนกระทั่งถึงเวลาเย็น ก็สวดมนต์ทำวัตรเย็น และสิ่งที่ปฏิบัติเป็นกิจวัตรคือ การกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญกุศล แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ทั่วไป
             หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙ เวลา ๑๙.๔๐ น.ตรงกับวันแรม ๑๑ ค่ำ เดือนยี่ ยังความเศร้าโศกเสียใจมายังคนไทยทั้งประเทศ





เหรียญระฆังศิริมงคล เสาร์ ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๑๖


            บทความนี้จะขอกล่าวถึงเหรียญระฆังศิริมงคล เสาร์ห้าหรือเหรียญวีรชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ซึ่งเป็นเหรียญที่หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกนั่งปรกปลุกเสก เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ (ตรงกับวันเสาร์ห้า) และได้นั่งปรกปลุกเสกซ้ำในวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๑๖ ก่อนรุ่งอรุณ เหรียญรุ่นนี้สร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยสร้างศาลเจ้าแม่สุชาดา เหรียญรุ่นนี้มี ๒ เนื้อ คือเนื้อเงินกับเนื้อทองแดง
           
            เหรียญระฆังศิริมงคลเสาร์ห้ารุ่นนี้ เป็นเหรียญที่สร้างชื่อเสียงให้แก่หลวงพ่อเกษม เขมโก จนเป็นที่รู้จักของคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ซึ่งเป็นวันมหาวิปโยค เป็นการแสดงพลังการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อนิสิต นักศึกษา และประชาชนกว่า ๕๐๐,๐๐๐คน ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญและคัดค้านอำนาจรัฐบาลเผด็จการทหาร
            ในเหตุการณ์นั้น เหรียญระฆังศิริมงคลได้แสดงปาฏิหารย์ คุ้มครองนักศึกษาท่านหนึ่งที่ร่วมชุมนุมประท้วงรัฐบาลเผด็จการ โดยนักศึกษาผู้นั้นได้แขวนเหรียญระฆังศิริมงคลบูชาติดตัวร่วมชุมนุม เมื่อนักศึกษาผู้นั้นได้เห็นทหารทำร้ายประชาชนที่ร่วมชุมนุม จึงเกิดโทสะได้ถือไม้เบสบอลท้าทายจะต่อสู้กับทหารที่ถืออาวุธปืนเอ็ม-16 จนเป็นเหตุให้ทหารใช้ปืนเอ็ม-16ยิงเข้าใส่นักศึกษาผู้นั้น แต่กระสุนหาได้ถูกนักศึกษาผู้นั้นไม่ กระสุนกลับวิ่งเลยไปถูกประชาชนที่ยืนอยู่ด้านหลังนักศึกษาคนนั้น จนเป็นเหตุให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย เหตุการณ์นี้สื่อมวลชนได้แพร่ภาพออกอากาศไปทั่วประเทศและต่างประเทศ จากเหตุการณ์นี้ทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศรู้จักหลวงพ่อเกษม เขมโก และเหรียญระฆังศิริมงคลเสาร์ห้า
            สมัยที่หลวงพ่อเกษม เขมโกยังมีชีวิต ได้มีศิษย์ของท่านถามท่านว่า พระเครื่องของหลวงพ่อรุ่นไหนดีที่สุด หลวงพ่อเกษม เขมโกท่านตอบว่า...ถ้าอยากดังอยากเด่น ก็ต้องแขวนเหรียญระฆังศิริมงคลติดตัว จะได้ดังเหมือนเสียงระฆัง
            เหรียญระฆังศิริมงคลเสาร์ห้ารุ่นนี้ เมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๕๑๘-๒๕๑๙ ราคาเล่นหากันอยู่ที่ประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ บาท แล้วแต่สภาพความสวยและความฟิตของผู้ซื้อในขณะนั้น ไม่มีการแยกบล็อกพิมพ์เหมือนเช่นทุกวันนี้ เช่นบล็อกสายฝน บล็อกสิบโท บล็อกเขี้ยว และบล็อกเสาอากาศ  บล็อกเสาอากาศเป็นบล็อกที่มีความคมชัดกว่าบล็อกอื่นจึงเป็นบล็อกนิยม ฟังดูก็มีเหตุผลดี สำหรับผู้เขียนเอาความสวยของเหรียญเป็นหลักยึดถือหลักเดิม ค่านิยมราคาปัจจุุบันเล่นหากันอยู่ที่หลักหมื่น








สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114
                                                              
                       
                       
                     
นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร


                 ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘



                                                                                     ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม                       
                                                       

                         





























































วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พิธี "จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก" จังหวัดพิษณุโลก ปี พ.ศ.๒๕๑๕

          วันที่ ๑๙-๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ พุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลกได้ประกอบพิธี "จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก" นับเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่และจัดพิธีถูกต้องตามโบราณกาล(รายละเอียดในพิธีจะขอกล่าวในตอนท้ายของบทความ) ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกโดยสร้างพระบูชาและพระเครื่องต่างๆเข้าพิธีอย่างมากมาย แต่บทความนี้จะขอกล่าวถึงพระเครื่องที่น่าสนใจและให้บูชาในขณะนั้น( ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๔ ) มีดังต่อไปนี้ คือ
          ๑.พระกริ่ง "นเรศวรวังจันทน์" เนื้อนวโลหะ (สูตรของอดีตสมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทวมหาเถระ) สร้างโดยช่างสวน จามรมาน ธนบุรี






                     ราคาจอง  ๓๙๐.-บาท          หลังจอง  ๔๒๐-บาท
          ๒.พระชุด "พระพุทธชินราชน้อยไตรภาคี" ของดีเมืองพิษณุโลก เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเศวรวังจันทน์ หนึ่งชุดมี ๓ องค์ คือ











                      พระพุทธชินราช (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก)ราคาปัจจุบัน 3-5 พันบาท
                      พระพุทธชินสีห์  (วัดบวรนิเวศวิหาร พระนครฯ)ราคาปัจจุบัน 3-5 พันบาท
                      พระศรีศาสดา    (วัดบวรนิเวศวิหาร พระนครฯ)ราคาปัจจุบัน 3-5 พันบาท
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบองค์จริง
                                          ราคาชุดละ  ๗๕.-บาท
          ๓.พระชุด "ยอดขุนพลเมืองพิษณุโลก" เนื้อนวโลหะขนวนพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์หนึ่งชุดมี ๓ องค์คือ






                      พระพิมพ์ท่ามะปราง ราคาปัจจุบัน 3-5 พันบาท
                      พระพิมพ์นางพญา ราคาปัจจุบัน 3-5พันบาท
                      พระพิมพ์วัดใหญ่ ราคาปัจจุบัน 3-5 พันบาท
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบพระเก่า
                                         ราคาชุดละ  ๗๕.-บาท
         ๔."พระพุทธชินราชใบเสมา" เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบพระเก่า
            นับเป็นเหรียญที่สร้างได้ถูกต้องตามโบราณกาล จึงไม่ต้องสงสัยว่าด้านพุทธคุณย่อมเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร ดังนั้นท่านที่มีกำลังทรัพย์ไม่มากจะบูชาพระพุทธชินราชใบเสมาพิธีจักรพรรดิ์ ปี 2515นี้แทนพระชินราชใบเสมาชินเงิน กรุวัดใหญ่พฺิษณุโลกก็ได้ครับ รับรองพุทธคุณไม่แพ้กัน







                                         ราคาองค์ละ  ๗๕.-บาท (ราคาปัจจุบัน 3-5หมื่นบาท)
         ๕."พระพุทธชินราชยอดอัฐารส" เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเศวรวังจันทน์
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบพระเก่า
             นับเป็นเหรียญที่สร้างได้ถูกต้องตามโบราณกาลอีกเหรียญหนึ่ง จึงไม่ต้องสงสัยว่า
ด้านพุทธคุณย่อมเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร ดงนั้นท่านที่มีกำลังทรัพย์น้อย จะบูชาพระพุทธชินราชยอดอัฐารสพิธีจักรพรรดิ์ ปี 2515 แทนพระพุทธชินราชยอดอัฐารสกรุพิษณุโลกก็ได้ครับ รับรองพุทธคุณไม่แพ้กัน





                                         ราคาองค์ละ  ๗๕.-บาท
         ๖.เหรียญ "มหาจักรพรรดิ์" เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเศวรวังจันทน์
             นายละเมียน อัมพวะสิริ ผู้ออกแบบ






                                         ราคาองค์ละ  ๗๕.-บาทราคาปัจจุบัน 3-7 หมื่นบาท
         ๗.เหรียญ "พุทธชินราชมหาราชา" สร้างโดยกองกระษาปณ์ กรมธนารักษ์



โลหะพิเศษ ชุบกะไหล่ทอง



โลหะพิเศษ


                  ๗.๑ทองคำใหญ๋              ราคาเหรียญละ ๑,๐๐๐.-บาท
                  ๗.๒ ทองคำเล็ก              ราคาเหรียญละ     ๕๐๐.-บาท
                  ๗.๓ เหรียญเงิน               ราคาเหรียญละ ๙๙.-บาทหลังจอง ๑๐๐.-บาท
                  ๗.๔ โลหะพิเศษ              ราคาเหรียญละ ๑๐.-บาทราคาปัจจบัน 1,500 บาท






พระราชวังจันทน์



กำแพงล้อมพระราชวังจันทน์




          พระราชวังจันทน์ตั้งอยู่ในกำแพงเมืองพิษณุโลกบนฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นพระราชวังเมืองพิษณุโลกที่เคยเป็นที่พระราชสมภพและที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีหน้าที่ต่อต้านกองทัพข้าศึก(พม่า) ที่ยกทัพมาทางเหนือเพื่อจะเข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยาราชธานี
          นอกจากนี้พระราชวังจันทน์ยังเป็นที่ตั้งของศาลสมเด็จพระนเศวรมหาราช



ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช





          พ.ศ.๒๔๗๔ กระทรวงศึกษาธิการได้ย้ายโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมจากฝั่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มาตั้งในบริเวณพระราชวังจันทน์ กระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๗๙ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานพระราชวังจันทน์ และในปี พ.ศ.๒๕๓๗ประกาศขอบเขตที่ดินโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาจำนวนพื้นที่ ๑๒๘ ไร่ ๒ งาน ๕๐ ตารางวา
          ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ การบูรณะพระราชวังจันทน์ และย้ายโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๔๕ และต่อมาโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมทั้งหมดได้ย้ายออกจากพระราชวังจันทน์ไปตั้งอยู่บริเวณบึงแก่งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘
           โลหะที่นำมาผสมเทหล่อพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ คือ
             ๑.นวโลหะเก้าอย่างคือ ทองคำ เงิน ทองแดง ชิน เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัว ตะกั่วน้ำนม ปรอท สังกะสี ซึ่งได้คำนวณน้ำหนักให้เป็นเนื้อนวโลหะ
             ๒.แผ่นเงิน แผ่นทองที่พระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศราว ๑๐๙ ท่าน ลงอักขระ คาถายันต์และอธิฐานจิตปลุกเสกจนครบ ๗ เสาร์ ๗ อังคาร เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๔
             ๓.แผ่นทองที่อาจารย์เทพ สาริกบุตร ลงอักขระ พระยันต์ ๑๐๘ และนะปถมัง ๑๔ นะ ตามสูตรสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทวมหาเถระ)
            วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๔ พุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ได้จัดพิธีเทหล่อพระกริ่งวังจันทน์ ณ พระราชวังจันทน์จังหวัดพิษณุโลก โดยมีอาจารย์เทพ สาริกบุตรเป็นเจ้าพิธี และในเช้าวันนั้น
             เวลา ๘.๑๙ น. ได้ประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นายกพุทธสมาคมเป็นประธาน นายโปฏก โหรหลวงกล่าวบวงสรวง
             เวลา ๑๐.๑๙ น. นายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลกจุดเทียนบูชาครู โดยอาจารย์เทพ สาริกบุตรเป็นเจ้าพิธี
             เวลา ๑๒.๐๐ น.เจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตู จุดเทียนชัย พระอาจารย์ ๙ รูป นั่งบริกรรมปลุกเสก แผ่นทองคำ แผ่นเงิน แผ่นทองแดง ซึ่งลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ พร้อมทั้งนวโลหะธาตุ ๙ อย่าง ซึ่งบรรจุอยู่ในเบ้าหลอมเพื่อเทหล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์
             พระคณาจารย์ ๙ รูปที่นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก คือ
                     ๑.พระเทพโสภณ(นิยม) วัดชนะสงคราม
                     ๒.หลวงพ่อกรับ              วัดโกรกกราก
                     ๓.หลวงพ่อละมูล           วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี
                     ๔.หลวงพ่อชื่น                วัดตำหนักเหนือ จังหวัดนนทบุรี
                     ๕.หลวงพ่อลำยอง          วัดสุนทรประดิษฐ์ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
                     ๖.หลวงพ่อม้วน               วัดตลาดชุม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
                     ๗.หลวงพ่อกี๋                   วัดหูช้าง  จังหวัดนนทบุรี
                     ๘. หลวงพ่อธงชัย           วัดพุทธมงคลนิมิต  จังหวัดนครสวรรค์
                     ๙. หลวงพ่อเกตุ              วัดศรีเมือง    จังหวัดสุโขทัย
           เวลา ๑๘.๓๒ น. ฤกษ์พิธีเททองพระกริ่งพระชัยวัฒน์"นเรศวรวังจันทน์"
           ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ ช่างสวน จามรมาน ได้ตบแต่งพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์อยู่ในโรงงานภายในบ้านพักของนายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก เพื่อควบคุมมิให้ช่างมีโอกาสสร้างพระเสริมนอกพิธี หรือกระทำการอื่นๆอันเป็นการไม่สมควร เมื่อพระกริ่งตบแต่งครบตามจำนวนแล้ว  ก้านชนวนพระกริ่งตลอดจนทองชนวนที่เหลือจากการเทหล่อพระกริ่งนเศวรวังจันทน์ ได้นำไปรีดเป็นแผ่นเพื่อปั้มเป็นเหรียญพระพุทธชินราชใบเสมา  เหรียญพระพุทธชินราชยอดอัฐารส  เหรียญจักรพรรดิ์  พระชุดชินราชน้อยไตรภาคี และพระชุดยอดขุนพลเมืองพิษณุโลก แต่เนื่องจากทองชนวนพระกริ่งเนื้อแข็งมาก เมื่อปั้มออกมาเหรียญจะแตกชำรุด จึงเอาเหรียญบาทเงินรัชกาลที่ ๕ หล่อหลอมผสมทองชนวนพระกริ่งเพื่อให้เนื้อทองชนวนพระกริ่งนิ่มอ่อนลงเพื่อสะดวกต่อการปั้มเหรียญ
            เมื่อพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ตบแต่งครบหมดแล้วรวมทั้งพระบูชา เหรียญคุณพระและวัตถุมงคลสร้างเสร็จเรียบร้อย คณะกรรมการจึงนำวัตถุมงคลทั้งหมดมาประกอบพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ ๑๙-๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ โดยมีพระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ์ และอาจารย์เทพ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธี
            ในพิธีนี้ได้อาราธนาพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศรวม ๑๐๙ รูปอาทิเช่น หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงบุรี หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแดง วัดเขาบรรไดอิฐ หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จังหวัดระยอง หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี หลวงพ่ออุตตม วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์ หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม ชัยนาท หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา ธนบุรี หลวงพ่อมิ่ง วัดกก ธนบุรี หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา พัทลุง หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พัทลุง หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย สุโขทัย หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง บุรีรัมย์ หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม.....ฯลฯ
            พิธี"จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก"เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ ยากแก่การดำเนินการ ตลอดจนการหาเจ้าพิธี ตำรับพระคาถา และพระภิกษุเจริญพระคาถาได้ดังได้กล่าวมาแล้ว ตามประวัติในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พิธี"จักรพรรดิ์"ได้ประกอบพิธีครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๑ และพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษกครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองในรัชกาลที่ ๙ จึงเชื่อถือได้ว่าวัตถุมงคลที่ปลุกเสกในพิธีนี้จะเปี่ยมด้วยพุทธาคุณ มีคุณวิเศษทางด้านคงกระพันชาตรี มหาอุด แคล้วคลาด เมตตามหานิยม และโชคลาภ นอกจากนี้ยังดีกันคุณไสยและฑูตผีปีศาจและอมนุษย์อีกด้วย ดีครอบจักรวาลครับ
            บทความนี้ถ้าจะก่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ก็ขอมอบความดีนี้แด่คุณละเมียน  อัมพวะสิริ







สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114


พระกริ่งนเรศวรเผด็จศึก ปี พ.ศ. 2507





                  
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง



พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ปี 2556
ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด


          สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น 
สัมฤทธิคุณ รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
          ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
          ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้ไม่แน่ใจยังเหลือหรือไม่

          พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
          สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) 
          โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142






พระโพธิสัตว์กวนอิม มูลนิธิร่วมมิตรสุโขทัย (โรงเจ)
เนื้อทองคำ 99% หนักประมาณ 1 บาท