คนนครปฐมโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย มีความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเครื่อง ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม


หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม


           พระราชธรรมภรณ์(เงิน จนฺทสุวณฺโณ) วัดดอนยายหอม หรือหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ท่านถือกำเนิดที่ตำลบดอนยายหอม เกิดในครอบครัวชาวนาที่มีฐานะมั่นคง ครอบครัวหนึ่งของตำบลดอนยายหอม เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๓ โยมบิดาชื่อ "พรม" โยมมารดาชื่อ "กรอง"  นามสกุล"ด้วงพูลเกิด มีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน คือ
               ๑. นายอยู่
               ๒. นายแพ
               ๓. นายทอง
               ๔. หลวงพ่อเงิน (จนฺทสุวฺณโณ)
               ๕. นายแจ้ง
               ๖. นายเนียม
               ๗. นางสายเพ็ญ
               ๘. นางเมือง
            อุปสมบท เมื่อวันที่่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๓ โดยมีพระปลัดฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "จนฺทสุวณฺโณ" มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ รวมศิริอายุได้ ๘๖ ปี  ๖๖พรรษา
            หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ ของคุณพ่อพรม คุณแม่กรอง ก่อนที่หลวงพ่อเงินจะถือกำเนิดนั้น คุณแม่กรองได้นิมิตไปว่า ขณะนั่งอยู่บนชานเรือนได้ยินเสียงดังเหมือนฟ้าร้องฟ้าระเบิดมาจากท้องฟ้าก็ไม่เห็นมีอะไร จนกระทั่งเสียงนั้นมาอยู่เหนือชานเรือน จึงแหงนหน้าขึ้นมองก็เห็นวัตถุสิ่งหนึ่งสีเหลืองคล้ายสีทองตกลงมาบนชานเรือน สิ่งที่ตกลงมานั้นคือพญานาคตัวขนาดเล็กเลื้อยเข้ามาหยุดตรงหน้าคุณแม่กรอง และส่งเสียงว่า"แม่จ๋าอย่ากลัวฉัน ฉันมาดี ฉันมาขออยู่ด้วย" จากนั้นพญานาคก็ตรงเข้าหาคุณแม่กรอง ทำให้คุณแม่กรองร้องตกใจตื่นจากนิมิต หลังจากอาบน้ำแต่งตัวเรียบร้อยแล้ว คุณแม่กรองก็ได้เล่าความฝันให้คุณพ่อพรมฟัง เมื่อคุณพ่อพรมฟังจบก็แสนจะยินดีและทำนายว่า"ลูกเราคนนี้เขามาจากที่สูง เขาเป็นพญานาคมีเกล็ดสีทอง เขาจะเป็นนักปราชญ์เป็นผู้อยู่ในธรรมเป็นสมภารเจ้าวัด ขอแม่กรองจงทำใจให้บริสุทธิ์เถิดเขาไม่เป็นฆราวาสแน่"
          คุณแม่กรองเริ่มแพ้ท้อง กินได้แต่ผลไม้เท่านั้น อาหารคาวรับประทานไม่ได้ อาเจียนออกมาหมด โดยเฉพาะดินสอพองเป็นของโปรด จนครบกำหนดเก้าเดือน แม่กรองก็คลอดบุตรชายออกมา มีผิวพรรณเกลี้ยงเกลา คุณพ่อพรมดูลักษณะทารกน้อยแล้วกล่าวย้ำอีกครั้งว่า ลูกเราคนนี้ต้องบวชตลอดชีวิแน่นอน
            ตั้งแต่ทารกน้อยคนนี้ลืมตามองโลก คุณพ่อพรมและคุณแม่กรองก็ทำมาค้าขายขึ้นจนร่ำรวย จัดได้ว่าเป็นคนมีฐานะในตำบลดอนยายหอม คุณพ่อพรมจึงตั้งชื่อทารกน้อยบุตรชายคนนี้ว่า "เงิน" เด็กชายเงินเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย ไม่ชอบทำบาป โดยเฉพาะการยิงนก ตกปลาและทรมานสัตว์ เป็นผู้นำเพื่อนในการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ต่อส่วนรวม การทำความสะอาดถนนและบริเวณวัด เป็นเด็กขยันขันแข็งในการเรียน และมีสติปัญญาดี ความจำเป็นเลิศ จึงเป็นที่โปรดปรานของคุณพ่อพรมเป็นอย่างมาก
           เด็กชายเงินเป็นเด็กที่ฉลาดและรู้ค่าของเงิน ไม่ใช้จ่ายพุ่มเพือยอย่างไม่จำเป็น การแต่งกายของเด็กชายเงินจึงไม่พิถีพิถันมาก เสื้อผ้าขาดปะก็ใส่ได้ไม่รังเกียจจนเป็นหนุ่ม ทั้งๆที่ฐานะทางบ้านร่ำรวย ไม่เคยสนใจเรื่องชู้สาว มีเวลาว่างก็เข้าวัด ไปช่วยเหลืองานบุญต่างๆ ถึงงานบวชของนายเงิน ก็เป็นไปอย่างง่ายๆ แบบโกนหัวเข้าวัด ไม่ต้องจัดงานเลี้ยงให้เอิกเกริก นอกจากจะเป็นความสิ้นเปลืองแล้ว ยังเป็นการทำลายชีวิตสัตว์อีก เช่นการฆ่าวัว หมู เป็ด ไก่ เพื่อมาเลี้ยงกันในงาน  จะกลายเป็นงานบาปเปล่า ๆ
           ก่อนอื่นขอย้อนภูมิหลังของคุณพ่อพรมก่อน คุณพ่อพรมในอดีตเคยบวชเป็นพระอยู่หลายพรรษา ได้สำเร็จฌานตั้งแต่เป็นพระภิกษุ และได้เคยไปศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมกับอาจารย์ที่เป็นฆราวาสและที่เป็นพระภิกษุ ได้แก่หลวงพ่อจ้อย วัดบางช้างเหนือ  คุณพ่อพรมสามารถใช้อำนาจจิตรับรู้เหตุการณ์ที่อยู่ไกลตัวได้  คุณพ่อพรมได้เล่าเรียนวิชาอาคมทั้งคงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม แม้จะครองเรือนแล้วก็ยังฝึกฝนอำนาจจิตอยู่เสมอเป็นประจำ  แม้อยู่ที่บ้านก็สามารถมองเห็นวัตรปฏิบัติของพระลูกชายได้อย่างทะลุปรุโปร่ง(เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้พิจารณาในการอ่าน)
          เช้าวันหนึ่ง เมื่อพระภิกษุเงินมาบิณฑบาต คุณพ่อพรมก็กระซิบว่า ท่านเงินอย่าจำวัดแต่หัวค่ำขอรับ  สมณต้องจำวัดดึกต้องหมั่นฝึกปฏิบัติ ไม่งั้นแล้ว จะไม่ได้อะไรติดไปเลย พระภิกษุเงินชงักกึกถามโยมพ่อ ว่ารู้ได้อย่างไร คุณพ่อพรมตอบว่า อำนาจของฌาน กสินและคาถาอาคม ต่างๆ ทำให้โยมพ่อทำในสิ่งที่คนธรรมดาทำไม่ได้ ถ้าท่านต้องการเรียน โยมจะสอนให้
           พระภิกษุเงินจึงมารับการถ่ายทอดวิชาอาคมจากโยมพ่อทีละขั้นตอน จนสำเร็จมีความสามารถทัดเทียมเท่ากับโยมพ่อได้ นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาวิชาอาคมจากพระครูอุตตรการบดี(สุข)วัดห้วยจระเข้ และยังได้ศึกษาการแพทย์แผนโบราณจากโยมพ่ออีกด้วย ทำให้พระภิกษุเงินพร้อมแล้วสำหรับการสงเคราะห์ผู้ได้รับทุกข์ต่างๆ ตามแนวทางที่คุณพ่อพรมได้เคยช่วยเหลือชาวดอนยายหอม
            เมื่อหลวงพ่อเงิน ได้เรียนวิชาอาคมสำเร็จแล้ว บททดสอบที่ดีที่สุด คือการออกธุดงค์ หลวงพ่อได้เดินธุดงค์เข้าไปในป่า ผ่านเปลวแดดแผดร้อน ผจญกับสัตว์ร้ายเช่นจรเข้ และเสือ  นอกจากนั้นยังเดินหลงเข้าไปในสนามฝึกยิงปืนด้วยลูกจริงและรอดมาได้ ทำให้ท่านมีจิตใจที่เข้มแข็งมั่นคงเป็นที่สุด
            เมื่อหลวงพ่อเงินได้กลับจากธุดงค์สู่วัดดอนยายหอม ท่านก็เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวัดดอนยายหอม เป็นหัวเรี้ยวหัวแรงในการนำชาวบ้านบูระปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ โบสถ์ กุฎิสงค์ และสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล ด้วยความสามารถและคุณงามความดีของท่าน หลวงพ่อเงินจึงได้รับการแต่งตั้งดังต่อไปนี้
          วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม
          วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เนื่องจากปลัดฮวยมรณภาพ
          วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระปลัดถานานุกรมเจ้าคณะเมืองนครปฐม(หลวงพ่อสุข วัดห้วยจรเข้)
          วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๔ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูทักษิณานุกิจ
          วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชธรรมภรณ์
           หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ในระหว่างที่ท่านมีชิวิตอยู่ ท่านได้สร้างพระเครื่องไว้เป็นจำนวนมาก บทความนี้จะกล่าวถึงพระเครื่องของท่านบางรุ่นที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้



เหรียญเสมารุ่นแรก



เหรียญเสมารุ่นแรก

          ๑.เหรียญปั้มใบเสมารุ่นแรก สร้างประมาณ ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๘เพื่อหารายได้สร้างพระอุโบสถและแจกจ่ายแก่ผู้ออกแรงช่วยงานสร้างโบสถ์ จำนวน ๒๐,๐๐๐ เหรียญ และปั้มครั้งครั้งสุดท้ายประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๒ (ปีเสาร์ห้า) ประมาณ ๒๐,๐๐๐ เหรียญ เพื่อหารายได้สร้างพระอุโบสถ(ก่อนโบสถ์ใกล้จะเสร็จ)และเพื่อแจกในวันที่หลวงพ่อเงินอายุครบห้ารอบ(๖๐ปี)ในปี พ.ศ.๒๔๙๓ แต่มีอีกความเห็นหนึ่งว่ีาสร้างครั้งเดียวปี ๒๔๘๘แต่ไม่ได้แจกเพราะพรรษาของท่านยังน้อย มาเริ่มแจกปี ๒๔๙๐กว่าหลังจากพระครูสุข วัดห้วยจรเข้ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านมรณภาพ ปี๒๔๙๔เป็นรูเหมือนหลวงพ่อครึ่งองค์ ด้านบนเหรียญปั้มข้อความว่า"หลวงพอเงิน"



เหรียญหล่อโบราณพระชินราชเข่าลอย ปีพ.ศ. ๒๔๘๗


เหรียญหล่อโบราณพระชินราชเข่าลอย ปีพ.ศ. ๒๔๙๖


          ๒.เหรียญหล่อโบราณพระพุทธชินราชเข่าลอย สร้างสองครั้ง  ครั้งแรกสร้างประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๗เป็นเหรียญที่สร้างพร้อมกับพระประธานในโบสถ์ เป็นเนื้อโลหะขันลงหินผสมทองแดงและเงินแท่งเนื้อพระออกกระแสแดง ผิวพระออกสีน้ำตาลไหม้คล้ายสัมฤทธิ์ดำ จำนวนการสร้าง แบบหน้าเดียว ๓,๐๐๐เหรียญ แบบสองหน้า ๒,๐๐๐ เหรียญ รวมทั้งหมดประมาณ ๕,๐๐๐ เหรียญ ครั้งที่สอง ประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๖ เพื่อหารายได้ซื้อที่ดินและสร้างโรงเรียนประชาบาล จำนวนการสร้างประมาณหลักหมื่นเหรียญเพราะต้องใช้เงินมากในการสร้างโรงเรียน สีผิวพระออกเป็นสีก้านมะลิหรือกระไหล่ทอง ราคาเล่นแพงเป็นอันดับสองรองจากเหรียญรุ่นแรก(หลักแสนถึงหลายแสน)



รูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงินรุ่นแรก ปีพ.ศ.๒๕๐๐


รูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงิน รุ่นแรก

          ๓.รูปหล่อเหมือนลอยองค์รุ่นแรก สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ โดยทางวัดเป็นผู้จัดสร้าง โดยจัดพิธีเท่หล่อที่วัดจึงเป็นพระเครื่องที่น่าบูชาติดตัวรุ่นหนี่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างเข้าใจว่าประมาณสามพันองค์ องค์พระเป็นผิวไฟกระไหล่ทอง พระส่วนมากจะมีผิวพรุนไม่สวยจึงนำมารมดำใหม่ให้ดูสวยงามค่านิยมองค์สวยแชมป์หลักแสนหรือใกล้หลักแสน



สมเด็จสิบเอ็ดจุด รุ่นแรก ปีพ.ศ.๒๔๙๔





สมเด็จสิบเอ็ดจุด รุ่นแรก ปีพ.ศ.๒๔๙๔


          ๔.สมเด็จปรกโพธิ์สิบเอ็ดจุดหรือสมเด็จสิบเอ็ดจุด เป็นสมเด็จรุ่นแรกของหลวงพ่อเงิน เป็นพระสมเด็จเนื้อผงขาว สร้างประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๔ โดยพระอาจารย์ประพันธ์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันและคณะศิษย์เป็นผู้กดพิมพ์พระ(ในขณะนั้นท่านเป็นพระเลขาหลวงพ่อเงิน)โดยหลวงพ่อเงินมอบผงพุทธคุณที่ท่านเขียนเองและผงสมเด็จบางขุนพรหมและผงพุทธคุณวัดอื่นและเศษพระหักวัดต่างๆให้อาจารย์ประพันธ์กดพิมพ์พระ พระสมเด็จรุ่นแรกนี้สร้างเพียงครั้งเดียว พระสมเด็จรุ่นนี้ในอดีตเล่นหาราคาพอๆกับพระชินราชเข่าลอย ในอดีตชาววัดดอนยายหอมหวงแหนพระสมเด็จสิบเอ็ดจุดยิ่งกว่าเหรียญรุ่นแรกเสียอีก เป็นพระเครื่องที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งของหลวงพ่อเงิน จำนวนการสร้างน้อยมากเมื่อเทียบกับพระรุ่นอื่นๆ ราคาในปัจจุบันเล่นหาในราคาที่ถูกมากประมาณสองหมื่นกว่าบาท ในอนาคตมีสิทธิ์เล่นหาถึงหลักแสนแน่นอน





เหรียญเสมาเล็ก รุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๕๐๖




ราคา 3,000 บาท


ราคา 3,000 บาท



ราคา 2,000 บาท


ราคา 2,000 บาท



          เหรียญใบเสมาและเหรียญสตางค์สิบของวัดแจ้งใน จังหวัดนครราชสีมาและวัดพระงาม จังหวัดนครปฐมสร้างปีพ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นเหรียญดีราคาถูก ที่ควรสะสม เพราะหลวงพ่อเงินได้ปลุกเสกที่วัดดอนยายหอม แล้วไปมอบให้วัดดังกล่าวจำหน่าย เป็นเหรียญที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเหรียญไม่ซ้ำพิมพ์เหรียญอื่น(เป็นเหรียญที่หลวงพ่อเงินห่มจีวรเต็มองค์ ไม่เปิดไหล่) และเป็นเหรียญที่มากด้วยประสบการณ์
















สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114
       

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม


หลวงพ่อวัดไร่ขิงลงรักปิดทองแล้ว



หลวงพ่อวัดไร่ขิงยังมิได้ลงรักปิดทอง
ทางวัดอนุญาตให้ประชาชนปิดทององค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงได้


หน้าพระอุโบสถ หลวงพ่อวัดไร่ขิง



          วัดไร่ขิงเดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆติดอยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรี(แม่น้ำท่าจีน) สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๓ วัดไร่ขิงปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๕๑ หมู่ ๒ ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ ๒๔๔ ไร่ ๘๙ ตารางวา ลักษณะพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม



สมเด็จพุฒาจารย์ (พุก)


          ในอดีตพื้นที่ดินรอบบริเวณวัด มีชาวจีนโพ้นทะเลมาอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก และมีอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะการเพาะปลูกไร่ขิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุให้เรียกขานชุมนุมนี้ว่า "ไร่ขิง" ต่อมาเมื่อชุมนุมหนาแน่นมากขึ้น จึงได้มีการสร้างวัดขึ้น และเรียกชื่อวัดตามชุมนุมว่า "วัดไร่ขิง"และท่านที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างวัดคือ สมเด็จพุฒาจารย์(พุก)เจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร มณฑลกรุงเก่า(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)  สมเด็จพุฒาจารย์(พุก) ท่านเป็นชาวเมืองนครไชยศรีหรือมณฑลนครไชยศรี เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๑แรม ๑๑ค่ำ ปีขาล ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๗ ได้นำชาวบ้านร่วมกันก่อสร้างวัดไร่ขิง เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๔ อยู่ในระหว่างรัชกาลที่ ๓ ต้นรัชกาลที่ ๔
          ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวรวิหาร กรุงเทพฯ เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน  สมเด็จฯได้เสด็จไปตรวจวัดไร่ขิง และได้ทรงตั้งชื่อใหม่ว่า"วัดมงคลจินดาราม" ทั้งได้ทรงวงเล็บชื่อเดิมไว้ท้าย จึงกลายเป็น "วัดมงคลจินดาราม(ไร่ขิง)" เมื่อเวลาผ่านไปนาน ชาวบ้านกลับไปเรียกชื่อวัดดังเดิมว่า"วัดไร่ขิง" อาจจะเป็นเพราะความสะดวกและง่ายต่อการเรียกขาน และต่อมาทางราชการคงใช้ชื่อเดิมว่า"วัดไร่ขิง(พระอารามหลวง)"
          ลำดับเจ้าอาวาส
          ๑.หลวงพ่อจาด
          ๒.หลวงพ่อคง
          ๓.หลวงพ่อรักษ์
          ๔.หลวงพ่อมุ้ย
          ๕.พระอธิการใช้ ปติฏโฐ
          ๖.พระครูมงคลวิลาส (เฉย กิตฺติสาโร)
          ๗.พระอาจารย์ชื้น ปฏิกาโร (รักษาการเจ้าอาวาส)
          ๘.พระครูถาวรวิทยาคม (เพิ่ม ทิฎโฐ)
          ๙.พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินทฺปญโญ)
          ๑๐.พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (แย้ม) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
            หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง  มีเรื่องเล่าขานกันว่า เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก)ซึ่งเป็นชาวนครไชยศรี  ในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่"พระธรรมราชานุวัตร"ปกครองอยู่ที่วัดศาลาปูนวรวิหาร กรุงเก่า(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ได้กลับมาสร้างวัดที่บ้านเกิดของท่านที่ไร่ขิง  วัดไร่ขิงได้สร้างขึ้น เมื่อปีกุน พ.ศ.๒๓๙๔ ตรงกับในปีสุดท้ายในรัชกาลที่ ๓ ต่อเนื่องกับต้นรัชกาลที่ ๔ เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก)และชาวบ้านได้อัญเชิญ พระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งจากกรุงเก่า มาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ แต่การคมนาคมในสมัยนั้น  ต้องอาศัยทางน้ำ ดังนั้นการจะนำพระพุทธรูปองค์นี้กลับวัดจึงต้องต่อแพ เพื่อล่องลำเรียงจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาลงสู่แม่น้ำ ล่องลอยผ่านแม่น้ำนครชัยศรี(แม่น้ำท่าจีน) ระหว่างที่ลอยแพมาจึงดูเหมือนพระประธานลอยน้ำได้ เมื่อนานวันการเล่าถึงการลำเรียงหลวงพ่อวัดไร่ขิงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากกรุงเก่ามาวัดไร่ขิงผิดเพี้ยนไป กลายเป็นหลวงพ่อวัดไร่ขิงลอยน้ำมา จนเกิดเป็นตำนานเล่าขานว่า ในกาลครั้งหนึ่ง มีพี่น้องชาวเหนือ ๕ คน ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา จนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันมีฤทธิ์เดชมาก พระภิกษุ ทั้ง ๕ รูปมีความมีความปรารถนาจะช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นทุกข์  จึงตั้งจิตอธิษฐานขอถอดดวงจิตเข้าไปสถิตย์ในพระพุทธรูปทั้ง ๕องค์ ได้แก่ หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อโตวัดบางพลี หลวงพ่อวัดบ้านแหลม และหลวงพ่อวัดเขาตะเครา พระพุทธรูปดังกล่าวได้ลอยน้ำมาเกือยตื้นที่หน้าวัดโสธร วัดไร่ขิง วัดบางพลี วัดบ้านแหลมและวัดเขาตะเคราตามลำดับ
          บทความนี้จะกล่าวถึงพระเครื่องของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ในรูปแบบพระกริ่งอันเป็นรูปจำลองของหลวงพ่อวัดไร่ขิงดังต่อไปนี้



พระกริ่งหล่อโบราณหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก ปีพ.ศ.๒๕๐๘



พระกริ่งหล่อโบราณหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก ปีพ.ศ.๒๕๐๘


         พระกริ่งหล่อโบราณหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นพระกริ่งทีทางวัดเป็นผู้จัดสร้าง  สร้างในสมัยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(ปัญญา อินฺทปญฺโญ) เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น พระกริ่งรุ่นนี้ทางวัดได้จัดพิธีพุทธาภิเษก เทหล่อพระกริ่งตรงหน้าพระอุโบสถด้านข้าง(เทหล่อพระกริ่งหน้าหลวงพ่อวัดไร่ขิง) โดยมีเกจิอาจารย์เข้าร่วมพุทธาภิเษกและลงอักขรเขลยันต์บนแผ่นทองเพื่อนำไปหลอมลงในเบ้าชนวนเทหล่อพระกริ่ง มีดังต่อไปนี้
           ๑.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
           ๒.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
           ๓.หลวงปู่ผล วัดเทียนดัด
           ๔.พระครูถาวรวิทยาคม (เพิ่ม) วัดสรรเพชร
           ๕.หลวงพ่อหมุด วัดเดชานุสรณ์
           ๖.หลวงพ่อโหย  วัดท่าพูด
          พระกริ่งหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี พ.ศ.๒๕๐๘ รุ่นนี้สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีเทหล่อโบราณ จึงนับได้ว่าเป็นพระกริ่งรุ่นแรก และเนื้อพระเป็นเนื้อขันลงหินหรือทองผสม ออกกระแสเหลือง จึงเป็นพระกริ่งที่สร้างถูกต้องตามพิธีกรรมโบราณกาล จำนวนสร้างไม่มากนัก(ไม่เกินสองพันองค์) สนนราคาเช่าหากันอยู่ในหลักหมื่นต้นๆอนาคตมีสิทธิเล่นหาถึงหลักแสน
          พระกริ่งและพระชัยวัฒน์หลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี พ.ศ.๒๕๒๑ เป็นพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ที่่สร้างขึ้นในสมัยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(ปัญญา อินฺทปญฺโญ)เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น พระกริ่งพระชัยวัฒน์รุ่นนี้มีสมเด็จพระพุฒาจารย์(เสงี่ยม)วัดสุทัศน์ฯเป็นประธานจัดสร้างและเจ้าพิธีในการเททอง ได้เทหล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์ เมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๑ ณ บริเวณรอบพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ฯ โดยมีหลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี เป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษก การสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์รุ่นนี้จึงเป็นการสร้างตามแบบสายวัดสุทัศน์ฯ คือ มีการลงพระยันต์ ๑๐๘ และนะ ปถมัง ๑๔ นะเนื้อพระเป็นวนโลหะกลับดำ(ออกกระแสแดง) และมีทองชนวนเก่าของวัดสุทัศน์ฯผสมอยู่มาก ด้านหลังตรงฐานของพระกริ่งพระชัยวัฒน์มีรอยจารทุกองค์



พระกริ่งหลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อนวโลหะกลับดำ ปีพ.ศ.๒๕๒๑



พระชัยวัฒน์หลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อนวโลหะกลับดำ ปีพ.ศ.๒๕๒๑


                   พระกริ่งสร้างจำนวน ๘,๗๙๙ องค์
                   พระชัยวัฒน์สร้างจำนวน ๑๓,๖๕๙ องค์
          หลังจากเทหล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์และมีการตบแต่งเสร็จเรียบร้อย ทางคณะกรรมการวัดไร่ขิง ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยจัดพิธีภายในพระอุโบสถหลวงพ่อวัดไร่ขิง โดยมีหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษก จึงเป็นพระกริ่งพระชัยวัฒน์ที่ได้รับการปลุกเสกถึงสองครั้ง
          บทความนี้ตั้งใจจะเขียนเฉพาะพระกริ่งหลวงพ่อวัดไร่ขิงเท่านั้น แต่เนื่องจากมีท่านผู้อ่านได้ขอร้องให้ผู้เขียน ให้เขียนถึงสมเด็จวัดไร่ขิงรุ่นเก่าที่ราคายังไม่แพง ผู้เขียนจึงขอแนะนำพระสมเด็จวัดไร่ขิงรุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งเป็นพระที่สร้างโดยหลวงตาเจียม โดยพระชุดนี้ได้สร้างที่วัด (กดพิมพ์พระที่วัด) เป็นพระผงขาว ประกอบด้วยมวลสารมากมายและผงพุทธคุณ รายละเอียดขอให้ท่านผู้อ่าน อ่านบันทึกการสร้างสมเด็จวัดไร่ขิงรุ่นแรกปี พ.ศ.๒๔๙๕ท้ายบทความ  
          พระสมเด็จวัดไร่ขิงรุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นพระที่แก่มวลสารและเข้มข้นมากที่สุด ตั้งแต่มีการสร้างพระสมเด็จวัดไร่ขิง นักสะสมพระเครื่องสายวัดไร่ขิงยอมรับว่า พระชุดนี้มีพุทธคุณสูงกว่าพระสมเด็จวัดไร่ขิงรุ่นอื่นๆ ที่เคยสร้างมา แถมราคายังถูกกว่าพระสมเด็จวัดไร่ขิงปี พ.ศ. ๒๕๑๔ อีกด้วย ประกอบกับคณาจารย์ที่รวมพุทธาภิเษกมีจำนวนมาก เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นได้แก่ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ร่วมปลุกเสกด้วย



สมเด็จวัดไร่ขิง หลังลายนิ้วมือ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ 



สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์พระครูมูล รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ราคา ๑๕,๐๐๐ บาท


สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์พระครูมูล รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ราคา ๑๕,๐๐๐ บาท





สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์ขี่ไก่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕
พิมพ์นี้หายากที่สุด ๒๐,๐๐๐ บาท


สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์ขี่ไก่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕
พิมพ์นี้หายากที่สุด ๒๐,๐๐๐ บาท



สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์ขี่ไก่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕
พิมพ์นี้หายากที่สุด ๒๐,๐๐๐ บาท



สมเด็จวัดไร่ขิง พิมพ์ขี่ไก่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ 
พิมพ์นี้หายากที่สุด


สมเด็จพิมพ์เกตุบัวตูม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕









พระชัยวัฒน์ พิมพ์พระมงคลจินดา ปี พ.ศ. ๒๔๙๕




สมเด็จวัดไร่ขิง ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ จำนวนการสร้างหลายหมื่นองค์




พระชัยวัฒน์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ จำนวนการสร้าง ๓,๐๐๐ องค์





บันทึกย่อการสร้างสมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดย พระอาจารย์เจียม  แถบทอง








     



สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114



นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร


                 ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘



                                                                                     ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม


                  
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง



พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ปี 2556
ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด

          สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น 
สัมฤทธิคุณ รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
          ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
          ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้ไม่แน่ใจว่ายังหรือเปล่า

          พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
          สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) 
          โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142