คนนครปฐมโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย มีความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเครื่อง ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อเต๋ วัดอรัญญิการาม(วัดสามง่าม)


พระครูภาวนาสังวรคุณ ( เต๋ คงฺคสุวณฺโณ )
เทพเจ้าแห่งอำเภอดอนตูม


          เมื่อพูดถึงวัดสามง่าม  ทุกท่านคงจะนึกถึงหลวงพ่อเต๋ คงทองหรือพระครูภาวนาสังวรคุณ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่ทุกท่านรู้จักเป็นอย่างดี ดังนั้นก่อนจะพูดถึงประวัติพระครูภาวนาสังวรคุณ(เต๋ คงฺคสุวณฺโณ) ผู้เขียนขอเท้าความประวัติวัดสามง่ามพอสังเขปก่อน วัดสามง่ามเป็นวัดราษฎร์ อยู่เลขที่ ๔๓๔ หมู่  ๔ ตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม แต่เดิมชื่อวัดดอนตูม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกห่างจากวัดสามง่ามในปัจจุบันประมาณ ๓ กิโลเมตร โดยมีอธิการแดงหรือหลวงลุงแดงเป็นเจ้าอาวาส หลวงลุงแดงท่านนี้มีศักดิ์เป็นลุงของหลวงพ่อเต๋ พื้นที่บริเวณวัดมีสภาพแห้งแล้งกันดารขาดแคลนน้ำ ชาวบ้านต่างทยอยอพยพครอบครัวไปอยู่ที่อื่น พระอธิการแดงว่าอยู่ต่อไปก็คงลำบาก จึงย้ายวัดมาก่อสร้างวัดใหม่ที่ตำบลสามง่าม เมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๔๔๗ ตั้งชื่อว่า"วัดสามง่าม" ต่อมามีประกาศพระบรมราชโองการพระราชทานเขตวิสุงคามสีมา เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙ มิถุนายน ร.ศ.๑๒๗ ว่า "วัดอรัญญิการาม
         หลวงพ่อเต๋ คงทอง นามเดิมว่า "เต๋ สามงามน้อย"เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ปีเถาะ ตรงกับ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๔ ณ บ้านสามง่าม หมู่ที่๔ อำเภอกำแพงแสน(ขณะนั้นยังไม่ได้ยกขึ้นเป็นอำเภอดอนตูม) จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่ิอ จันทร์ โยมมารดาชื่อ  บู่ นามสกุล"  สามงามน้อย" ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๗ คน
          เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๔๑ พระอธิการแดงหรือหลวงลุงแดง ได้มาพบเด็กชายเต๋ ซึ่งขณะนั้นท่านอายุได้ ๗ ปี และได้พาท่านไปอยู่วัดกาหลงจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นวัดที่หลวงลุงแดงจำพรรษาอยู่ เพื่อให้เด็กชายเต๋ ได้เรียนหนังสือและธรรมะ หลวงลุงแดงเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังรูปหนึ่งในขณะนั้น เด็กชายเต๋ได้ศึกษาเล่าเรียนที่วัดกาหลงเป็นเวลาประมาณ ๓ ปี หลวงลุงแดงก็พาเด็กชายเต๋เดินทางกลับมาอยู่ที่ดอนตูมเพื่อก่อสร้างวัดใหม่ชื่อวัดดอนตูมดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเมื่อปีพ.ศ.๒๔๔๔ ต่อมาได้ย้ายวัดมาสร้างวัดใหม่ที่บ้านสามง่าม ให้ชื่อว่า "วัดสามง่าม"ในปัจจุบันนี้
          เมื่อหลวงพ่อเต๋อายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีหลวงลุงแดงเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงลุงแดง รวมทั้งร่วมก่อสร้างวัดใหม่ไปพร้อมกัน หลวงลุงแดงท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญพุทธาคม มีลูกศิษย์เคารพนับถือมากมาย หลวงพ่อเต๋มีศักดิ์เป็นหลานของท่าน จึงได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมจนหมดสิ้นความรู้ของหลวงลุงแดง
          พศ.๒๔๕๕ พลวงพ่อเต๋มีอายุได้ ๒๑ ปี หลวงลุงแดงก็กำหนดให้บวชเป็นพระภิกษุที่่วัดสามง่าม โดยถือเอาฤกษ์วันเดียวกับวันที่วัดสามง่ามฝังลูกนิมิตเป็นมงคลฤกษ์ โดยมีพระครูอุตตรการบดี(ทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการจอม วัดลำเหยเจ้าคณะตำบลสามง่าม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาในวันอุปสมบทว่า "คงทอง" ฉายาเป็นภาษาบาลีว่า "คงฺคสุวณฺโณ"
          หลังจากบวชและงานฝังลูกนิมิตผ่านไป หลวงลุงแดงก็อาพาธลง วันหนึ่งท่านเรียกหลวงพ่อเต๋เข้าไปหาและสั่งว่า"อย่าทิ้งวัด ตัวท่านจะกลับไปตายที่วัดกาหลง" หลวงพ่อเต๋ก็รับคำสั่งจัดการเอาหลวงลุงแดงขึ้นเกวียน เดินทางไปยังวัดกาหลง พอถึงวัดกาหลงได้พาหลวงลุงแดงขึ้นกุฏิเก่าของท่าน ท่านก็สั่งเสียได้ครู่เดียวเท่านั้น หลวงลุงแดงก็ละสังขาร เมื่อจัดการเผาศพหลวงลุงแดงเรียบร้อยแล้ว ก็เก็บอัฐิส่วนหนึ่งไว้ในย่าม แล้วเดินทางกลับวัดสามง่าม
          เมื่อสิ้นบุญหลวงลุงแดงแล้ว หลวงพ่อเต๋ก็ได้มาปรณนิบัติรับใช้หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเพื่อเรียนวิชาคาถาอาคม และเรียนวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ ระหว่างที่ท่านปรณนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ของท่าน หลวงพ่อเต๋จึงต้องไปมาระหว่างวัดพะเนียงแตกกับวัดสามง่ามจนกระทั่งหลวงพ่อทามรณภาพในปีพ.ศ.๒๔๕๙ หลวงพ่อเต๋ก็ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ตามคำสั่งของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เพื่อศึกษาวิชาอาคมต่อไป
          หลวงพ่อเต๋ เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ มานานพอสมควรก็ถึงเวลาที่จะทดสอบสมาธิ และการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของท่านว่าเข้มแข็งเพียงใด และบททดสอบที่ดีที่สุด คือ การเดินธุดงค์
          ดังนั้นการเดินธุดงค์ของหลวงพ่อเต๋ก็เหมือนการเดินธุดงค์ของพระภิกษุทั่วๆไป กล่าวคือ การเดินธุดงค์เข้าไปในป่าลึก ที่ทุรกันดารซึ่งเต็มไปด้วยความยากลำบากและภยันตรายจากสัตว์ดุร้ายต่างๆในป่าเป็นการทดสอบว่าร่างกายและจิตใจทนต่อความลำบากได้หรือไม่ การเดินธุดงค์ของหลวงพ่อเต๋นอกจากจะเป็นการทดสอบตัวท่านแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ท่านได้พบอาจารย์ต่าง ๆ หลายรูปแบบ แต่ท่านอาจารย์ที่หลวงพ่อเต๋ให้ความศรัทธานับถือมาก ก็คือสมณพราหมณ์ชาวเขมรที่เขาตะลุงป่าลึก จังหวัดกาญจนบุรี ท่านจึงปักษ์กรดอยู่ ณ แห่งนั้น เพื่อศึกษาไสยเวทย์กับท่านอาจารย์พราหมณ์  หลวงพ่อเต๋ได้ศืกษาไสยศาสตร์กับท่านอาจารย์พราหมณ์นานหลายปี จึงเกิดความสนิทสนมและเป็นที่โปรดปราณของท่านอาจารย์พราหมณ์  กระทั่งวันลากลับไปวัดสามง่าม ท่านอาจารย์พราหมณ์ได้มอบตำรา และฤาษีปู่ครู ถวายเป็นกรรมสิทธิ์แด่หลวงพ่อเต๋ ฤาษีปู่ครู ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่วัดสามง่าม และมีพิธีบูชาครูทุกปี
          ปี พ.ศ.๒๔๗๒ หลวงพ่อเต๋เดินธุดงค์กลับวัดสามง่าม และจำพรรษาได้ ๓ ปี อายุได้ ๔๑พรรษา ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๗๕  ท่านได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวััด ขณะนั้นคือ พระปฐมนคราจารย์( วงศ์ โอทาตวณฺโณ) เจ้าอาวาส วัดสัมปทวน นครชัยศรี ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามง่าม และเจ้าคณะตำบลในปีต่อมา
          แต่เดิมวัดสามง่ามยังไม่มีความเจริญ ดังนั้นการเรียนพระปริยัติธรรมตลอดจนการศึกษาของประชาชนจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก การอนามัยล้าหลังไม่ทันสมัย การคมนาคมที่ติดต่อกับภายนอกก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก สิ่งต่าง ๆที่กล่าวมานี้หลวงพ่อเต๋ท่านก็ได้ดำเนินการก่อสร้างจนเป็นที่เรียบร้อย ตลอดจนการก่อสร้างถนนสายต่าง ๆให้ทันสมัย  แม้ทางด้านการปกครองท่านก็ดูแลเอาใจใส่พระ เณรเป็นอย่างดี  มีเมตตา ช่วยเหลือต่อชาวบ้านให้อยู่ดีกินดี และเป็นที่พึ่งทางใจในยามที่ชาวบ้านทุกข์ร้อน จนชาวบ้านให้ขนานนามว่า" เทพเจ้าแห่งอำเภอดอนตูม" ด้วยคุณงามความดีของท่าน หลวงพ่อเต๋ จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูภาวนาสังวรคุณ"
          พระครูภาวนาสังวรคุณ( เต๋ คงฺคสุวณฺโณ ) เป็นสัมภารวัดสามง่ามรูปที่ ๒ มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๒๔  ในระหว่างที่ท่านมีชีวิต ท่านได้สร้างวัตถุมงคลและเครื่องลางของขลังไว้มากมาย แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะวัตถุมงคลที่สร้างชื่อเสียงแก่ท่าน คือ
          ๑. ตุ๊กตาทองหรือที่ชาวบ้านรู้จักในนามกุมารทอง เป็นวัตถุมงคลที่ชาวบ้านกล่าวขานถึงกันมากถึงความศักดิ์สิทธิ์ ท่านสร้างตามตำราท่านฤาษีปู่ครูซึ่งค่อนข้างยุ่งยากมาก โดยนำดินโปร่งในป่า ๗ แห่งมาผสมกับผงเสกต่าง ๆของท่าน ขณะปั้นต้องเรียกขานนามและพูดคุยกับตุ๊กตาเสมือนตุ๊กตามีชีวิต ผู้ที่จะสร้างให้ตุ๊กตาเกิดอิทธิฤทธิ์ได้ต้องสำเร็จวิชามหาภูติสี่ คือ เรียกภูติ ปลุกภูติ ผูกภติ และขับภูติ อันเป็นวิชาในหมวดอาถรรพ์พระเวทย์


ตุ๊กตาทอง


          ๒. เหรียญปั้มรุ่นแรกใบสาเก เป็นเหรียญที่ระลึกในงานฉลองศาลาการเปรียญ พ.ศ.๒๔๙๑
เหรียญหลวงพ่อเต๋ รุ่นแรก ปีพ.ศ. 2491


          ๓. พระกริ่งคงทองหรือพระกริ่งสวนเต่า เป็นพระกริ่งที่หลวงพ่อเต๋ได้จัดสร้างขึ้นตามสูตรการสร้างพระกริ่งสายวัดสุทัศน์โดยคณะศิษย์สายสมเด็จพระสังฆราชแพได้มาร่วมพิธี และในการสร้างพระกริ่งครั้งนี้ ได้จัดพิธีใหญ่ตามตำราของสมเด็จพระสังฆราชแพ การลง น ๑๔ พระยันต์ ๑๐๘ และผสมเนื้อตามสูตรสมเด็จพระสังฆราช แพ  โดยจัดพิธีเทหล่อพระที่วัดสามง่าม เมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๐ เป็นรูปพระพุทธประทับนั่งบนบัวสองชั้นปางมารวิชัยสะดุ้งกลับ พระหัตถ์ขวาถือสังข์ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระบาทขวา ส่วนด้านหลังที่ฐานมีข้อความว่า "คงทอง พ.ศ.๒๕๐๐" มีสองพิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก เนื้อของพระกริ่งออกกระแสร์แดงคล้ายสีมันเทศ เมื่อถูกสัมผัสเนื้อจะกลับดำตามสูตรพระกริ่งวัดวัดสุทัศน์หรือเรียกว่า "สัมฤทธิ์เดช" (สัมฤทธิ์ แปลว่า สำเร็จด้วยอิทธิฤทธิ์ สัมฤทธิ์ถือกันว่าเป็นมงคลกันเสนียดจัญไรได้) ส่วนผสมของเนื้อพระกริ่งประกอบด้วยแร่โลหะหลายชนิด ได้แก่ ทองคำ  เงิน ทองแดง ชิน ปรอท สังกะสี เจ้าน้ำเงินและโลหะอื่น ชนวนและโลหะเก่าที่หลวงพ่อได้สะสมใว้ ตลอดจนแผ่นทองคำ เงินและทองแดงที่หลวงพ่อเต๋ได้ลงอักขระ เลขยันต์ต่างๆ นับได้ว่าเป็นพระเครื่องที่ดีที่สุดที่หลวงพ่อเต๋เคยสร้างมา โดยบรรดาศิษย์หลวงพ่อเต๋เชื่อว่ามีพุทธาคุณสูงกว่าตระกรุดหรือเครื่องรางตลอดจนพระเครื่องรุ่นอื่นๆของท่าน ค่านิยมพิมพ์ใหญ่เกือบแสนบาท พิมพ์เล็กประมาณหกหมื่นบาท จำนวนพระทั้งหมด ประมาณ 500องค์(พิมพ์เล็กประมาณ 400 องค์ พิมพ์ใหญ่ประมาณ 100 องค์)




พระกริ่งสวนเต่าพิมพ์ใหญ่ ปีพ.ศ.2500





พระกริ่งสวนเต่าพิมพ์เล็ก ปีพ.ศ. 2500


          แม้แต่หลวงพ่อแย้ม เจ้าอาวาสวัดสามง่าม รูปปัจจุบันท่านก็ยังพกพระกริ่งสวนเต่าอยู่ในย่ามของท่านตลอดเวลาและใช้พระกริ่งแช่น้ำทำน้ำพุทธมนต์








                                                                                                             นายสุพล คีรีวิเชียร
                                                                                                              081-0434114
                                                              
                     
                       
                                               




























































วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย



พระครูสุวิชานวรวุฒิ (หลวงพ่อปี้ ทินฺโน)
เทพเจ้าแห่งอำเภอบ้านด่านลานหอย



รูปหล่อโบราณ รุ่นแรก หลวงพ่อปี้
จำนวน ๑,๐๐๐ องศ์


รูปหล่อปั้มรูปเหมือนใบโพธิ์ หลวงพ่อปี้ ปีพ.ศ.2503 เป็นรูปหล่อที่มีประการณ์สูงมากกว่าเหรียญรุ่นแรกปี ๒๕๐๒และในอดีตมีค่านิยมสูงกว่าเหรียญรุ่นแรกจำนวน ๒,๐๐๐ องศ์


รูปหล่อปั้ม รุ่นสาม หลวงพ่อปี้ ปีพ.ศ.2504ค่านิยมเป็นรองเหรียญรุ่นแรกและรูปหล่อปั้มปี ๒๕๐๓และเหรียญหรือรูปหล่อเงินราคาเท่ากับรูปหล่อโบราณรุ่นแรก(อันดับ ๕)จำนวน๑๐,๐๐๐ องศ์



รูปหล่อปั้มเงิน หลวงพ่อปี้ ปีพ.ศ.2505ค่านิยมเป็นอันดับสองรองจากเหรียญรุ่นแรกจำนวน๓๐๐ องศ์
ราคา 15,000 บาท



เหรียญรุ่นแรกเนื้อทองแดงจำนวน ๑๐,๐๐๐ องศ์


เหรียญรุ่นแรก เนื้อทองแดง กะไหล่เงิน


เหรียญรุ่นแรกเนื้อทองฝาบาตรจำนวน ๓,๐๐๐ องศ์


เหรียญรุ่นแรกเนื้อทองฝาบาตร


เหรียญรุ่นแรกเนื้อทองฝาบาตร

เหรียญหลวงพ่อปี้ รุ่นแรก ปีพ.ศ. 2502เนื้อทองทองฝาบาตรเป็นพระเครื่องที่มีประสบการสูงสุดราคาองค์ละ 10000 บาท


เหรียญหลวงพ่อปี้ วัดเตว็ด ปีพ.ศ.2504



เหรียญขวัญถุงหลวงพ่อปี้ เนื้อเงิน ปีพ.ศ.2509



เหรียญขวัญถุงหลวงพ่อปี้ เนื้ออะปาก้า ปีพ.ศ.2509



เหรียญหลวงพ่อปี้ รุ่นสุดท้าย พ.ศ.๒๕๑๓




แหวนเงินหลวงพ่อปี้ ปีพ.ศ.2504







สุพล  คีรีวิเชียร
084-0434114
                                                              



เหรียญพระแม่ย่า จ.สุโขทัย รุ่นแรก พ.ศ.2505
เกจิอาจารย์สำคัญที่ร่วมปลุกเสก หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย 
ปั้ง พะเนียงแตก 081-04344114



เหรียญพระแม่ย่า จ.สุโขทัย รุ่นแรก พ.ศ.2505
เกจิอาจารย์สำคัญที่ร่วมปลุกเสก หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย 
ปั้ง พะเนียงแตก 081-04344114





พระปางช่อนหาพิมพ์ใหญ่(พิมพ์นิยม)
พระปางซ่อนหา เนื้อเมฆสิทธิ์ หลวงปู่ทับ วัดอนงค์ฯ พิมพ์นี้ในอดีตเมื่อ๓๐กว่าปีก่อนนักสะสมพระเครื่องมองว่าเป็นพิมพ์นิยมที่มีมูลค่าสูงสุดกว่าพิมอื่น โดยมองว่าพระพิมพ์ปางช่อนหาพิมพ์อื่นไม่ทันหลวงปู่ทับ(เป็นพระเก๋)
ปั้ง พะเนียงแตก 081-04344114

                       
นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร

                       
            ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดิธบดีผู้พิพากษาศาอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค ๕ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘          
                         
                                      



                                                                                 ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม 


                  
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง



พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ปี 2556

ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด


          สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น 
สัมฤทธิคุณ รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
          ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้เหลือ 8 องค์
          ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้เหลือ 30 องค์

          พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
          สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) 
          โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142







พระโพธิสัตว์กวนอิม มูลนิธิร่วมมิตรสุโขทัย (โรงเจ)
เนื้อทองคำ 99% หนักประมาณ 1 บาท