คนนครปฐมโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย มีความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเครื่อง ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

พระอุปัชฌาย์ขำ อินทปัญญา (ลานกระบือ) วัดโพธิ์เตี้ย


พระอุปัชฌาย์ขำ (อินทปัญญา) วัดโพธิ์เตี้ย


             วัดโพธิ์เตี้ย  บ้านปลักไม้ดำ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อว่า"วัดงิ้วงาม" มีหลวงพ่อกล้ายเป็นเจ้าอาวาส หลังจากที่ท่านมรณภาพ หลวงพ่อขำ อินทปัญญาได้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา ได้เปลื่อนชื่อวัดจากวัดงิ้วงาม เป็นวัดโพธิ์เตี้ย ตามลักษณะของต้นโพธิ์ที่มีลักษณะแคระเตี้ย และปัจจุบันต้นโพธิ์นี้ได้ตายแล้ว ที่วัดโพธิ์เตี้ยมีรูปจำลองหลวงพ่อขำ อินทปัญญาทำด้วยปูนปั้นขนาดเท่าองค์จริง(ผู้เขียนได้ไปวัดโพธิ์เตี้ย ปี พ.ศ.๒๕๓๑ขณะนั้นเป็นวัดร้าง)
           พระอุปัชฌาย์ขำ อินทปัญญา หรือหลวงพ่อขำ ลานกระบือ ท่านเป็นชาวปรักไม้ดำ ถือกำเนิด เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๗ โยมบิดาชื่อช้าง โยมมารดาชื่อนิล มีพี่น้องสามคน เป็นชายทั้งหมด พี่คนโตชื่อมั่น คนที่สองคือหลวงพ่อขำ คนที่สามชื่ออิน ทั้งสามคนไม่มีบุตร ชีวิตของหลวงพ่อขำในวัยเด็กลำบากมาก ท่านกำพร้าบิดา มารดามีสามีใหม่ สามีใหม่ของมารดาเป็นคนไม่เอาถ่านเกียจคร้าน ขี้เหล้าเมายา มักจะหาเรื่องมารดาเสมอ วันหนึ่งสามีใหม่เมาสุราแล้วหาเรื่องตีมารดา ท่านได้ช่วยเหลือมารดาและทำร้ายสามีใหม่จนได้รับบาดเจ็บ หลวงพ่อขำท่านจึงได้เห็นสัจธรรมข้อหนึ่งคือทุกขเวทนาของการดำรงชีวิตในสถานะฆราวาส ท่านจึงเข้าอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดวังตะขบ จังหวัดพิจิตร โดยมีเจ้าอาวาสวัดวังตะขบเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา"อินทปัญญา" เมื่อพระภิกษุขำได้อุปสมบทแล้ว ท่านได้ตั้งใจศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ ตลอดจนวิชาอาคมต่างๆอย่างจริงจัง เพราะเป็นสิ่งที่ท่านโปรดปรานมาก ดังนั้นปัจจัยที่ได้จากการถวายของญาติโยมท่านจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษาวิชาอาคมจากสำนักอาจารย์ที่มีชื่อเสียงต่างๆ เมื่อทราบว่าที่ใดมีพระอาจารย์ที่เรืองเวทย์ ท่านจะต้องเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ และที่จังหวัดพิจิตร ท่านได้พบกับหลวงพ่อเงิน บางคลาน เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเมืองพิจิตรในขณะนั้น หลวงพ่อขำท่านก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และได้ร่วมเดินธุดงค์ไปกับหลวงพ่อเงิน ในเวลานั้นศิษย์ร่วมสำนักกับท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้แก่ หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง หลวงพ่อพิธท่านมีศักดิ์เป็นหลานหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ตะกรุดของหลวงพ่อพิธ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ว่ามีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ส่วนตะกรุดของหลวงพ่อขำก็มีอิทธิฤทธิ์ไม่แพ้ตะกรุดของหลวงพ่อพิธ แต่ความนิยมอาจจะน้อยกว่าตะกรุดของหลวงพ่อพิธ เพราะจำนวนการสร้างตะกรุดของหลวงพ่อขำมีจำนวนน้อยมาก จึงเป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปรู้จักน้อย ตะกรุดของหลวงพ่อขำที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่รู้จักในบรรดาศิษย์ของท่านได้แก่ตะกรุดโทน ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ และตะกรุดลูกด้านโดยเอาลูกปืนพระรามหกที่ยิงไม่ออกมาลงอักขระ ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก (ดีทางมหาอุด)
           หลวงพ่อขำ อินทปัญญาเมื่อท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดโพธิ์เตี้ย และต่อมาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เตี้ย ท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด มีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๐ สร้างพระเจดีย์สามองค์ด้านหน้าพระอุโบสถ สร้างพระวิหารด้านข้างซ้ายพระอุโบสถ และปั้นรูปจำลองหลวงพ่อขำด้วยปูน(แต่ช่างปั้นไม่สวย)อยู่ด้านหน้าพระวิหาร สร้างหอระฆัง รอยพระพุทธบาทจำลอง และศาลาการเปรียญ
            นอกจากนี้หลวงพ่อขำ ยังได้ศึกษาด้านสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ท่านทำยาเม็ด ยาหม้อ รวมทั้งการอาบน้ำมนต์ อันเป็นการรักษาทางจิตใจอีกทางหนึ่ง นับได้ว่าท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย และวัดของท่านก็คือโรงพยาบาลแพทย์แผนโบราณนั้นเอง
           หลวงพ่อขำท่านเป็นพระที่เชียวชาญวิปัสสนากรรมฐานและวิชาอาคม สมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ วัดจะมีประชาชน และข้าราชการทหาร ตำรวจจากจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย และกำแพงเพชร ขี่ม้ามาขอบูชาเครื่องรางของขลังอย่างไม่ขาดสาย จึงทำให้ท่านมีปัจจัยมากพอที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดดังได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีพระภิกษุมาจำพรรษาที่วัดโพธิ์เตี้ยเป็นจำนวนมาก เพิ่อฝากตัวเป็นศิษย์ ขอเรียนวิปัสสนากรรมฐานและวิชาอาคมจากท่าน วัดโพธิ์เตี้ยในสมัยนั้นจึงรุ่งเรืิองมาก ชื่อเสียงของหลวงพ่อขำก็โด่งดังมาก มีประชาชนเคารพนับถือท่านมาก ยิ่งหลวงพ่อขำมีชื่อเสียงมากเพียงใด ย่อมนำไปสู่ความอิจฉาริษยาของบุคคลบางกลุ่มที่ไม่หวังดี ในที่สุดก็มีการใส่ร้ายป้ายสีหลวงพ่อขำ ว่าท่านประพฤติตนไม่เหมาะสม อวดอุตริผิดมนุษย์ ซึ่งความดังกล่าวก็นำไปสู่การร้องเรียนที่เป็นเท็จต่อพระครูวิเชียรโมลี(ปลั่ง) ประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๐ ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลีดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูเมธีคณานุรักษ์รั้งตำแหน่ง รักษาการเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร
            ท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลี(ปลั่ง)ก็ได้ขี่ม้ามาตรวจสอบความประพฤติของหลวงพ่อขำตามคำร้องเรียนที่วัดโพธิ์เตี้ย เมื่อท่านเจ้าคุณได้เดินตรวจดูบริเวณวัดโพธิ์เตี้ย ก็เห็นความสะอาดและความมีระเบียบของวัด และเมื่อท่านเจ้าคุณได้พบและสนทนากับหลวงพ่อขำ ก็ทราบได้ว่าคำร้องเรียนนั้นเป็นเท็จ และยังทราบว่าหลวงพ่อขำท่านเป็นพระที่เชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานและมีความรู้ในวิชาอาคมขั้นอาจารย์ ท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลีจึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ และขอเรียนวิชาลงตะกรุดหนังหน้าผากเสือ และในเวลาต่อมาท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลีก็ได้แต่งตั้งหลวงพ่อขำเป็นพระอุปัชฌาย์ จากเหตุผลที่กล่าวมา จึงเชื่อได้ว่าหลวงพ่อขำท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งที่สุดและอาวุโสที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชรที่เคยมีการบันทึกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดแะมหาอุด ท่านเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใครในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง(หลวงปู่สุข วัดมะขามเฒ่า หลวงพ่อเงิน บางคลานกินท่านไม่ลง) 



เหรียญหล่อพระพุทธอุข้างพิมพ์หน้าเล็ก(พิมพ์นิยม) หลวงพ่อขำ สร้างในยุคแรกราคา ๑๓๐,๐๐๐บาท



เหรียญหล่อพระพุทธอุข้างพิมพ์หน้าเล็ก(พิมพ์นิยม) หลวงพ่อขำ สร้างในยุคแรก
ประมาณปีพ.ศ.๒๔๖0 .ราคา ๑๓๐,๐๐๐บาท


เหรียญหล่อพระพุทธอุหลัง พิมพ์หยดน้ำหลังอุ หลวงพ่อขำ ราคา ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(ขายแล้ว)
           เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๒หรือ๒๕๑๓ได้มีคนร้ายเข้ามาขุดทำลายพระเจดีย์องค์ซ้ายมือซึ่งบรรจุพระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงพ่อขำ แต่คนร้ายไม่สามารถนำพระเครื่องไปได้ ขณะนั้นหลวงพ่อโนหรือพระครูวินิจวชิรคุณ เจ้าอาวาสวัดแก้วสุริย์ฉาย(วัดลานกระบือ) และเป็นเจ้าคณะตำบล ได้ถือโอกาสนั้นทำพิธีเปิดกรุพระเจดีย์องค์ที่ถูกขุด(ในพิธีเปิดกรุได้นิมนต์หลวงพ่อโถม วัดธรรมปัญญารามหรือวัดหนองสีดา อำเภอคีรีมาส จังหวัดสุโขทัย มาร่วมพิธี) เมื่อเปิดกรุได้พระเครื่องเป็นจำนวนมากมายหลายแบบหลายพิมพ์ มีทั้งพระเนื้อดิน พระเนื้อชินและพระเหรียญหล่อโบราณพิมพ์พระพุทธอุข้างเนื้อขันลงหิน ประมาณ ๗๒๐ เหรียญ หลวงพ่อโนหรือพระครูวินิจวชิรคุณได้นำพระเครื่องเหล่านั้นออกให้ประชาชนได้บูชา แล้วนำปัจจัยทั้งหมดมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเท่หล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงพ่อขำและหลวงพ่อกลับ รูปหล่อท่านทั้งสองได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดแก้วสุริย์ฉาย(วัดลานกระบือ)



เหรียญหล่อพระพุทธอุข้างพิมพ์หน้าใหญ่ หลวงพ่อขำ ปี พ.ศ.๒๔๖๖
สร้างโดยเจ้าคุณโบราณ วัดราชธาณีมีศักดิ์เป็นหลานหลวงขำ
(ห่วงหัก)


          เหรียญหล่อโบราณพิมพ์พระพุทธอุข้าง เนื้อขันลงหินของหลวงพ่อขำเป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพระเครื่องของหลวงพ่อขำ เป็นพระเครื่องที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์ เป็นเหรียญที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรหวงแหนมาก และเป็นเหรียญเก่าที่หายากเหรียญหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ค่านิยมอยู่ประมาณ ๗๐,๐๐๐๐ บาทอนาคตมีสิทธิ์ขึ้นถึงหลักแสนแน่นอน เหรียญหล่อพิมพ์พระพุทธอุข้าง ผู้เขียนสันนิฐานว่าสร้างประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๖(บางเหรียญด้านหลังมีรอยข้อความว่า"สุโขทัย ๒๔๖๖") เหรียญหล่อพิมพ์พระพุทธอุข้างมีทั้งหมด ๓พิมพ์ เข้าใจว่าสร้างเพื่อตอบแทนผู้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างพระอุโบสถ ปี พ.ศ.๒๔๗๐
            ประสบการณ์อยู่ยงคงกระพันชาตรี มหาอุด แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม        




เหรียญปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อขำ ลานกระบือ







สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114



ชุมนุมเชียรใหญ่ในอดีต
กวย สีลม, บิ ท่าพระจันทร์, บอ,
จั้วเล็กตลาดพลู, เป้งย้งตลาดพลู, จั้วใหญ่ตลาดพลู, เสี่ยสมเกียรติ์ ฉันทนวาณิช อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และ อ.นิรันตร์(หนู)แดงวิจิตร, เสี่ยใบแดง, นายสุพล คีรีวิเชียร(ทนายปั้ง), อ.ประโยชน์, อ.นิพัทธ์ จิตรประสงค์, นายบัณฑิต กรกนก, เล็ก รูปหล่อ

                                                              
                       
                     
นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร


                 ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘



                                                                                     ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม                       
                     
                     
                                                   
                  
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง



พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ปี 2556
ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด

          สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น 
สัมฤทธิคุณ รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
          ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
          ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว

          พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
          สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) 
          โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142


          




พระโพธิสัตว์กวนอิม มูลนิธิร่วมมิตรสุโขทัย (โรงเจ)
เนื้อทองคำ 99% หนักประมาณ 1 บาท






หลวงปู่สุข มะขามเฒ่า


วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว(ศรีอุปลาราม)ปี พ.ศ.๒๔๙๗ จังหวัดกาญจนบุรี

 

หลวงปู่ยิ้ม (จนฺทโชติ) วัดหนองบัว

           เมื่อกล่าวถึงหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ยอดเกจิอาจารย์อันดับหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ทุกท่านคงจะนึกถึงพระปิดตาเนื้อผงผสมว่าน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่หลวงปู่ยิ้มได้สร้างขึ้น แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเหรียญคุณพระรูปเหมือน ด้านหนึ่งเป็นรูปหลวงปู่ยิ้มและอีกด้านหนึ่งเป็นรูปหลวงปู่เหรียญ ที่สร้างขึ้นโดยพระโสภณสมาจารย์หรือหลวงปู่เหรียญ(สุวรรณโชติ)วัดศรีอุปลารามหรือวัดหนองบัว
           หลวงปู่ยิ้ม(จนฺทโชติ) ท่านเป็นชาววังด้ง อำเภอเมืิอง จังหวัดกาญจนบุรี เกิดเมื่อปีมะโรง เดือนห้า วันอังคาร ปี พ.ศ.๒๓๘๗ เป็นบุตรนายยิ่ง นางเปี่ยม ชูชันยะ เมื่อยังเป็นวัยรุ่น มีนิสัยกล้า ไม่เกรงกลัวใคร เป็นคนจริง สู้คนเมื่อถูกข่มเหง ด้วยนิสัยและบุคลิกดังกล่าว เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านจึงชอบและรักที่จะศึกษาวิชาอาคมและไสยเวทย์ หลวงปู่ยิ้มท่านได้อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๘ ณ พระอุโบสถวัดทุ่งสมอ อำเภอบ้านทวน จังหวัดกาญจนบุรี(บ้านเกิดโยมมารดาของท่าน) โดยมีพระอธิการรอด เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า"ยิ้ม จนฺทโชติ" ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระอุปัชฌาย์เป็นเวลาสองพรรษา ก็สามารถสวดปาฏิโมกข์ได้ พระอุปัชฌาย์จึงแนะนำให้ไปศึกษาบาลีต่อที่สำนักลิงขบที่ฝั่งธนบุรีกับหลวงปู่พวงซึ่งเป็นสหายกับพระอุปัชฌาย์ของท่าน อยู่นานถึงหนึ่งพรรษา จึงเดินทางกลับวัดทุ่งสมอ นอกจากนี้หลวงปู่ยิ้ม ท่านยังได้ไปศึกษาวิชาอาคมและไสยเวทย์ต่อที่จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งในเวลานั้นมีเกจิอาจารย์เรืองเวทย์หลายท่าน อาทิ
             พระปลัดทิม วัดบางนางลี่น้อย เชียวชาญทางด้านทำน้ำมนต์โภคทรัพย์ ใครได้อาบน้ำมนต์ของท่านจะมีโชคลาภร่ำรวย
             หลวงปู่พึ่ง อินฺทสโร เจ้าอาวาสวัดปากสมุทร เชียวชาญทางด้านทำธงกันฟ้าผ่าพายุคลื่่ื่นลมในทะเล
             หลวงพ่อกลัด วัดบางพรหม อำเภออัมพวา เชี่ยวชาญทางด้านมหาอุด และอยู่ยงคงกระพันชาตรี
             หลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ อัมพวา เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณ และทำมีดหมอปราบภูตผีปีศาจและวิชาทำเชือกคาดเอว
            เมื่อท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆจากอาจารย์ที่กล่าวมาแล้วจนสำเร็จ ต่อมาได้ข่าวว่าที่วัดหนองบัว ตำบลหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี มีเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก โจษจันว่ามีความเชียวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ พระภิกษุรูปนั้นชื่อ หลวงปู่กลิ่น หลวงปู่กลิ่นท่านเป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญในวิปัสสนากรรมฐานจนสำเร็จจิต สามารถกำบังกายหายตัวได้ แหวกน้ำ ดำดิน หลวงปู่กลิ่นท่านจะบำเพ็ญเพียรภาวนาเจริญวิปัสสนากรรมฐานภายในถ้ำพุพระหรือถ้ำขุนแผน หลวงปู่ยิ้มท่านมีความเลื่อมใสศรัทธานับถือหลวงปู่กลิ่น จึงถวายตัวเป็นศิษย์และจำพรรษาที่วัดหนองบัว และได้ติดตามหลวงปู่กลิ่นเข้าไปในถ้ำพุพระเพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงปู่กลิ่น ได้ศึกษาอยู่ประมาณสองพรรษา ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่กลิ่นท่านมีอายุมาก(ประมาณร้อยกว่าปี) เมื่อหลวงปู่กลิ่นมรณภาพ หลวงปู่ยิ้มจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวรูปที่ ๔ ต่อจากหลวงปู่กลิ่น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๐
            หลวงปู่ยิ้มท่านเป็นพระที่มีจิตใจเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว ไม่เกรงกลัวใครดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้นปัจจัยที่โยมบิดามารดาและญาติถวายท่าน ท่านจะนำเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากเกจิอาจารย์หลายท่านดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัว ชื่อเสียงของหลวงปู่ยิ้มก็โด่งดัง โดยเฉพาะพระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ให้ปรากฏอยู่บ่อยครั้ง เครื่องรางของขลังของท่านจึงเป็นที่นิยมต้องการของประชาชนทั่วไปรวมทั้งเจ้านายชั้นสูง พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านจึงเป็นเครื่องมือช่วยเหลือท่านในการพัฒนาบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด อาทิเช่น สร้างกุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ และความมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านวิชาอาคมของหลวงปู่ยิ้ม จึงมีพระภิกษุหลายรูปมาฝากตัวขอเป็นศิษย์เพื่อเรียนวิชากับท่าน เท่าที่ทราบมาได้แก่ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ หลวงปู่ดี วัดเหนือ โดยเฉพาะหลวงปู่เหรียญนับได้ว่าเป็นศิษย์เอกและศิษย์ใกล้ชิดของท่าน เพราะนอกจากจะได้ศึกษาไสยเวทย์กับหลวงปู่ยิ้มแล้ว หลวงปู่ยิ้มยังเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่เหรียญอีกด้วย หลวงปู่เหรียญเมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาที่วัดหนองบัว และได้อยู่ปรณนิบัติรับใช้หลวงปู่ยิ้มอย่างใกล้ชิด จึงเป็นโอกาสดีที่หลวงปู่เหรียญจะได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงปู่ยิ้มจนหมดเปลือกก็ว่าได้



หลวงปู่เหรียญ (สุวรรณโชติ) วัดหนองบัว


           หลวงปู่เหรียญ เดิมชื่อ เหรียญ นามสกุล รัสสุวรรณ บิดาชื่อ โผ มารดาชื่อ แย้ม เกิดเมื่อวันที่่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๙ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด มีพี่น้องร่วมกัน ๗ คน เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดหนองบัว โดยมีหลวงปู่ยิ้ม(จนฺทโชติ) เจ้าอาวาสวัดหนองบัวเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองบัว ระหว่างที่ท่านปรณนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์และศึกษาวิชาอาคมจากหลวงปู่ยิ้มจนหมดไส้หมดพุง หลวงปู่เหรียญท่านเป็นพระนอบน้อมถ่อมตน ไม่ชอบโอ้อวดว่าท่านมีดีอย่างไร ท่านจะให้เกียรติและยกย่องพระอุปัชฌาย์และศิษย์รุ่นพี่ร่วมสำนักอยู่เสมอ  ทั้งๆที่ท่านสามารถทำเครื่องรางหรือวัตถุมงคลได้ขลังไม่แพ้พระอุปัชฌาย์และศิษย์ผู้พี่ของท่านก็ตาม หลวงปู่เหรียญ มรณภาพปี พ.ศ.๒๕๐๓
           เมื่อหลวงปู่ยิ้มมรณภาพลง ปีพ.ศ.๒๔๕๓ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองบัว ก็ได้ตกอยู่กับหลวงปู่เหรียญ หลวงปู่เหรียญในฐานะเจ้าอาวาสวัดหนองบัวจึงมีหน้าที่จะต้องบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดหนองบัว การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นช่องทางเดียวที่จะหาปัจจัยเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เหมือนดังเช่นพระอุปัชฌาย์เคยปฏิบัติมา
            ในสมัยที่หลวงปู่เหรียญยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้สร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลมากมายหลายชนิด อาทิ ตะกรุดลูกอม ลูกอมผง แหวนพิรอด พระปิดตา และพระเครื่องอีกหลายรูปแบบ ล้วนมีประสบการณ์ เป็นที่ต้องการของประชาชนชาวจังหวัดกาญจนบุรี



เหรียญหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว รุ่นแรก ปีพ.ศ.๒๔๙๗


เหรียญหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว รุ่นแรก ปี พ.ศ ๒๔๙๗



เหรียญหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว รุ่นแรก ปี พ.ศ ๒๔๙๗




            เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ ที่สร้างโดยหลวงปู่เหรียญในปี พ.ศ.๒๔๙๗ซึ่งเป็นเหรียญคุณพระที่หลวงปู่เหรียญได้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรก และครั้งเดียวในชีวิตของท่าน  จำนวนการสร้างผู้เขียนสันนิฐานว่าประมาณห้าพันกว่าเหรียญ เหรียญรุ่นแรกนี้ได้นำออกแจกในงานฉลองอายุครบ ๗๘ ปี และเป็นงานฉลองพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗(พระอุโบสถหลังใหม่นี้หลวงปู่เหรียญใช้เวลาสร้างหลายปี)  เหรียญรุ่นแรกนี้เป็นเหรียญรูปเสมาปั้มเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ยิ้มครึ่งองค์ ด้านบนมีข้อความว่า"พระอุปัชฌาย์ยิ้ม จนฺทโชติ" ด้านข้างมีข้อความว่า"วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี" ส่วนด้านหลังของเหรียญเป็นรูปหลวงปู่เหรียญครึ่งองค์ ด้านข้างมีข้อความว่า "พระโสภนสมาจารย์ หลวงพ่อเหรียญ" เหรียญรุ่นแรกนี้มีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม โชคลาภและดีทางค้าขาย จึงเป็นเหรียญๆหนึ่ง ที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีหวงแหนมากและจัดว่าเป็นเหรียญดังอันดับหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ค่านิยมอยู่ประมาณสี่หมื่นบาท อนาคตมีสิทธิ์เล่นหาถึงหลักแสน








สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114

  
นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร


                 ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘



                                                                                     ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม                                                       
                    
                       
                  
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง



พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ปี 2556

ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด


          สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น 
สัมฤทธิคุณ รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
          ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
          ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว

          พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
          สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) 
          โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142






พระโพธิสัตว์กวนอิม มูลนิธิร่วมมิตรสุโขทัย (โรงเจ)
เนื้อทองคำ 99% หนักประมาณ 1 บาท