สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว)
พระมงคลราชมุนี (สนธิ์ ยติธโร)
ศิษย์เอก ผู้สืบทอดพิธีกรรม และวิทยาคมในการสร้างพระกริ่ง
ของสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทว)
คุณนิรันตร์ แดงวิจิตร
(อาจารย์หนู)
ผู้ให้ข้อมูล เมื่อปี พ.ศ.2530
เมื่อปี พ.ศ.2483 เจ้าคุณวิเชียรได้ขออนุญาตสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทว) สร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทว) ก็อนุญาตให้สร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์ในพิธีเดียวกันกับพระกริ่งรุ่นฉลองพระชนม์ 7 รอบ (พระกริ่ง 83) ในพิธีเททองหล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์ครั้งนั้นได้มีการจัดงานฉลองพระสุพรรณบัฏ เฉลิมราชทินนาม "อริยวงศาฆาตญาณฯ"
เนื่องจากพระครูวิเชียรมีความสนิทสนมกับเจ้าคุณศรี(สนธิ์ ยติธโร) การสร้างพระกริ่งพระชัยฯครั้งนี้ เจ้าคุณศรี(สนธิ์ ยติธโร) จึงรับอาสาเป็นแม่งานในการสร้างพระครั้งนี้ ดังนั้นการลงพระยันต์ 108 กับ นะปถมัง 14 นะ การผสมเนื้อทองจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าคุณศรี(สนธิ์ ยติธโร) จากการบอกเล่าของคุณนิรันตร์ แดงวิจิตร(อาจารย์หนู) ที่กรุณาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าในการสร้างพระกริ่งพระชัยฯของพระครูวิเชียรครั้งนี้ ท่านได้นำทองชนวนพระกริ่งเก่าของสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทว) ใส่ลงไปเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุให้พระที่หล่อได้ไม่สวยเท่าที่ควร ผิวเป็นมะระ จำนวนการสร้างพระครั้งนี้ พระกริ่งสร้างประมาณ 108 องค์ ส่วนพระชัยฯสร้างประมาณ 500-600 องค์ เนื้อพระออกกระแสเหลืองอมขาว หรือที่เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์โชค"
นอกจากนี้อาจารย์หนูยังกล่าวเสริมเพิ่มเติมอีกว่า พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ที่เทหล่อในพิธีฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ ฤกษ์เวลาเทหล่อพระเป็นฤกษ์เสริมดวง ดังนั้นพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ที่เทในพิธีนี้จึงมีคุณวิเศษณ์อีกประการหนึ่งคือเสริมดวงชะตา จะให้คุณแก่ผู้ที่ดวงตกหรือมีเคราะห์กรรมหนักให้เบาบางลง ส่วนผู้ที่ไม่มีเคราะห์กรรมก็จะเสริมดวงให้ดีขึ้นไปอีก
นอกจากนี้อาจารย์หนูยังกล่าวเสริมเพิ่มเติมอีกว่า พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ที่เทหล่อในพิธีฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ ฤกษ์เวลาเทหล่อพระเป็นฤกษ์เสริมดวง ดังนั้นพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ที่เทในพิธีนี้จึงมีคุณวิเศษณ์อีกประการหนึ่งคือเสริมดวงชะตา จะให้คุณแก่ผู้ที่ดวงตกหรือมีเคราะห์กรรมหนักให้เบาบางลง ส่วนผู้ที่ไม่มีเคราะห์กรรมก็จะเสริมดวงให้ดีขึ้นไปอีก
พระกริ่งพิมพ์เทพโมลี พระครูวิเชียร 14 พ.ย. 2483
พระชัยวัฒน์ พระครูวิเชียร วัดสุทัศน์ฯน่าจะมีหลายพิมพ์ไม่ต่ำ 4-5 พิมพ์
เทหล่อพระที่วัดสุทัศน์ฯ ในพิธีฉลองสุพรรณบัฏ 14 พ.ย. 2483
โค้ดใบพัดสี่แฉกของเจ้าคุณศรี(สนธิ์ ยติธโร) ที่ตอกก้นพระชัยฯ
บทความนี้จะกล่าวถึงพระชัยวัฒน์ของพระครูวิเชียรเท่านั้น พระชัยวัฒน์ของพระครูวิเชียรมีลักษณะไม่ซ้ำพิมพ์แบบของผู้อื่น คือ เป็นศิลปะจีน ฐานกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.4 เซนติเมตร องค์พระประทับนั่งบนบัวรอบ 2 ชั้น ปางมารวิชัย เนื้อพระออกกระแสเหลืองอมขาวหรือที่เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์โชค" ผิวพระส่วนใหญ่จะพรุนไม่เรียบ เป็นผิวมะระ อันเนื่องมาจากการใส่ทองชนวนเก่าเป็นจำนวนมากเกินไป การสร้างพระกริ่งพระชัยฯครั้งนี้ เป็นการสร้างร่วมกันกับเจ้าคุณศรี(สนธิ์ ยติธโร) และคณะอื่น พิมพ์พระชัยวัฒน์ของพระครูวิเชียรที่สร้างในครั้งนี้ แม่พิมพ์มีหลายตัว แต่พอจำแนกออกได้เป็นสองพิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่จะล่ำใหญ่กว่าพิมพ์เล็กเล็กน้อย ส่วนพิมพ์เล็กคมชัดกว่าพิมพ์ใหญ่ พระชัยฯบางองค์ตอกโค๊คเจ้าคุณศรีสนธ์เป็นรูปใบพัดสี่แฉก
สาเหตุการสร้างพระชัยวัฒน์ของพระครูวิเชียรในเวลานั้น(ปี 2483) เพื่อแจกจ่ายญาติสนิทมิตรสหายหรือโยมผู้มีอุปการะคุณ รวมทั้งลูกศิษย์ที่เคารพในพระครูวิเชียร มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัดบางแขมเลย ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้นไม่ด้อยไปกว่าพระชัยวัฒน์รุ่นฉลองครบ 7 รอบ(พระชัยฯ 83) ของสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทว) ต่อมาปี 2490 ทางวัดบางแขมได้ดำริที่จะสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเดิมที่เก่าชำรุดมาก ทางวัดบางแขมจึงได้มาขอพระชัยวัฒน์พระครูวิเชียร เพื่อออกจำหน่ายหรือเป็นการสมนาคุณแก่ผู้บริจากทรัพย์สร้างพระอุโบสถในงานฝั่งลูกนิมิตปี 2494 พระชัยวัฒน์ในส่วนของพระครูวิเชียรมีจำนวนไม่เพียงพอ พระครูวิเชียรจึงได้ไปขอเจ้าคุณสนธ์ และคณะอื่นๆ รวบรวมได้ประมาณ 400-500 องค์ เมื่อป๊ พ.ศ.2490
ด้านประสบการณ์ ดีทางปืนและกันไฟ กันฟ้าผ่า(นายพายัพ ดีไข่ เกิด ๕ ม.ค. ๒๔๙๗ โทร.๐๙๑-๒๖๓๑๐๕๕ เป็นชาวบางแขมแขวนพระชัยวัฒน์ฯถูกฟ้าผ่าไม่ตาย เหตุเกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๔) และเสริมดวงชะตา ค่านิยมโดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณองค์ละ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐บาทแต่องค์ที่สวยระดับแชมป์อยู่ที่ประมาณ ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ บาท อนาคตภายในปีสองปีนี้มีสิทธิเล่นหาถึงหลักแสนแน่นอน
บทความนี้ถ้าจะก่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านก็ขอมอบความดีในส่วนนี้ให้แด่ คุณนิรันตร์ แดงวิจิตร(อาจารย์หนู) คุณลุงไซ่ฮวง แซ่โค้ง(กุ้ยอ่อน)และอาจารย์สุปรีชา ศรีวราภรณ์(ครูโอ)อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
สุพล คีรีวิเชียร
081-0434114
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น