คนนครปฐมโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย มีความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเครื่อง ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

ทำไมพระกริ่ง ๗๙ จึงได้รับความนิยมสูง


สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว)



สมเด็จพระวันรัต (แพ ติสฺสเทว)

          ก่อนที่จะพูดถึงพระกริ่ง ๗๙ ของวัดสุทัศน์ฯ ขอแนะนำประวัติท่านผู้สร้าง คือ สมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทว ) พระนามเดิมว่า แพ พระนามฉายาว่า ติสฺสเทว ประสูติในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันพุธ  ขึ่น ๑๕ เดือน ๑๒ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๓๙๙ บิดาชื่อ นุตร์ มารดาชื่อ อ้น เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง จังหวัด ธนบุรี
          สาเหตุที่ทรงสร้างพระกริ่งนั้น  เนื่องมาจากสมัยที่ท่านอยู่กับสมเด็จพระวันรัต(แดง) พระอุปัชฌาย์ครั้งหนึ่งสมเด็จพระวันรัต(แดง) อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส  ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่นเสด็จมาเยี่ยม เมื่อรับสั่งถามถึงอาการของโรคเป็นที่เข้าพระทัยแล้ว รับสั่งว่า เคยเห็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศฯ สมเด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิฐาน ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้เป็นอหิวาตกโรคกินหายเป็นปกติ  พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่ตามเสด็จไปนำพระกริ่งที่วัดบวรนิเวศฯ แต่สมเด็จฯทูลว่าพระกริ่งที่กุฏิมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้าจึงรับสั่งให้นำมา แล้วอาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิฐานขอน้ำพระพุทธมนต์  แล้วนำไปถวายสมเด็จพระวันรัต(แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธแล้ว  โรคอหิวาตกโรคก็บรรเทาหายเป็นปกติ




พระกริ่ง ๗๙องค์ประวัติศาตร์ที่พี่เล็ก รูปหล่อพูดถีง



พระกริ่ง ๗๙


          ตั้งแต่นั้นมาพระองค์ก็เริ่มสนพระทัยในการสร้างพระกริ่งเป็นลำดับ และในปีพ.ศ.๒๔๗๙ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๑๒ ทรงบำเพ็ญกุศลฉลองพระชนมายุเช่นทุกปีที่เคยปฏิบัติมา ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต และในปีนี้ได้มีการหล่อพระกริ่งเหมือนเช่นทุกปี ในปีนี้ได้บัญชาให้ช่างอินทร์หล่อพระที่สนามหลวงหน้าพระอุโบสถ  ปีนี้เปิดโอกาสให้คณะศิษย์และผู้ใกล้ชิดสั่งจองเป็นครั้งสุดท้าย จำนวน ๔๖๔ องค์ ตามจำนวนผู้สั่งจอง พระกริ่งรุ่นนี้เนื้อแดงออกขาวที่เรียกว่าเนื้อมันเทศดิบ เพราะใส่เงินกลมตรายันต์หลายร้อยก้อน พระกริ่งรุ่นนี้แกะพิมพ์พิเศษจากพิมพ์เดิม พุทธลักษณะจึงใหญ่โตล่ำสัน พระกรรณสั้นไม่ถึงพระอังศา พระหัตถ์ช้ายถือวัชระ ศิลปจีนแบบหหนองแสพิมพ์ใหญ่  สูง ประมาณ ๔ เซนติเมตร ๑ ม.ม.กว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร ๔ ม.ม.



คุณนิรันตร์  แดงวิจิตร
(อาจารย์หนู)

          จากคำบอกเล่าของคุณนิรันตร์ แดงวิจิตร (อาจารย์หนู) ท่านได้กรุณาเล่าให้ผู้เขียนฟังเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๙ว่า ในคืนหล่อเทพระกริ่ง ๗๙ เกิดเหตุน่าอัศจรรย์อันเป็นนิมิตดีหลายประการ
           ๑.ในคืนวันเทหล่อพระกริ่ง ๗๙ ท้องฟ้าสว่างไสว และพระจันทร์ได้ทรงกรด ๓ชั้น และ
           ๒.ในคืนนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จทรงฉลองประคำ ซึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ที่ท่านอาจารย์หนูได้เห็นครั้งเดียวและเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตของท่าน
          เมื่อหล่อพระกริ่ง ๗๙ เสด็จแล้ว ก็ได้นำพระกริ่งไปไว้ในพระตำหนักฯ เพื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านจะได้ปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งจนเป็นที่พอพระทัยของพระองค์แล้ว จึงประทานแก่ผู้สั่งจอง และในปีนั้นทรงรับสั่งกับอาจารย์หนูว่า"พระกริ่งคราวนี้รัศมีดีมาก ยิ่งบูชายิ่งเป็นศิริมงคล ไปไหนให้เอาติดตัวไปด้วย"ตั้งแต่นั้นมาอาจารย์หนูเมื่อท่านจะไปทำธุระกิจนอกบ้าน ท่านจะนิมนต์พระกริ่ง ๗๙ ติดตัวเสมอ นอกจากนี้อาจารย์หนู ท่านยังกรุณาเล่าต่อไปว่าท่านเคยใช้พระกริ่งของเจ้าพระคุณสมเด็จหลายรุ่น แต่ก็ไม่มีพระกริ่งรุ่นไหนจะเมตตาแรงเท่าพระกริ่งรุ่น ๗๙ ที่ท่านมีความเชื่ออย่างนี้เพราะในระหว่างที่ท่านรับราชการอยู่ที่กรมศิลปากร วันใดที่ท่านนิมนต์พระกริ่ง รุ่น ๗๙ ติดตัวจะรู้สึกหน้าที่การงานดำเนินไปด้วยความสะดวก ไม่มีความขัดแย้งต่อผู้บังคับบัญชา
          นอกจากนี้ยังมีนักสะสมพระกริ่งบางท่านยังให้ทัศนะต่อพระกริ่ง ๗๙ ว่า เนื่องจากพุทธลักษณะของพระกริ่ง ๗๙ ใหญ่โตล่ำสันนี้เองจึงดูเหมือนว่าจะจำลองรูปแบบมาจากเจ้าพระคุณสมเด็จ ประกอบกับพิมพ์พระกริ่ง ๗๙ เป็นพิมพ์แกะขึ้นใหม่ เป็นเอกลักษณ์ขององค์ท่านเองไม่ซ่ำพิมพ์กับพระกริ่งรุ่นอื่น จึงมีความแน่นอนในการที่จะแสวงหา ซื่งผิดกับพระกริ่งรุ่นอื่นซึ่งมักจะซ่ำพิมพ์กันเอง เช่นพระกริ่งพรหมมุนี มักจะใช้พิมพ์เดิมหล่อซ้ำกันหลายปี จนแยกไม่ออกว่าเป็นพระกริ่งปีใด
          พระกริ่ง ๗๙ เป็นพระกริ่งที่มีพุทธลักษณะงดงาม สง่าผึ่งผาย และมีความเป็นเอกลักษณ์ขององค์ท่านเอง และเนื้อขององค์พระจัดอยู่ในวรรณะแดง และเนื่องจากมีเงินกลมตรายันต์หลายร้อยก้อนผสมอยู่ จึงเป็นเหตุให้พระกริ่ง ๗๙ เมื่อสัมผัสหรือแช่น้ำไว้นาน ผิวองค์พระจะกลับดำสนิทเป็นเงางามเสมือนสีนิล (ดังเห็นได้จากพระกริ่ง ๗๙ ของอาจารย์หนู) นอกจากนี้องค์พระกริ่ง ๗๙ ท่านยังเปี่ยมล้นด้วยพระพุทธคุณอันสูงส่ง ไม่ว่าจะทางเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ตลอดจนโชคลาภ ดังนั้นจึงมิแปลกใจเลยที่พระกริ่ง ๗๙ จึงได้รับความนิยมสูง
        
         บทความนี้ถ้าก่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ก็ขอมอบความดีนี้ให้แด่คุณนิรันตร์ แดงวิจิตร(อาจารย์หนู)








สุพล  คีรีวิเชียร
081-434114
                                                            

ชุมนุมเชียรใหญ่ในอดีต
กวย สีลม, บิ ท่าพระจันทร์, บอ,
จั้วเล็กตลาดพลู, เป้งย้งตลาดพลู, จั้วใหญ่ตลาดพลู, เสี่ยสมเกียรติ์ ฉันทนวาณิช อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และ อ.นิรันตร์(หนู)แดงวิจิตร, เสี่ยใบแดง, นายสุพล คีรีวิเชียร(ทนายปั้ง), อ.ประโยชน์, อ.นิพัทธ์ จิตรประสงค์, นายบัณฑิต กรกนก, เล็ก รูปหล่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น