คนนครปฐมโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย มีความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเครื่อง ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

วัดทุ่งผักกูด


พระครูพรหมวิสุทธิ์
(วงษ์ พรหมสโร)
          
          วัดทุ่งผักกูด ตั้งอยู่ตำบลห้อยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม เป็นวัดตั้งอยู่ที่ดอน วัดได้ก่อสร้างมาแต่ครั้งใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เท่าที่สืบได้ปรากฎว่าสภาพเดิมของวัดเป็นเนินดิน โบสถ์ วิหารไม่มีเหลือ ส่วนเนินดินนั้นได้ขุดพบพระบูชาเก่าๆ สมัย
ทวารวดีหลายองค์ น่าจะสันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างในสมัยทวารวดี สภาพวัดเป็นวัดร้างเพิ่งมาสร้างขึ้นใหม่ในสมัยหลวงพ่อเทศน์ และหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกร่วมสร้างด้วย
          หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูด หรีือพระครูพรหมวิสุทธิ เจ้าคณะอำเภอกำเเพงเเสน เกิดวันพุธ เดือนห้า เเรมหนึ่งคํ่า ปีชวด พ.ศ. 2431 ณ บ้านทุ่งพิชัย ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม บรรพบุรุษเชื้อสายลาว หลวงพ่อเกิดในตระกูล "มีคลองเเบ่ง" บิดาชื่อ ลา มารดาชื่อ น้อย เป็นบุตรคนโต ในบรรดาพี่น้อง 8 คน คือ
          1.หลวงพ่อวงษ์
          2.นายจ่อย     มีคลองเเบ่ง 
          3.น.ส.นิ่ม       มีคลองเเบ่ง
          4.นายนุ่ม       มีคลองเเบ่ง
          5.นายเนียม    มีคลองเเบ่ง
          6.นายอ้น       มีคลองเเบ่ง
          7.นายพวง     มีคลองเเบ่ง
          8.นายไข่       มีคลองเเบ่ง
          เมี่อเยาว์วัย หลวงพ่อวงษ์ได้เรียนภาษาไทย เเละขอม จากคุณพ่อลา โยมพ่อลาอดีตเป็นสัมภาร วัดกงลาศ อำเภอ กำเเพงเเสน จังหวัด นครปฐม เป็นผู้มีวิชาอาคมเเก่กล้ามากในสมัยนั้น ภายหลังลาสิกขาบทมามีภรรยา ในระหว่างเป็นฆราวาสก็นุ่งขาว ห่มขาว เเละรักษาศีล ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บเเก่ชาวบ้าน ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมาก ด้วยเหตุที่คุณพ่อลา มีความเชี่ยวชาญในทางไสยศาสตร์เป็นยิ่งนัก หลวงพ่อวงษ์จึงได้รับการถ่ายทอดวิทยาคม มาตั้งเเต่เด็กๆจนกระทั่งบวช ประกอบกับอุปนิสัยของหลวงพ่อท่านเป็นคนขยันขันเเข็ง มีความเพียรวิริยะ และสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นผลทำให้การเรียนวิทยาคม เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่โปรดปรานของคุณพ่อลา เเละครูบาอาจารย์ยิ่งนัก      
         ครั้งเมื่อท่านอายุครบบวช หลวงพ่อวงษ์ ท่านได้อุปสมบท ณ วัดทุ่งผักกูด โดยมีพระครูอุตตรการบดี(ทา) วัดพะเนียงเเตก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเทศน์ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อจรวัดลำเหย เป็นพระอนุสาวาจารย์ได้ฉายาว่า "พรหมสโร" 



พระอุโบสถหลังเก่า ที่หลวงพ่อเทศน์ และ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ร่วมกันสร้าง 
หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูด อุปสมบทเป็นพระภิกษุรูปแรก


พระอุโบสถหลังใหม่ ( ปัจจุบัน )

         ภายหลังจากที่ท่านบวชเเล้ว ท่านได้ศึกษาพระเวทย์ เเละวิทยาคมต่างๆ จากหลวงพ่อเทศน์จนหมดสิ้น เเละยังได้มาศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน เเละคาถาอาคม กับหลวงพ่อทาที่วัดพะเนียงเเตกอาศัยที่หลวงพ่อวงษ์ ท่านมีพื้นฐานทางกรรมฐานเป็นอย่างดี เพราะได้ศึกษาจาก โยมพ่อลา เเละ หลวงพ่อเทศน์ มีผลให้การศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อทา สำเร็จเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เเละสามารถปฏิบัติได้ทั้งหมด เป็นที่ยินดีของอาจารย์ยิ่งนัก หลวงพ่อทาถึงกับเอ่ยชมว่า "ท่านวงษ์ ท่านมีบุญจริง เรียนอะไรก็ได้รวดเร็ว ทำของได้ขลังจริงๆ เสียดายที่ท่านอายุไม่ยืน" เเละก็เป็นจริงตามที่หลวงพ่อทากล่าวไว้ หลวงพ่อวงษ์ มรณภาพปี พ.ศ. 2498 อายุ 67 ปี
          ระหว่างอยู่วัดพะเนียงแตกคอยรับใช้พระอุปัชฌาย์ และศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยเหตุที่หลวงพ่อวงษ์ ท่านมีพื้นฐานความรู้ดี ประกอบด้วยท่านเป็นคนเฉลียวฉลาด จึงทำให้ท่านแตกฉานในวิทยาคมที่เรียนกับหลวงพ่อทา ดั้งนั้นหลวงพ่อทามักจะใช้หลวงพ่อวงษ์ ช่วยทำกิจธุระเสมอๆ เท่ากับหลวงพ่อทาท่านมีความไว้วางใจในด้านวิทยาคมของหลวงพ่อวงษ์เป็นอันมาก
           ภายหลังหลวงพ่อทามรณภาพ หลวงพ่อวงษ์จึงย้ายมาอยู่ที่วัดทุ่งผักกูด ท่านสร้างความเจริญให้เเก่วัดทุ่งผักกูดเป็นอันมาก ตลอดจนวัดใกล้เคียงต่างๆ ก็มาขอบารมีหลวงพ่อวงษ์ เพื่อสร้างวัด สร้างโบสถ์ เช่น วัดทุ่งพิชัย วัดเล่าเต่า หลวงพ่อวงษ์ก็รับนิมนต์เป็นประธานในการก่อสร้างวัด รวมทั้งก่อสร้างโบสถ์ สร้างศาลาการเปรียญ วัดทุ่งสีหลง ตำบล ลำเหย อำเภอ กำเเพงเเสน จังหวัด นครปฐม



พระอธิการวงษ์ พรหมสโร

          กิจวัตรประจำวันของของท่านในยามค่ำคืน ท่านจะต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่หัวค่ำไปจนกระทั่งเที่ยงคืนตรง จะออกจากสมาธิแล้วเขียนสูตรสนธิ เลขยันต์ ทำผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห มหาราช รัตนมารา และยันต์เกราะเพชร เป็นประจำมิได้ขาด และเป็นสิ่งที่ท่านได้รับการถ่ายทอดจากโยมบิดา และพระอุปัชฌาย์จะเรียกว่าท่านเชี่ยวชาญผงพุทธคุณ เจนจบก็ว่าได้
          หลวงพ่อวงษ์ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ตั้งเเต่อายุยังน้อยๆ (ในสมัยที่หลวงพ่อวงษ์มีชีวิตอยู่ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังกว่าหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เเละหลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา)  ดังคำทำนาย หลวงพ่อทา วัดพะเนียงเเตก ดังนั้นในพิธีพุทธาภิเษก พระคันธาราฐ ปี พ.ศ. 2476 เเละพระร่วงใบมะยม ปี พ.ศ.2484 , 2485 และ 2487 ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่หนุ่มมากที่เข้าร่วมปลุกเสกในพิธีนั้น
          ท่านเป็นพระที่มีขันติ พูดน้อย ถ่อมตน  เเละเปี่ยมไปด้วยเมตตาจิตเป็นที่ตั้งเสมอเเก่ผู้พบเห็น ชาวบ้านละเเวกนั้นเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย มักจะไปขอยาจากท่าน หรือไม่ก็ขอน้ำมนต์จากท่านเป็นประจำ โดยที่ท่านมิได้เรียกร้องสิ่งตอบแทนใดๆเลย หลวงพ่อมักจะยิ้มอยู่เสมอกับบุคคลทั่วไปที่ไปนมัสการท่าน จึงเป็นที่อบอุ่นใจแก่ผู้พบเห็น จากคำบอกเล่าของคุณครูวีระ เทพาธิป อายุประมาณ 70 กว่าปี (ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังขณะนั้นปี พ.ศ.2528) ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่าท่านได้ไปเยี่ยมหลวงพ่อวงษ์ที่วัดทุ่งผักกูด ขณะนั้นครูวีระประกอบอาชีพส่วนตัว มิได้รับราชการเป็นครูแล้ว และด้วยการค้าส่วนตัวไม่ดีนี่เองทำให้คุณครูวีระคิดมาก ถึงขนาดเส้นโลหิตฝอยในสมองแตก หมดสติ หลวงพ่อวงษ์ได้เสกยาและทำน้ำมนต์ให้กินให้ดื่ม ประกอบกับนั่งบริกรรมเสกเป่าครึ่งวันจึงได้สติฟื้นขึ้นมา (ครูวีระ อุปสมบทโดยมีหลวงพ่อวงษ์เป็นพระอุปัชฌาย์)
          คุณวิเศษอีกประการหนึ่งของหลวงพ่อวงษ์คือหนังเหนียว ฟันไม่เข้ากล่าวคือ มีคราวหนึ่งหลวงพ่อวงษ์ท่านไม่พอใจพระลูกวัดที่เอาแต่จำวัดในเวลากลางวันไม่ยอมช่วยทำความสะอาดวัดหรือซ่อมแซมหอสวดมนต์ ท่านก็มิได้ดุว่าแต่ประการใดเพราะนิสัยท่านเป็นพระพูดน้อย ท่านกลับเอาอีโต้ที่คมมาสับหน้าแข้งของท่านเอง ให้พระลูกวัดเหล่านั้นดู ยังผลให้พระลูกวัดเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าจำวัดในเวลากลางวันอีกต่อไป 
          หลวงพ่อวงษ์ท่านเป็นพระที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด ท่านทราบดีว่าตราบใดที่พุทธศาสนิกชนยังมีความศรัทธาในพระพุทธคุณ พระเครื่องหรือเครื่องรางของขลัง จะมีส่วนช่วยในการสร้างวัดหรือสร้างโบสถ์ หรือซ่อมแซมถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา ดังนั้นท่านจึงสร้างพระเครื่องหลายแบบหลายพิมพ์เพื่อเป็นการสมนาคุณแด่ท่านผู้มาทำบุญ พระเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อวงษ์รุ่นแรก สร้างปีพ.ศ.2485 ลักษณะเหรียญเป็นรูปวงกลมมีรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ และมีธงไขว้อยู่ใต้รูปหลวงพ่อ นักสะสมพระบางท่านเรียกว่าเหรียญธงไขว้ เนื้อเหรียญสร้างจากดีบุก ผสมตะกั่ว จึงเป็นพระเนื้อชินเมื่อใช้ไปนานๆหรือเก็บรักษาไม่ดี เนื้อพระจะระเบิดหรือไม่ก็มีสีดำ ค่านิยมอยู่หลักหมื่นบาท


เหรียญธงไขว้รุ่นแรก

          เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นเหรียญที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่หลวงพ่อได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูพรหมวิสุทธิ์" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2493 เหรียญรุ่นนี้มีสร้างสองเนื้อคือเนื้อเงินและเนื้อทองแดง รูปเหรียญคล้ายรูปน้ำเต้า ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ ใต้รูปหลวงพ่อมีข้อความว่า "หลวงพ่อวงษ์" ส่วนด้านหลังเหรียญมีข้อความว่า "พระครูพรหมวิสุทธฺ์ วัดทุ่งผักกูด เจ้าคณะอำเภอกำแพงแสน 2493" ถ้าเป็นเหรียญเงินจะเขียนผิดเป็นข้อความว่า "เจ้าคณะอำเภอกาแพงแสน" ดังนั้นเหรียญทองแดงที่มีข้อความด้านหลังว่า"เจ้าคณะอำเภอกาแพงแสน"จึงเป็นเหรียญปลอม
               เนื้อเงินประมาณ 100 เหรียญ
               เนื้อทองแดงประมาณ 2000 เหรียญ


รูปที่ ๑


รูปที่ ๒
เหรีัยญเลื่อนสมณศักดิ์ เนื้อเงิน พ.ศ.2493 ๒๐๐,๐๐๐บาท



รูปที่ ๓


รูปที่ ๔


รูปที่ ๕


รูปที่ ๖


รูปที่ ๗




รูปที่ ๘

เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ เนื้อทองแดง พ.ศ.2493  


          เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์นี่เป็นที่นิยมมากของนักสะสมพระ เพราะง่ายต่อการดูแลรักษาซึ่งผิดกับเหรียญธงไขว้ ผิวเหรียญมักจะระเบิด หรือคล้ำดำ ถ้าไม่หมั่นดูแลรักษาทำความสะอาดให้เพียงพอ เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์รุ่นนี้ทางวัดได้จำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว เพราะมีประสบการณ์มาก(มีเหรียญรุ่นนี้ติดตัวไม่ตายโหง) รายได้จากการจำหน่ายเหรียญรุ่นนี้ หลวงพ่อได้นำไปใช้ในการสร้างพระอุโบสถวัดทุ่งพิชัย (เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์รุ่นนี้มีประสบการณ์ไม่แพ้เหรียญธงไขว้ แต่มีจุดเด่นอีกประการหนึ่งคือเหมาะสำหรับบุคคลที่รับราชการ หรือพนักงานที่กำลังจะเลื่อนตำแหน่ง) เหรียญรุ่นนี้นับได้ว่าเป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพสูงมากเหรียญหนึ่ง ในอดีตชาวทุ่งพิชัยพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า"ถ้าไม่มีเหรียญรุ่นแรกหรือรุ่นสองหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกบูชาติดตัว จะบูชาเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ปี ๒๔๙๓หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูดแทนก็ได้ เพราะศิษย์กับอาจารย์คู่นี้เก่งไม่แพ้กัน" ค่านิยมองค์สวยๆผิวไฟแดงๆหรือกะไหล่ทองเต็มๆอยู่ที่ประมานหมื่นกว่าบาทถึงห้าหมื่นบาท ส่วนเนื้อเงินสวยๆเป็นแสนถึงสองแสนบาท(อนาคตเหรียญทองแดงสวยแชมป์มีสิทธิถึงหลักแสน ส่วนเหรียญเงินมีสิทธิหลักล้าน)
          ส่วนเหรียญพระพุทธชินราชใบเสมามีขนาดเล็กด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพระพุทธชินราชมีข้อความใต้ฐานเหรียญว่า "พระพุทธชินราช" ส่วนด้านหลังเหรียญมีข้อความว่า "พระครูพรหมวิสุทธิ์" หลวงพ่อได้สร้างพร้อมกับเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์เพื่อแจกจ่ายให้แก่เด็กและสตรีมีทั้งเหรียญเงินและเหรียญทองแดง เหตุหลวงพ่อสร้างเป็นรูปพระพุทธชินราชแทนที่จะเป็นรูปท่าน เพราะท่านทราบดีว่าพระที่ท่านปลุกเสกมักจะออกไปในด้านหมาอุดและคงกระพันชาตรี ท่านจึงขอบารมีหลวงพ่อพระพุทธชินราชให้พระที่ท่านปลุกเสกหนักไปในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ ดังนั้นจุดเด่นของเหรียญรุ่นนี้คือ ดีทางค้าขาย เมตตามหานิยมกว่ารุ่นอื่นๆที่เคยปลุกเสกมา ค่านิยมเหรียญทองแดงองค์สวยๆผิวไฟแดงอยู่ที่ประมาณแปดพันกว่าบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ส่วนเหรียญเงินยังไม่เห็นมีการซื้อขาย




เหรียญพระชินราชใบเสมา พ.ศ.2493 ราคา 5,๐๐๐ บาท




พระผงใบลาน หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูด


พิมพ์หน้าเทวดา



พิมพ์ฉันจันหัง



พิมพ์พระโมคลาสารีบุตร












                 ในสมัยที่หลวงพ่อวงษ์มีชีวิตท่านตั้งใจจะสร้างพระผงใบลานให้ได้ครบจำนวน ๘๔,๐๐๐๐องค์ให้เท่ากับพระธรรมขันธ์แต่สร้างได้ไม่ครบ หลวงพ่อวงษ์ท่านได้มรณภาพก่อน หลังจากที่หลวงพ่อวงษ์มรณภาพแล้วก็ยังมีการสร้างพระผงใบลานสืบต่อกันมาโดยตลอดจนถึงสมัยหลวงพ่อก่อย(พระครูไพโรจน์)ก็ยังมีการกดพิมพ์สร้างพระผงใบลานมาตลอดเพราะแม่พิมพ์ยังอยู่ที่วัด ดังนั้นการพิจารณาพระผงใบลานของหลวงพ่อวงษ์จึงต้องคำนึงถึงความเก่าความแกร่งความแห้งของเนื้อพระเป็นสำคัญซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก พระผงใบลานเข้าใจว่าสร้างหลังเหรียญธงไข้ว มีหลายพิมพ์ทั้งหลังเรียบและหลังยันต์นูน พระหลังเรียบสร้างก่อน ต่อมาได้ใส่ยันต์หลังให้สมบูรณ์แบบ ส่วนพระปิดตายันต์เลขหนึ่งหรือเลขแปดเข้าใจว่าน่าจะสร้างในปี๒๔๙๔พร้อมกับเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ เพราะความแกร่งความแห้งของเนื้อพระไม่เท่ากับพิมพ์อื่น

     
                   ลำดับเจ้าอาวาส วัดทุ่งผักกูด
          ๑. หลวงพ่อเทศน์
          ๒. พระครูพรหมวิสุทธิ์ (วงษ์ พรหมสโร )
          ๓. พระครูไพโรจน์ ศิลคุณ ( ก่อย )
          ๔.พระอธิการเสรี ญาณสีโล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน  













สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114
                                                             
นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร


                 ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม ขอแสดงความยินดีที่ท่านสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค๕ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘



                                                                                     ประวัติพระเครื่องเมืองนครปฐม                     
                       
                         
                         
                  
พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความรู้และความสำเร็จทั้งมวล เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปะวิทยาการทุกแขนง



พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ปี 2556

ด่วน ! ช้าหมดของมีจำนวนจำกัด


          สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบูชาพระพิฆเนศเนื้อสัมฤทธิ์
รุ่น 
สัมฤทธิคุณ รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ขนาด
          ขนาดสูง 19 นิ้ว จำนวนสร้าง 70 องค์ ราคา 17,999 บาท ขณะนี้หมดแล้ว
          ขนาดสูง 12 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ ราคา 7,999 บาท ขณะนี้ไม่แน่ใจหมดหรือยัง

          พระพิฆเนศรุ่น สัมฤทธิคุณ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและพิธีเทวาภิเษก ณ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพราหมณ์
          สนใจติดต่อที่สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) 
          โทร 0-2623-6404, 0-2225-4142

                     
        


15 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับข้อมูลมีประโยชน์มากๆ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับ ที่จัดทำมาเผยแพร่ครับ

    ตอบลบ
  3. ด้วยความเคารพ
    ตามข้อความนี้
    "ถ้าเป็นเหรียญเงินจะเขียนผิดเป็นข้อความว่า "เจ้าคณะอำเภอกาแพงแสน" ดังนั้นเหรียญทองแดงที่มีข้อความด้านหลังว่า"เจ้าคณะอำเภอกาแพงแสน"จึงเป็นเหรียญปลอม"นั้น
    ขอเรียนว่าเหรียญทองแดงที่มีข้อความด้านหลังว่า"เจ้าคณะอำเภอกาแพงแสน" มิใช่ว่าจะปลอมทั้งหมดครับ เพียงแต่ของแท้มีน้อยและหายากมากครับ
    หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร 083-6935557

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมสะสมเหรียญหลวงพ่อวงษ์มาประมาณ๔๐กว่าปีซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีของปลอม ไม่พบเหรียญทองแดงที่มีข้อความด้านหลังว่าเจ้าคณะอำเภอกาแพงแสนเลย

      ลบ
    2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
    3. เมื่อก่อนผมก็คิดเช่นเดียวกับท่านครับว่าเหรียญ "กาแพงแสน" มีเฉพาะเนื้อเงิน แต่เมื่อผมพบว่ามีเหรียญเนื้อทองแดงด้วยทำให้ผมกล้ายืนยันว่าบล๊อคนี้ไม่ได้มีเฉพาะเนื้อเงินเพียงอย่างเดียวครับ

      ลบ
    4. เหรียญทองแดงพิมพ์กาแพงแสนเหรียญที่ผมพบมาประมาณห้าหกปีนี้เป็นเหรียญปลอมหมด(ถ้าเป็นเหรียญแท้ก็แท้หมดเพราะเป็นฝีมือคนเดียวกัน) ผมไม่แน่ใจว่าคุณดูเหรียญเก๊เป็นเหรียญแท้หรือเปล่า ถ้าเป็นเหรียญที่พบเมื่อยี่สิบปีก่อนผมจะเชื่อว่าเป็นเหรียญแท้ เพราะในเวลานั้นยังไม่มีของปลอม ถ้าเป็นไปได้ขอดูเหรียญแท้กำแพงแสนหน่อย

      ลบ
  4. http://www2.g-pra.com/webboard/show.php?Category=not_amulets&No=372889
    สองเหรียญนี้เป็นของผมบอกวิธีการดูคร่าวๆง่ายๆครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมดูแล้วไม่ขอวิจารณ์ว่าแท้หรือเก๋ถ้าคุณต้องการคำตอบให้โทรหาผมโดยตรงผม ผมกลัวว่าคำตอบของผมจะไม่ถูกใจคุณ และผมไม่มีความสามารถที่ดูรูปพระแล้วตอบว่าเก๋หรือแท้นอกจากดูตัวจริงบางครั้งต้องเอาของแท้เปรียญเทียบเว้นแต่จะเห็นเหรียญเก็พิมพ์นี้มาก่อน การจะดูตำหนิจากรูปพระพระอย่างเดียวไม่เพียงพอเพราะเดี๋ยวนี้ของเก๋ทำได้ใกล้เคียงมาก วิธีดูพระที่ดีที่สุดคุณต้องเห็นของแท้จากตัวจริงหลายเหรียญและคุณต้องจดจำเอา แต่จะจดจำได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับพรสวรรค์ของคุณ มีคนถามผมมากมายว่าดูพระแท้อย่างไรผมก็ตอบด้วยผลข้างต้นนี้ถ้าคุณสงสัยข้อมูลใดให้โทรหาผมโดยตรงเพราะผมเขียนตอบทางคอมไม่เก๋ง ขอให้คุณโชคดี

      ลบ
    2. ขอบพระคุณสำหรับความเห็นครับ
      ผมคิดว่าเหรียญรุ่นสองนี้ต่อให้ฝีมือดีแค่ไหนก็ไม่สามารถทำตัวตัดขอบเหรียญได้ครับ
      (จุดพิจารณาจริงๆของผมอยู่ที่ขอบเหรียญเป็นสำคัญครับ)

      ลบ
    3. ถ้าคุณมั่นใจว่าตัวตัดขอบเหรียญเป็นจุดพิจารณาว่าเหรียญปั๊มนั้นเก๊หรือแท้ก็ขอให้คูณโชคดีนะครับ (เพราะผมพิมพ์คอมฯไม่เก่ง ขอยุติแค่นี้นะครับ)

      ลบ
    4. ขอบพระคุณสำหรับคำอวยพรครับ

      ลบ
    5. ขอให้คุณ อน ค โชคดีนะครับ เพราะตัวตัดขอบเหรียญเดี๋ยวนี้ เหรียญเก๊ทำได้แล้วครับ (ทำได้มานานแล้วครับ)

      ลบ